กลุ่ม ๕
Literature review งานวิจัยนี้ยังไม่มีการศึกษามาก่อนมีเพียงวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเช่น สาเหตุเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นในโรงพยาบาลนพรัตน์ ,การศึกษาความถูกต้องในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพุทธชินราช ,Is the diagnosis yield of endoscopy improved by the use of explicit panel based2 และMost common cause UGIB3 ผู้วิจัยมีความสนใจในความถูกต้องในการวินิจฉัยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น เนื่องจากเป็นภาวะฉุกเฉินที่มีอัตราตายสูง
คำถามหลัก อาการและอาการแสดงแต่ละอันที่พบได้ในภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นช่วยในการวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องมากน้อยเพียงใด
คำถามรอง 1. อาการและอาการแสดงที่พบบ่อย 3 อันดับแรกของผู้ป่วย UGIB ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพุทธชินราชคืออะไร ?
2. อัตราส่วนของผู้ป่วยUGIBระหว่างเพศชายกับเพศหญิงคืออะไร?
วิธีวิจัย 1. เริ่มจากไปหาทะเบียนประวัติที่แผนกเวชระเบียนแล้วขอข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น PU & DU Malignancy CA rectum CA colon Gut obstruction Vulvulus Adhesion Intussusception
Anal fissure Rupture of diverticulosis Abdominal aortic aneurism Thalasemia Hemorrhoid Cirrhosis Blunt trauma
มาตรการในการคัดเลือก เป็นจำนวนผู้ป่วยทุกคนมาเข้ารับการรักษาด้วยอาการ hematochezia , hematemesis , melena , iron deficiency anemia
มาตรการในการคัดออก ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการส่องกล้อง endoscope - ผู้ป่วยที่ refer มาจากโรงพยาบาลอื่นและได้รับการส่องกล้องendoscopeมาจากโรงพยาบาลนั้น. - ผู้ป่วยที่ไม่ได้มีภาวะนี้ตั้งแต่แรกรับ. - แพทย์นัด.
นิยาม (Definition) Provisional diagnosis : การวินิจฉัยครั้งแรกก่อนส่องกล้อง endoscope. Definite diagnosis :ผลการวินิจฉัยหลังจากส่องกล้อง endoscope ยืนยัน. Hematemesis :อาเจียนเป็นเลือด. Melena: อุจจาระที่ผ่านออกมามีสีดำประกอบด้วยเลือดซึ่งถูกกรดทำปฏิกริยา ทำให้มีสีดำ. Hematochezia: ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด.
ผลการศึกษา Subject บันทึกรายชื่อผู้ป่วยจากสมุดทะเบียนโดยดูจาก definite diagnosis ซึ่งคาดว่าจะมา admit ด้วยอาการ hematemesis, hematochezia, melena, abdominal pain , syncope จากทุกหอผู้ป่วยโดยไม่จำกัดอายุ, เพศ และ admit ระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2542 –31 สิงหาคม พ.ศ.2543
ได้ทำการสืบค้นในเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการ Hematemesis, Melena, Hematochezia, Abdominal pain ที่คาดว่าผู้ป่วยจะมาด้วยภาวะ UGIB มีจำนวนทั้งสิ้น 1,312 รายและคัดออกโดย ผู้ป่วยที่refer มาจากโรงพยาบาลอื่นที่มี Difinite diagnosis 0 ราย ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการส่อง endoscope 301 ราย ผู้ป่วยที่ไม่ได้มีภาวะนี้ตั้งแต่แรกรับ 389 ราย สรุปมีผู้ป่วยที่คัดเข้าเพื่อนำไปวิเคราะห์ทั้งสิ้น 622 รายเป็นชาย 392 ราย หญิง 230 ราย
ตารางแสดงจำนวนผู้ป่วยUGIBในแต่ละเดือน
กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยUGIBในแต่ละเดือน
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเพศและอายุของผู้ป่วยUGIB
กราฟแสดงความถี่ของผู้ป่วยUGIBในแต่ละช่วงอายุ 0-15 16-30 31-45 46-60 61-75 76-90(*96) ช่วงอายุ
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Hematemesisกับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นและไม่เป็นUGIB
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Hematemesis กับผู้ป่วยที่เป็นหรือไม่เป็น UGIB
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอาการ Melenaกับผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่าเป็นหรือไม่เป็น UGIB
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างMelena กับผู้ป่วยที่เป็นหรือไม่เป็น UGIB
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Hematocheziaกับผู้ป่วยที่เป็นหรือไม่เป็น UGIB
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Hematocheziaกับผู้ป่วยที่เป็นหรือไม่เป็น UGIB
ตารางแสดงจำนวนผู้ที่มีอาการ Abdominal pain ใน ผู้ป่วย UGIB และ Non-UGIB
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Abdominal pain กับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นและไม่เป็นUGIB
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Syncope ในผู้ป่วยที่เป็น UGIBและNon-UGIB
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง syncope กับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นและไม่เป็นUGIB
ตารางสรุปความถูกต้องของอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยUGIHที่มารับการรักษายังโรงพยาบาลพุทธชินราช
วิจารณ์ 1. ในงานวิจัยชิ้นนี้มีจำนวน case ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น UGIBและตรวจยืนยันด้วย endoscope ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับจำนวน case ทั้งหมดที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นUGIB ทั้งนี้เนื่องจาก คนไข้มาถึงโรงพยาบาลตอนกลางคืน, ตรงกับวันหยุด, และเลือดหยุดไหลแพทย์จึงไม่ทำendoscopy 2.เนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาแบบ retrospective ข้อมูลที่ได้จากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่เกี่ยวกับอาการและอาการแสดงไม่ครบ ทำให้เกิด selection bias ได้ เนื่องจากแพทย์บางท่านเห็นว่าไม่สำคัญและไม่จำเป็นต้องบันทึกไว้เช่น abdominal pain, syncope
3. อาการและอาการแสดงของแต่ละอย่างมีความสำคัญไม่เท่ากัน ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาเฉพาะอาการและอาการแสดงที่เห็นว่าสำคัญ เช่น hematemesis, hematochezia, melena, abdominal pain, syncope 4. มีข้อห้ามในการใส่ endoscope ในเด็ก 5. น่าจะเป็นการศึกษาแบบ Prospective เพื่อลดความผิดพลาดในการบันทึกอาการและอาการแสดงและขอความร่วมมือจากแพทย์ให้ช่วยกรอกอาการและอาการแสดงให้ครบถ้วนชัดเจนและพิจารณาทำ endoscopeทุกรายที่สงสัยว่าจะเป็น UGIB
THE END