หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ แบ่งตามลักษณะ ได้ 2 ประเภท 1 หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) 2.หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Unit)
หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) หน่วยความจำหลัก หรือเราเรียกอีกอย่างว่า หน่วยความจำภายใน จะทำงานเชื่อมต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง ข้อมูลในหน่วยนี้จะต้องมีขนาดไม่ใหญ่นัก ซึ่งมีหน้าที่ดังนี้ 1.เรียกใช้และเก็บชุดคำสั่งข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล 2.เก็บข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล 3.เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะที่ประมวลผล แต่ยังไม่ใช่ผลลัพธ์ที่ต้องการ 4.เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลที่เป็นผลลัพธ์ที่ต้องการเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) ลักษณะของหน่วยความจำหลักจะมีทั้งที่ติดตั้งบนแมนบอร์ดโดยตรงกับแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างหาก การทำงานจะผสานกับซีพียูตลอดเวลา หน่วยความจำหลักแบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้ 1. หน่วยความจำประเภทรอม (ROM) 2. หน่วยความจำประเภทแรม (RAM) 3. หน่วยความจำซีมอส (CMOS)
หน่วยความจำประเภทรอม (ROM) ROM : Read Only Memory ถูกติดตั้งมาจากโรงงาน ผู้พัฒนาระบบเป็นผู้เขียน คำสั่ง ผู้ใช้ทั่วไปสามารถอ่านข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว จึงใช้สำหรับเก็บข้อมูล ที่ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เช่น โปรแกรมควบคุมการทำงานและจัดการพื้นฐาน ของระบบซึ่งจะถูกติดตั้งไว้บนเมนบอร์ด ข้อมูลที่บันทึกในหน่วยความจำประเภทรอมจะยังอยู่ถึงแม้ว่าปิดเครื่องไปแล้ว
หน่วยความจำประเภทแรม (RAM) RAM : Random Access Memory แรมจะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หน่วยความจำชั่วคราว เนื่องจากสามารถเขียนและลบ ข้อมูลได้ขณะที่มีกระแสไฟฟ้าเท่านั้น เมื่อเราปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะถูกลบหายไป หน่วยความจำประเภทแรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 ประเภท ดังนี้ 1.DRAM มีลักษณะการทำงานที่มีการรีเฟรช กระบวนการทำงานอย่างอัตโนมัติ เพื่อช่วยในการ เก็บข้อมูลให้คงที่อยู่ 2.SRAM เก็บข้อมูลและรีเฟรชข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลเท่านั้น การทำงานเร็วกว่าแบบดีแรม แต่ราคาก็แพงมากกว่าดีแรม
หน่วยความจำประเภทซีมอส (CMOS) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อสนเทศที่ใช้เป็นประจำของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ประเภทของแป้นพิมพ์ จอภาพ และเครื่องอ่านแผ่นดิสก์เกตต์ หน่วยความจำนี้จะใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี่บนเมนบอร์ด ข้อมูลจะไม่หายแม้ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะเปลี่ยนแปลงตามอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนไป
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลตามคำสั่งผู้ใช้งาน จะมีความจุมากกว่าหน่วยความจำหลัก เก็บข้อมูลแบบถาวร เรียกใช้งานข้อมูลได้ช้ากว่าหน่วยความจำหลัก ซึ่งในปัจจุบันจะมีฮาร์ดแวร์สำหรับเก็บข้อมูลหลายชนิดดังนี้
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) 1.ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ใช้บันทึกข้อมูล เหมาะกับการทำงานบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่ประเภทโปรแกรมต่างๆ เป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภทจานแม่เหล็ก โดยจะแบ่งเป็นแทร็ก ฮาร์ดดิสก์แบ่งได้ 3 ประเภท 1. ฮาร์ดิสก์ ไอดีอี (IDE) 2. ฮาร์ดดิสก์ ซีเรียล ATA 3. ฮาร์ดดิสก์สกัลซีหรือเอสซีเอสไอ
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) 2. แผ่นดิสเกตต์ หรือ ฟล็อปปี้ดิสก์ (Diskette or Floppy Disk) หลักการทำงานเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ ผลิตจากไมลาร์ มีลักษณะบาง เส้นผ่านศูนย์กลาง3.5 นิ้ว บันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB ข้างนอกหุ้มพลาสติกเพื่อป้องกันสัญญาณ รบกวน
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) 3. แผ่นซีดี เป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภทจานแม่เหล็ก ทำจากแผ่นพลาสติกเคลือบสารโพลีคาร์บอเนต ที่ใช้ทั่วไปมีขนาด 120 มม. บันทึกข้อมูลได้ 700 MB. ต้องใช้ร่วมกับ CD-Writer แผ่นซีดีแบ่งได้ 2 ประเภท - แผ่นซีดีอาร์ - แผ่นซีดีอาร์ดับบลิว
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) 4. แผ่นดีวีดี พัฒนามาจากแผ่นซีดี เมื่อต้องการอ่านหรือบันทึกต้องใช้งานร่วมกับเครื่อง DVD-writer ใช้การยิงเลเซอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าแผ่นซีดี จึงสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าซีดี สามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง 4.7 GB
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) 5. ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ (USB Flash Drive) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ราคาถูก สวยงาม มีขนาดตั้งแต่ 64 MB. จนปัจจุบันพัฒนาไปถึง 32 GB. เชื่อมต่อด้วย USB พอร์ต เราอาจจะเรียกแฟลชไดรฟ์ว่า รีมูฟเอเบิ้ลไดรฟ์(Removable Drive) ทัมป์ไดรฟ์ (Thump Drive) แฮนด์ดี้ไดรฟ์ (Handy Drive) หรือ เพ็นไดรฟ์ (Pen Drive)