สรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดี ทางสายกลาง พอประมาณ เงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต สติปัญญา ขยันอดทน แบ่งปัน) เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร เศรษฐกิจพอเพียงมีกรอบแนวคิดคือ เป็นปรัชญาชี้แนะแนวทางปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น มีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตของสังคมไทย และเป็นการมองโลกเชิงพลวัตร มุ่งเน้นการรอดพ้นจากวิกฤต ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน บนพื้นฐานของความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง รวมทั้งจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนให้มีสำนึกใน คุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญา เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า กล่าวคือ - ความพอเพียงในระดับบุคคล/ครอบครัว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๑ - ความพอเพียงในระดับชุมชน/ระดับองค์กร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าซึ่งครอบคลุม ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๒ - ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจ พอเพียงแบบก้าวหน้า ครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๓ นำไปสู่ สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน/พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม
แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ๒๕๔๖ ระยะเวลาขับเคลื่อน ๔ ปี ๒๕๕๐ ขอบเขตการดำเนินงาน หลัง ๒๕๕๐ ผลระยะยาว สร้างองค์ความรู้ ฐานข้อมูล สร้างเพื่อน สานข่าย ขยายผล คนไทย ใช้ชีวิต บนพื้นฐาน เศรษฐกิจ พอเพียง กลไก การขับเคลื่อน คณะที่ปรึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะอนุ กรรมการ ขับเคลื่อนฯ คณะทำงานเครือข่ายต่างๆ ผู้นำทางความคิด วิชาการ ประชาสังคม พัฒนาเครือข่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สังคมไทย มีเครือข่าย ความร่วมมือ เศรษฐกิจ พอเพียง สถาบัน การศึกษา เยาวชน องค์กร ภาคธุรกิจ เอกชน สถาบัน การเมือง สื่อมวลชน ประชาชน แนวคิดและขอบเขตการดำเนินงานขับเคลื่อน ในช่วงปีที่ผ่านมา หลังจากที่ได้อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 แล้ว เพื่อให้หลักปรัชญาฯดังกล่าวมีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม สศช. จึงได้ริเริ่มสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนฯ จะเป็นไปในลักษณะเครือข่าย โดยมีแกนกลางในการขับเคลื่อน ๓ ระดับ ได้แก่ คณะ ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และคณะทำงานเครือข่ายในด้านต่างๆ เป็นหน่วยปฏิบัติการในการดำเนินงาน และเป็นฝ่ายเลขานุการจัดการสัมมนาในวันนี้ เป้าหมายหลักของการสร้างขบวนการฯ คือ เพื่อมุ่งสร้างกระแสสังคมให้นำหลักปรัชญาฯไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม และเกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตและวิถีปฏิบัติ ให้อยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจ พอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนาให้บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเครือข่าย เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาชน และเยาวชน เป้าหมายการขับเคลื่อนฯ แบ่งเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะสั้น (ในช่วง ๔ ปี) จะมุ่งสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง สร้างเพื่อน/ พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยค้นหาตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ระยะยาว คนไทยในระดับต่างๆ ดำเนินชีวิตบนพื้นฐานหลักเศรษฐกิจพอเพียง สังคมไทยมีเครือข่ายการเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และ เกิดระบบ/โครงสร้างของการพัฒนาประเทศ อยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนฯ จะดำเนินการในระยะเวลา ๔ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๔๖-๒๕๕๐ โดยจะทูลเกล้าฯ ถวายผลการดำเนินงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสครบรอบพระชนมพรรษา ๘๐ ปี ในเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ องค์กรภาครัฐ การพัฒนา อยู่บน พื้นฐาน เศรษฐกิจ พอเพียง พัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ค้นหาตัวอย่างรูปธรรม ที่หลากหลาย
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการความรู้ พอดี พึ่งตนเอง : ข้าราชการต้องสามารถพึ่งตนเองในการทำงาน การใช้ชีวิต โดยเน้นให้การรับราชการมีความเป็นมืออาชีพ สร้างภูมิความรู้ให้ข้าราชการสามารถพึ่งตนเองได้ โปร่งใส เป็นธรรม พอเพียง : การทำงานจะต้องครอบคลุมเพียงพอ ทั้งในเรื่องของเขตของงาน และความครบถ้วนสมบูรณ์ พอใจ ระบบราชการมีขีดสมรรถนะสูงและมีข้าราชการที่เก่งจริยธรรมดี พึ่งตนเอง พอดี : ข้าราชการต้องทำงาน ใช้ชีวิตและวางตัวอย่างพอดี พอควร โดยยึดหลักความเหมาะสมและความจำเป็นเป็นที่ตั้ง ประสิทธิภาพ ประหยัด เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร เศรษฐกิจพอเพียงมีกรอบแนวคิดคือ เป็นปรัชญาชี้แนะแนวทางปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น มีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตของสังคมไทย และเป็นการมองโลกเชิงพลวัตร มุ่งเน้นการรอดพ้นจากวิกฤต ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน บนพื้นฐานของความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง รวมทั้งจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนให้มีสำนึกใน คุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญา เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า กล่าวคือ - ความพอเพียงในระดับบุคคล/ครอบครัว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๑ - ความพอเพียงในระดับชุมชน/ระดับองค์กร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าซึ่งครอบคลุม ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๒ - ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจ พอเพียงแบบก้าวหน้า ครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๓ พอใจ : ข้าราชการต้องพอใจในสถานภาพ ของตน รวมทั้งผลงานของตน และ ต้องทำให้ประชาชนพอใจในผลงานและประสิทธิภาพ ของรัฐ พอเพียง