รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model)
ความหมาย รูปแบบการสอนการสอนโมเดลซิปปา เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง ( construction of knowledge ) ซึ่งนอกจากผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองและพึ่งตนเองแล้วยังพึ่งการมีปฏิสัมพันธ์ ( interaction) กับเพื่อนๆ บุคคลอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวรวมทั้งอาศัยทักษะกระบวนการ ( process skills) ต่างๆ จำนวนมากเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ โดยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับรู้และเรียนรู้อย่างตื่นตัว
ผู้เรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย ( physical participation) อย่างเหมาะสม และจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนได้ดี เข้าใจลึกซึ้งและอยู่คงทนมากขึ้น หากผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (application) ในสถานการณ์ที่หลากหลาย (ทิศนา แขมมณี 2545:280)
ทฤษฏี/แนวคิด 3. การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม ทิศนา แขมมณี (2542) ได้เสนอแนวคิดที่ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบกิจกรรมของโมเดลซิปปา ดังนี้ 1.การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย 2.การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา 3. การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม 4. การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางอารมณ์
หลักการของรูปแบบการสอนโมเดลซิปปา หลักการของรูปแบบโมเดลซิปปา สรุปได้ดังนี้ (ทิศนา แขมมณี,2542) C มาจากคำว่า Construct I มาจากคำว่า Interaction P มาจากคำว่า Physical participation P มาจากคำว่า Process learning A มาจากคำว่า Application
แนวทางการจัดการเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอนของโมเดลซิปปา ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอนดังนี้ (ทิศนา แขมมณี, 2545: 281-282) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นการแสวงหาความรู้เดิม ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการแสวงหาความรู้ใหม่ ขั้นที่ 3 ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจ ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
ขั้นที่ 4 ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม ขั้นที่ 5 ขั้นการสรุปและจัดระเบียบความรู้ ขั้นที่ 6 ขั้นการแสดงผลงาน ขั้นที่ 7 ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้
ข้อค้นพบจากการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อดิศร ศิริ (2543) จากการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา มีข้อค้นพบจากการวิจัยดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อดิศร ศิริ (2543) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กาลางโดยใช้โมเดลซิปปา สำหรับวิชาชีววิทยาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า กิจกรรมการเรียนการสอนที่ได้พัฒนาขั้นดังกล่าวทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนทำให้นักเรียนมีความสนใจ สนุกสนานและนักเรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการในการเรียนรู้ นอกจากนั้นแล้วนักเรียนได้นำความรู้เดิมมาผสมผสานกับความรู้ใหม่เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวของนักเรียนเอง
ความสนใจต่อการเรียน ดอกคูณ วงศ์วรรณวัฒนา (2544) ความสนใจต่อการเรียน ดอกคูณ วงศ์วรรณวัฒนา (2544) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้รูปแบบซิปปาในวิชาฟิสิกส์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนทุกคนให้ความสนใจต่อการเรียนมากขึ้น มีความสนุกสนานและให้ความร่วมมือในการเรียนและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ความสุขในการเรียน วารยาณีย์ เพชรมณี (2546) วิจัยพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบซิปปา พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบซิปปาทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้ง่ายขึ้น
นักเรียนรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายกล้าแสดงออก สามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับเพื่อนในชั้นเรียนในขณะทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เมื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่านักเรียนร้อยละ 88.37 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่โรงเรียนกำหนดไว้คือ ร้อยละ 60 ของ คะแนนเต็ม
จบการนำเสนอ