หมู่ 6 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
มีพื้นที่ประมาณ 70 ไร่ แบ่งเป็น 2 ส่วน ฝั่งซ้ายมีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ใช้สำหรับปลูกลำไย และไม้หอม ฝั่งขวามีพื้นที่ประมาณ 50 ไร่ ใช้ปลูกข้าว กระท้อน มะขาม และลิ้นจี่ พื้นที่ของไร่อยู่ติดกับไหล่เขาจึงมีลักษณะลาดเอียงเล็กน้อย
ลำไย (LONGAN) วงศ์ Sapindaceae Science name : Dimocarpus Longan Lour. เป็นไม้ผลที่สำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งซึ่งมี ผลิตภัณฑ์รวมมูลค่ามากกว่า 5000 ล้านบาท
การเตรียมพื้นที่ปลูก ระยะปลูก จำนวนต้นต่อไร่ ปรับสภาพดินโดยใส่ปุ๋ยคอก (ขี้หมู) แล้วไถพลิกดิน ระยะปลูก 77 เมตร จำนวนต้นต่อไร่ จำนวนต้นเฉลี่ย 32 ต้นต่อไร่
การดูแลรักษา 1. การตัดแต่งกิ่ง อายุ 1-3 ปี จะตัดแต่งกิ่งให้เป็นพุ่ม อายุ 4-5 ปี (ปัจจุบัน) จะตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยว 2. การให้ปุ๋ย หลังตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยที่ให้ N สูงๆ 46-0-0 และ 15-15-15 อัตราส่วน 1:1 ต้นละ 2 กิโลกรัม
ก่อนฤดูหนาว ใส่ปุ๋ย 0-46-0 และ0-0-60 อัตราส่วน 1:1 ต้นละ 2 กิโลกรัม เพื่อให้ลำไยสะสมอาหารและเตรียมออกดอก ช่วงติดผล ใส่ปุ๋ย 15-15-15 และ 46-0-0 อัตราส่วน 1:1 ต้นละ 2 กิโลกรัม เพื่อบำรุงผล ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ใส่ปุ๋ย 0-0-60 ต้นละ 2 กิโลกรัมเพื่อเพิ่มคุณภาพ
3. การให้น้ำ ใช้มินิสปริงเกอร์ โดยมีถังสูงไว้เก็บน้ำ ให้ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วงฤดูแล้ง (หลังออกดอก)
4.การป้องกันกำจัดโรคและแมลง มีปัญหาในเรื่องของหนอนชอนใบ - ใช้อบาเมกตินฉีดพ่น ปัญหาในเรื่องของด้วง - ใช้carbalyl (เซฟวิน 85)ฉีดพ่น
5. การกำจัดวัชพืช ใช้รถตัดหญ้าตัดระหว่างแถวสลับกับพ่นสารกำจัดวัชพืช
ระยะการออกดอก ต้องการอุณหภูมิต่ำประมาณ 8 สัปดาห์เพื่อกระตุ้น การออกดอกในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ระยะการเก็บเกี่ยว ตั้งแต่ออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวใช้เวลา 6 เดือน ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
ปริมาณผลผลิต การตลาด ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 1000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มีคนมารับในสวน ราคากิโลกรัมละ 6-10 บาท
การขนส่ง มีทางผ่านเข้าถึงในสวน ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ออกดอกไม่สม่ำเสมอทุกปี