โครงการวิจัยเรื่องความอยู่ดีมีสุขของประชากร ในประเทศกำลังพัฒนา มหาวิทยาลัยของนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่มกับ มหาวิทยาลัย Bath สหราชอาณาจักร
โครงการ WeD วิจัยพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องความอยู่ดีมีสุข เน้นการสร้างทฤษฎี เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ในเรื่อง การพิ่มขึ้นของความมั่งคั่ง (Material Wealth) และความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์ มุ่งที่จะเปรียบเทียบความอยู่ดีมีสุขข้ามวัฒนธรรม ในประเทศไทย มีพื้นที่วิจัยสองแห่ง คือภาคอีสานกับภาคใต้ มีพื้นที่เป้าหมาย 7 ชุมชน
ความสุขและความอยู่ดีมีสุข ในแนวคิดของโครงการ WeD ความสุขและความอยู่ดีมีสุข มีความหมายแตกต่างกัน ความสุขหมายถึง สภาวะทางจิตของปัจเจก โดยเฉพาะความพึงพอใจของปัจเจก ต่อสภาพของการดำเนินชีวิต ความอยู่ดีมีสุข มีความหมายรวมถึง อัตวิสัย และภาวะวิสัย หรือหมายถึงการประเมินสภาวะการดำรงชิวิตของปัจเจก (อัตตวิสัย) และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่รอบล้อมตัวปัจเจก
โครงการ WeD ทำอะไร สำรวจทรัพยากรและความจำเป็น ในพื้นที่เป้าหมาย RANQ การสำรวจคุณภาพชีวิต (อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล) การวิจัยกระบวนการ (อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล) การวิจัยรายประเด็น (อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล) – วิถียังชีพ, การกระทำร่วม และสุขภาพ
ประเด็นที่พบ - การวิเคราะห์เบื้องต้น คนในชุมชนเป้าหมายประเมินว่า ตนเองมีความสุขพอสมควร (ปานกลาง) (อยู่ระหว่างร้อยละ 62 – 71) แต่มีจำนวนมากประเมินว่า ตนเองไม่ค่อยมีความสุข (ร้อยละ 22 -33) มีเพียงไม่เกินร้อยละ 6 ที่มองว่าตนเองมีความสุขมาก คนในชุมชนมองว่า ครัวเรือนตนเองมีความไม่เพียงพอ ในเรื่องของการศึกษามากที่สุด (ร้อยละ 72) รองลงมาได้แก่ด้านรายได้ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการรักษาพยาบาล และด้านการบริโภคอาหาร
ประเด็นที่พบ - การวิเคราะห์เบื้องต้น ความผาสุขโดยรวมของคนในชุมชน มีความสัมพันธ์กับ ความเพียงพอในรเองการได้รับบริการสุขภาพ ความเพียงพอในเรื่องอาหาร และความเพียงพอในเรื่องรายได้ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับด้าการศึกษา และที่อยู่อาศัย ความผาสุขโดยรวม ไม่มีความสัมพันธ์กับชั้นฐานะของคน (wealth index) แต่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ชั้นฐานะของตน (subjective evaluation)
สิ่งที่ท้าทาย - ที่จะทำต่อ การวิเคราะห์จะมุ่งเน้นประเด็นที่ว่า ทรัพยากรทางสังคมและวัฒนธรรม เกี่ยวข้องอย่างไรกับความอยู่ดีมีสุข ควรจะมี policy dialogue การวิจัยควรจะลงไปเน้นที่ “กระบวนการ” อย่างช่น ชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น หรือ agents อื่น ๆ จะต้องทำอะไร เพื่อให้บรรลุความอยู่ดีมีสุข – ตัวชี้วัด ต้องเน้นที่ตัวชี้วัดเชิงกระบวนการ