ตามขั้นตอนการให้บริการสาธารณสุข สิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น แนวทางดำเนินการ ตามขั้นตอนการให้บริการสาธารณสุข สิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น กลุ่มประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 30 กันยายน 2556
2. การตรวจสอบสิทธิและอนุมัติสิทธิ 3. การส่งต่อ 4. การเบิกจ่ายชดเชย แนวทางการดำเนินงาน ประกอบด้วย ประเด็น ดังนี้1. สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล 2. การตรวจสอบสิทธิและอนุมัติสิทธิ 3. การส่งต่อ 4. การเบิกจ่ายชดเชย 5. การติดต่อ ประสาน สอบถาม 6. การรายงานผลการให้บริการ © Social Centered Selling LLC | connect. collaborate. close! *
สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล สิทธิประโยชน์จะเสมอภาคและทัดเทียม ๒.๑.๑ สิทธิประโยชน์จะเสมอภาคและทัดเทียมระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการพลเรือน ไม่ต้องสำรองจ่าย สามารถรักษาที่โรงพยาบาลรัฐได้ทุกแห่ง ๒.๑.๒ ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล สิทธิประโยชน์จะเสมอภาคและทัดเทียม ระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ พลเรือน ไม่ต้องสำรองจ่าย ใช้สิทธิเบิกจ่ายตรง สามารถรักษาที่โรงพยาบาลรัฐได้ทุกแห่ง ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของ พนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม © Social Centered Selling LLC | connect. collaborate. close! *
การตรวจสอบและอนุมัติสิทธิ ในเบื้องต้น พนักงานส่วนท้องถิ่นและครอบครัวจะต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนในระบบทะเบียนบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ผู้มีสิทธิในกองทุนบุคลากร อปท. สามารถเริ่มใช้บริการในหน่วยบริการภาครัฐ ตรวจสอบสิทธิได้จาก url : www.nhso.go.th ที่ โปรแกรมระบบทะเบียนบุคลากรองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น กรณีผู้มีสิทธิขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตรวจสอบสิทธิแล้วเป็นสิทธิ UC นายทะเบียนไม่ต้องปรับปรุงสิทธิ ให้ผู้มีสิทธิไปติดต่อหน่วยงานที่ตนทำงานอยู่เพื่อปรับปรุงสิทธิ © Social Centered Selling LLC | connect. collaborate. close! *
นิยามที่สำคัญ © Social Centered Selling LLC | connect. collaborate. close! *
ผู้มีสิทธิ หมายถึง ข้าราชการ, ข้าราชการการเมือง, พนักงานเทศบาล, พนักงานส่วนท้องถิ่น และ ลูกจ้างประจำ ที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ยกเว้นกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ผู้มีสิทธิร่วม หมายถึง บิดา มารดา คู่สมรส และบุตร ที่ถูกต้องตาม กฎหมายของผู้มีสิทธิ บุตร หมายถึง บุตรของผู้มีสิทธิลำดับที่ 1-3 ยกเว้นหากบุตรในลำดับ ที่ 3 เป็นแฝด ให้มีสิทธิได้ครบทุกคนในการคลอดครั้งนั้น ผู้หมดสิทธิ หมายถึง ข้าราชการ, ข้าราชการการเมือง, พนักงาน เทศบาล, พนักงานส่วนท้องถิ่น และ ลูกจ้างประจำ ที่ออกจากราชการ ถูกพักราชการ หรือย้ายหน่วยงาน ทุกกรณี ซึ่งรวมถึงการเสียชีวิต การ หย่าร้าง หรือการบรรลุนิติภาวะ ผู้มีสิทธิร่วมของบุคคลดังกล่าวด้วย © Social Centered Selling LLC | connect. collaborate. close! *
ให้ใช้สิทธิหลักของแต่ละบุคคลก่อน การอนุมัติสิทธิ หลักการ ให้ใช้สิทธิหลักของแต่ละบุคคลก่อน มีสิทธิหลัก > 1 สิทธิ ให้เลือกตามหลัก พรบ.แต่ละสิทธิ ไม่มีสิทธิหลักและมีสิทธิร่วม > 1 สิทธิ ให้เลือกตามหลัก พรบ.แต่ละสิทธิ ตย. การอนุมัติสิทธิซ้ำซ้อน © Social Centered Selling LLC | connect. collaborate. close! *
การใช้สิทธิเบิกจ่ายตรง ผู้มีสิทธิจะต้องขอเลขอนุมัติทุกครั้งเมื่อเข้ารับการรักษาใน 2 กรณีนี้ คือ 1.กรณี อุบัติเหตุฉุกเฉิน นอกรพ.ที่เคยทำเบิกจ่ายตรง 2.กรณีผู้ป่วยในทุกครั้ง © Social Centered Selling LLC | connect. collaborate. close! *
