การสั่งให้ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งในระดับควบตำแหน่งเลขที่หนึ่งไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งเลขที่อื่นในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมในกรมเดียวกัน ตำแหน่งในระดับควบ หมายถึง ตำแหน่งที่ ก.พ. อนุมัติเป็นหลักการ ให้กำหนดเป็นระดับสูงขึ้นได้อีก 2 ระดับ โดยแบ่งออกเป็น 4 สายงาน ดังนี้
1. สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 ซึ่ง ก.พ. กำหนดเป็นระดับ 1-3 ได้ทุกตำแหน่ง เช่น - เจ้าหน้าที่ธุรการ 1-3 - เจ้าหน้าที่พัสดุ 1-3 - เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 1-3 - ช่างชลประทาน 1-3 - ช่างสำรวจ 1-3 - ฯลฯ 2. สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2 ซึ่ง ก.พ. กำหนดเป็นระดับ 2-4 ได้ทุกตำแหน่ง เช่น - เจ้าพนักงานธุรการ 2-4 - เจ้าพนักงานพัสดุ 2-4 - เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 2-4 - นายช่างชลประทาน 2-4 - นายช่างสำรวจ 2-4 - ฯลฯ
3. สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ซึ่ง ก. พ 3. สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ซึ่ง ก.พ. กำหนดเป็นระดับ 3-5 ได้ทุกตำแหน่ง เช่น - บุคลากร 3-5 - นักวิชาการพัสดุ 3-5 - เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย และแผน 3-5 - วิศวกร 3-5 - วิศวกรชลประทาน 3-5 - ฯลฯ 4. สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 4 ซึ่ง ก.พ. กำหนดเป็นระดับ 4-6 ได้ทุกตำแหน่ง เช่น - แพทย์ 4-6 - ฯลฯ
กรณีที่เป็นการย้ายต่างสำนัก/กอง(อยู่ในอำนาจกรมฯ) 1. ตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการที่จะย้ายให้มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามที่ ก.พ. กำหนด 2. ส่งเรื่องให้กลุ่มพัฒนาระบบงานและอัตรากำลัง สำนักพัฒนาโครงสร้างฯ เพื่อตรวจสอบและสงวนตำแหน่ง 3. ส่งเรื่องให้ฝ่ายควบคุมเงินเดือนและค่าจ้าง กองการเงินและบัญชี เพื่อตรวจสอบอัตราเงินเดือนของตำแหน่งว่าง
กรณีที่เป็นการย้ายต่างสำนัก/กอง(อยู่ในอำนาจกรมฯ) 4. ส่งเรื่องคืน ฝ่ายสรรหาฯ เพื่อตรวจสอบประวัติของข้าราชการที่จะย้าย ดังนี้ 1) ชื่อ – สกุล 2.) เลขประจำตัวประชาชน 3) ชื่อตำแหน่ง 4) ตำแหน่งเลขที่ 5) สังกัด 6) อัตราเงินเดือน
กรณีที่เป็นการย้ายต่างสำนัก/กอง(อยู่ในอำนาจกรมฯ) 5. จัดทำบันทึกขอความเห็นชอบรองอธิบดีในสายงานที่รับผิดชอบหน่วยงานนั้น ๆ 6. ขอความเห็นชอบอธิบดี 7. จัดทำคำสั่งเสนออธิบดี ลงนามทุกวันที่ 15 ของเดือน 8. เวียนสำเนาคำสั่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ (ฝ่ายบริหารทั่วไป เป็นผู้ดำเนินการ)
หลักเกณฑ์การย้าย 1. มีตำแหน่งว่าง ยกเว้น กรณีย้ายสับเปลี่ยน 1. มีตำแหน่งว่าง ยกเว้น กรณีย้ายสับเปลี่ยน 2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3. รับเงินเดือนไม่สูงกว่าเดิม
หลักเกณฑ์การย้าย 4. กรณีที่ย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หากไม่เคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 มาก่อน ต้องผ่านการสอบแข่งขันได้ หรือได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนั้น
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ได้แก่ - มาตรา 52 ว่าด้วยการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 7 ลงมา ให้อธิบดีผู้บัญชา หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดี ตามหลังเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง - มาตรา 57 ว่าด้วยการย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งใดไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งอื่นในกรมเดียวกัน ต้องย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกัน ตามหลังเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด - มาตรา 137 ว่าด้วยการให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ ระเบียบ มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาบังคับใช้โดยอนุโลม
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2544 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2548 3. หนังสือสำนักงาน ก.พ. - สร 1003/ว 11 ลงวันที่ 13 กันยายน 2519 - สร 0705/ ว 6 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2521 - สร 0705/ว 13 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2521 - สร 0705/ว 15 ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2521 - สร 0711/ ว 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2521 - นร 1009.3/22 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2545 - นร 1008.1/ว 11 ลงวันที่ 27 กันยายน 2548 การปรับเงินเดือน 5% 4. คำสั่งกรมชลประทาน ที่ 777/2548 ลงวันที่ - ที่ ข 777/2548 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548 การมอบอำนาจให้