5
4
3
2
1
รายงาน ขอบข่ายของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ จัดทำโดย น.ส. ศศิวิมล สัตตธรรมกุล รหัสประจำตัวนิสิต 474 16447 24 คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐประศาสศาสตร์
ขอบข่ายของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ ในปัจจุบันนี้นักบริหารทางราชการต้องการใช้ความรู้จากรัฐศาสตร์ สังคมวิทยา จิตวิทยาสังคม มนุษยวิทยา ตลอดจนการบริหารรัฐกิจ จึงได้มีการรวบรวมแนวเค้าโครงความคิดที่ต่างกันมารวมอยู่ในรัฐประศาสนศาสตร์
ซึ่งมีประโยชน์สำหรับการบริหารงาน จึงเป็นเหตุให้รัฐประศาสนศาสตร์ ขาดเอกลักษณ์ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่นักรัฐประศาสนศาสตร์มีความยาก ลำบากในการกำหนดขอบข่ายและการให้คำจำกัดความ
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หรือการบริหารรัฐกิจ มาจากคำภาษาอังกฤษ Public Administration ซึ่งจะมีความหมายเป็น 2 นัย คือ ในฐานะที่เป็นศาสตร์ (Science) หรือเป็นสาขาวิชาการ (A Field of Study) คือ ในฐานะที่เป็นศาสตร์ (Science) หรือเป็นสาขาวิชาการ (A Field of Study)
และในฐานะที่เป็นการปฏิบัติงาน (Activities) หรือเป็นกิจกรรม
ลักษณะเนื้อหาข้เดองรัฐสนศาสตร์ มีดังนี้ ฃ ลักษณะเนื้อหาของรัฐประศาสนศาสตร์ มีดังนี้
1. เป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ หรือเป็นสาขาวิชาหนึ่งที่แยกออกมาจากวิชารัฐศาสตร์ ดังนั้น รัฐประศาสนศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น ตรรกวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยาสังคม ฯลฯ
2.ไม่ให้ความสนใจในเรื่องความบริสุทธิ์ของศาสตร์
3.ปัจจุบันนิยมศึกษาในรูปของสหวิทยาการ (Inter - Disciplinary Approach) คือเกี่ยวพันกับศาสตร์สาขาต่าง ๆ ยากที่จะแยกออกจากกันได้
4.ต้องนำเอาสังคมศาสตร์สาขาต่างๆ มากำหนดนโยบายในการบริหารงานของรัฐ
รัฐประศาสนศาสตร์ หรือ Public Administration เป็นวิชาเกี่ยวกับการจัดกำลังคน เงินและวัสดุ เพื่อตอบสนองนโยบายการปกครองของรัฐ มุ่งเน้นการปฎิบัติให้เป็นไปตามอุดมคติและจุดประสงค์ของรัฐให้มีสมรรถภาพและได้ผลมากที่สุด
THE END