กรณีผู้ใหญ่และเด็กอายุ > 7 ปี สามารถเข้ารับการรักษาในรพ.ของรัฐโดยไม่ต้อง สำรองจ่าย หากมีข้อมูลในฐานทะเบียนสิทธิอปท.แล้วเท่านั้น โดยครั้ง แรกที่มารับบริการ ให้นำบัตรปชช.มาสมัครเพื่อลงทะเบียน เบิกจ่ายตรง และทำการสแกนลายพิมพ์นิ้วมือ เมื่อผ่านการ อนุมัติ ก็สามารถใช้สิทธิจ่ายตรงในวันนั้น กรณีของเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ให้ใช้สูติบัตรหรือบัตรสุขภาพเด็กที่รพ.ออกให้ เพื่อทำเรื่อง ขอลงทะเบียนเบิกจ่ายตรง และทำการสแกนลายพิมพ์นิ้วมือ เมื่อผ่านการอนุมัติ ก็สามารถใช้สิทธิจ่ายตรงใน วันนั้น เช่นเดียวกับ ข้อ1 © Social Centered Selling LLC | connect. collaborate. close! *
กรณีสำรองเงินสดจ่ายก่อนและนำใบเสร็จมาเบิกเงินคืน ในกรณีที่ไม่สามารถเบิกจ่ายตรงด้วยกรณีใดก็ตาม เช่น ยังไม่มีชื่อในทะเบียนผู้มีสิทธิ ฯ ให้ผู้มีสิทธินำใบเสร็จรับเงินที่ได้รับจากรพ.มาส่งให้นายทะเบียนหน่วยเบิก นายทะเบียนจะต้องทาการบันทึกข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเข้าสู่เว็บไซต์ของสปสช.พร้อมสแกนใบเสร็จรับเงินเข้าสู่ระบบเพื่อรอการตรวจสอบ สปสช.จะทำการประมวลผลจ่ายเงินคืนเป็นรายรอบ เมื่อได้รับเงินโอน นายทะเบียนจะต้องจัดระบบการจ่ายเงินคืนผู้ มีสิทธิต่อไป © Social Centered Selling LLC | connect. collaborate. close! *
การส่งต่อ ให้หน่วยบริการมีการบริหารจัดการระบบส่งต่อในเครือข่ายหน่วยบริการในสังกัดรัฐและหน่วยบริการสังกัดอื่นที่มีโดยประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีผู้ใช้บริการ เป็นเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ไม่มีสิทธิตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินสวัสดิการฯของพนักงานส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2541 ให้หน่วยบริการพิจารณาส่งต่อตามระเบียบของสิทธิหลักของผู้ใช้บริการนั้นๆ © Social Centered Selling LLC | connect. collaborate. close! *
การเบิกจ่ายชดเชย หลักการ ให้พนักงานส่วนท้องถิ่นและบุคคลในครอบครัว ใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ใช้สิทธิเบิกจ่ายตรง สามารถรักษาที่โรงพยาบาลรัฐได้ทุกแห่ง ให้หน่วยบริการเบิกจ่ายชดเชยผ่านระบบ e-claim ของสปสช. (รอประกาศอีกครั้งว่าเริ่มเบิกจ่ายได้เมื่อใด) ในเบื้องต้นที่ระบบ e-claim ของ สปสช. ยังไม่เรียบร้อย ให้หน่วยบริการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายชดเชย ไว้ก่อน เช่น สำเนาบัตรประชาชนของผู้ใช้บริการ สำเนาใบส่งตัว (ถ้ามี) ใบหน้า website โปรแกรมที่ตรวจสอบสิทธิ เป็นต้น © Social Centered Selling LLC | connect. collaborate. close! *
การติดต่อ สอบถาม ให้หน่วยบริการจัดช่องทาง หรือเจ้าหน้าที่รับฟังข้อคิดเห็นจากประชาชน และสามารถติดต่อ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 1.สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข - ศูนย์ประสานงานรับเรื่องร้องเรียน กลุ่มประกันสุขภาพ โทร. 0 2590 2417 , 0 2951 0119 - กลุ่มงานประกันสุขภาพ กลุ่มประกันสุขภาพ โทร. 0 2590 1580 2. สายด่วน สปสช. 1330 3. คำถาม คำตอบ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสิทธิสวัสดิการ พนักงานส่วนท้องถิ่น สามารถ download เอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้จาก www.higthai.org © Social Centered Selling LLC | connect. collaborate. close! *
การรายงานผลการดำเนินงาน ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง รวบรวมปัญหาจากหน่วยบริการรายงานมาที่กลุ่มประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทุกวันศุกร์ ช่วงประมาณ 3 เดือนหลังเริ่มให้บริการ ทั้งนี้สามารถ download เอกสารที่เกี่ยวข้องได้จาก www.higthai.org © Social Centered Selling LLC | connect. collaborate. close! *
Question &Answer