งานทรัพยากรบุคคล การปรับเปลี่ยนการดำเนินการ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อรองรับการปฏิบัติงานในระบบ MU-ERP-HR วันที่ 20 มกราคม 2554 ณ ห้องประชุมสมพร เรืองผกา
เหตุการณ์ แนวปฏิบัติ เมื่อประสงค์จะลาออกจากงาน 1. เขียนหนังสือขอลาออก ยื่นหนังสือขอลาออกต่อ ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนถึงวันที่ขอลาออก 2. ผู้บังคับบัญชาตามลำดับพิจารณาเสนอความเห็น (เห็นสมควร อนุญาต หรือยับยั้งเพื่อประโยชน์ของส่วนงานซึ่งการยับยั้งได้ ไม่เกิน 90 วัน และยับยั้งได้ครั้งเดียว และต้องพิจารณา ตามลำดับชั้นระยะเวลารวมไม่เกิน 7 วัน เช่น หัวหน้าคลินิก/หัวหน้าหน่วย ผุ้ควบคุมคลินิก /หัวหน้างาน รองคณบดีที่กำกับดูแล)
เมื่อประสงค์จะลาออกจากงาน เหตุการณ์ แนวปฏิบัติ เมื่อประสงค์จะลาออกจากงาน 3. ส่งหนังสือขอลาออกที่ผู้บังคับบัญชาสูงสุดเสนอความเห็นต่อ คณบดีแล้วให้สารบรรณรับเรื่อง เพื่อส่งให้งานทรัพยากรบุคคล ดำเนินการ 4. งานทรัพยากรบุคลลรับเรื่องตรวจสอบความถูกต้อง เสนอคณบดีพิจารณาอนุญาต หรือยับยั้งการลาออก ** **กรณีลูกจ้างฯ / พนักงานมหาวิทยาลัย ยื่นหนังสือลาออกต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้า น้อยกว่า 30 วัน ก่อนถึงวันที่ขอลาออก ให้ผู้นั้นแจ้งความประสงค์ลาออกที่งานทรัพยากรบุคคล โดยตรงด้วยตนเอง พร้อมทั้งยื่นหนังสือลาออกต่อผู้บังคับบัญชาตามปกติ**
เหตุการณ์ แนวปฏิบัติ การปฏิบัติเมื่อข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานมหาวิทยาลัย ขาดงาน 1. เมื่อขาดงานครบกำหนด 5 วัน ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ของบุคลากรที่ขาดงานมีหนังสือติดตามไปยังภูมิลำเนาโดย ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือมอบหมายบุคคล ในหน่วยติดตามและรายงานเป็นหนังสือ 2. ตามข้อ 1 ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นรายงานไปยัง งานทรัพยากรบุคคลด้วย เพื่อระงับการจ่ายเงินเดือน
เหตุการณ์ แนวปฏิบัติ การปฏิบัติเมื่อข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานมหาวิทยาลัยขาดงาน 3. เมื่อขาดงานครบกำหนด 7 วัน ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ของบุคลากรที่ขาดงานมีหนังสือติดตามไปยังภูมิลำเนา อีกครั้งหนึ่งโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือมอบหมายบุคคลในหน่วยติดตามและรายงานเป็น หนังสือ 4. ตามข้อ 3 ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นรายงานไปยัง งานกฎหมายพร้อมหลักฐานคือหลักฐานการลงลายมือชื่อ ปฏิบัติงาน หนังสือติดตามตัวหรือรายงานการติดตามตัว ตามข้อ 1 และข้อ 3
ชี้แจงการทำงานของระบบเงินเดือนและค่าตอบแทน Payroll Management เดิม งานคลัง ปัจจุบัน งานทรัพยากรบุคคล
การเปลี่ยนแปลง Slip เงินเดือน
รูปแบบแสดงรายการ Slip เงินเดือน
ประเภทเงินได้ เงินเดือนและค่าจ้าง เงินประจำตำแหน่งไม่มีวาระ เช่น วิชาชีพ / วิชาการ / วิชาชีพ เฉพาะ / ผู้เชี่ยวชาญ / เชี่ยวชาญพิเศษ ค่าตอบแทนไม่มีวาระ เงินเพิ่มค่าครองชีพ พ.ต.ส. (เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงาน ด้านสาธารณสุข)
ประเภทเงินหัก เงินหักตามกฏหมาย เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย / กบข. / ประกันสังคม / กสจ. / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (มหิดล) สหกรณ์ออมทรัพย์ ม.มหิดล สหกรณ์ออมทรัพย์คณะฯ ค่าสมาชิกสโมสร ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ เงินกู้ ธนาคาร เช่น อาคารสงเคราะห์ / ออมสิน สมาชิก ชพค.
ผลกระทบสิทธิประโยชน์ของบุคลากร รายการลดหย่อนภาษี (ลย.01) บุคลากร ควรประมาณการรายการลดหย่อนภาษีตามสิทธิ (แบบฟอร์ม ลย.01) ให้ครบถ้วน เพื่อนำมาคำณวนรายได้พึง ประเมิน โดยระบบจะคำณวนหลักเกณฑ์ และอัตราของ กรมสรรพากรโดยอัตโนมัติ และลดภาระรายจ่ายต่างๆ
กำหนดวันรับสลิปเงินเดือน ประจำปี 2554 มกราคม >>> วันอังคารที่ 24 มกราคม 2554 กุมภาพันธ์ >>> วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 มีนาคม >>> วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2554 เมษายน >>> วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2554 พฤษภาคม >>> วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2554 มิถุนายน >>> วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2554
กำหนดวันรับสลิปเงินเดือน ประจำปี 2554 7. กรกฎาคม >>> วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2554 สิงหาคม >>> วันพฤหัสที่ 25 สิงหาคม 2554 กันยายน >>> วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2554 ตุลาคม >>> วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2554 พฤศจิกายน >>> วันพฤหัสที่ 24 พฤศจิกายน 2554 ธันวาคม >>> วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม 2554
คำถาม??