อนุสัญญาไซเตส โชคชัย บุตรครุธ
6. อนุสัญญาไซเตส อนุสัญญาไซเตส (CITES) หรืออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เป็นผลจากการประชุมนานาชาติที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี สหรัฐอเมริกา
6. อนุสัญญาไซเตส 6.1 วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาไซเตส คือ ควบคุมการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เพื่อป้องกันมิให้มีการนำสัตว์ป่าหรือพืชป่ามาใช้ประโยชน์ในทางการค้าจนเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ไปจากโลกได้
6. อนุสัญญาไซเตส 6.2 มาตรการดำเนินการ เช่น ออกใบอนุญาตในการนำเข้าและส่งออก หรือจัดทำบัญชีรายชื่อชนิดของสัตว์ป่าหรือพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เพื่อห้ามส่งออกหรือนำเข้าระหว่างประเทศ เป็นต้น 6.3 ประเทศที่ให้สัตยาบันในอนุสัญญาฯ มี 150 ประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย)
7. อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารมอนทรีออล อนุสัญญาเวียนนา(Vienna Convention) และพิธีสารมอนทรีออล(Montreal Protocol) เกิดจากการประชุมนานาชาติที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2528 และการประชุมที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ในปี พ.ศ. 2530 โดยสหประชาชาติเป็นผู้ดำเนินการ
7. อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารมอนทรีออล 7.1 วัตถุประสงค์ เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาชั้นโอโซนของโลกถูกทำลาย ซึ่งเกิดจากการใช้สารทำลายชั้นโอโซนในวงการอุตสาหกรรม เช่นสาร CFC สารฮาลอน(Halon) และสารเมทิลโบรไมด์ เป็นต้น 7.2 ประทศที่ให้สัตยาบันในอนุสัญญาฯ มี 176 ประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย)
8. อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เกิดจากสหประชาชาติได้จัดให้มีการประชุมเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ณ กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล
8. อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 8.1 วัตถุประสงค์ เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการกระทำของมนุษย์ มิให้มากจนถึงระดับที่เกิดอันตรายต่อชั้นบรรยากาศของโลก 8.2 ประเทศที่ให้สัตยาบันในอนุสัญญาฯ มี 184 ประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย)
9. อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (BDC) เป็นผลการประชุมว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ซึ่งสหประชาชาติเป็นผู้จัดดำเนินการ ณ กรุงริโอ เดอจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อ พ.ศ. 2535
9. อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ 9.1 วัตถุประสงค์ เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากพันธุกรรม
9. อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ 9.2 ประเทศที่ให้สัตยาบันในอนุสัญญาฯนี้ มี 178 ประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย) 9.3 การดำเนินงานขอประเทศไทยตามอนุสัญญาฯ ได้แก่ จัดทำนโยบายอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน จัดตั้งและอนุรักษ์เขตอุทยานแห่งชาติ และโครงการพัฒนาป่าชุมชน เป็นต้น
10. อนุสัญญาบาเซิล หรืออนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน 10.1 ความเป็นมา อนุสัญญาบาเซิล (Basel Convention) เกิดจากความคิดริเริ่มของสหประชาชาติที่จะแก้ไขปัญหาการถ่ายเทกากของเสียอันตรายจากประเทสอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้วไปสู่ประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศสมาชิกร่วมลงนามรับหลักการในการประชุมที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2532
10. อนุสัญญาบาเซิล หรืออนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน 10.2 วัตถุประสงค์ เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อควบคุมการขนส่งสารเคมีอันตรายข้ามพรมแดน และควบคุมการกำจัดกากของเสียอันตรายโดยผลักดันจากประเทศอื่น ๆ อย่างผิดกฎหมาย เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ หากมีการขนส่งโดยผิดกฎหมาย โดยแจ้งความเท็จ หรือปกปิด ซ่อนเร้น หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามสัญญา จะต้องนำกลับหรือถูกส่งกลับไปยังประเทศผู้ส่งออก หรือถ้าหากมีอุบัติภัยเกิดจากการรั่วไหลจากกากของเสีย อันตรายดังกล่าวจนเกิดผลเสียหายต่อสภาพแวดล้อม ผู้กระทำผิด (ภาคเอกชน) จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ประเทศนั้น ๆ