กระบวนการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process) Created by Mr. Nopphadol Punyadee
Inquiry process กระบวนการเรียนการสอนเน้นการสืบเสาะหาความรู้จะเป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนได้รับความรู้ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ปลูกฝังให้นักเรียนให้ความคิดของตนเอง สามารถเสาะหาความรู้ หรือวิเคราะห์ข้อมูลได้
ขั้นตอนของ Inquiry process การจัดการให้นักเรียนเรียนแบบ Inquiry process อาจทำเป็นขั้นตอนดังนี้ (5e) ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) ขั้นขยายความรู้ (elaboration) ขั้นประเมิน (evaluation)
ขั้นสร้างความเข้าใจ (engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา ในบางกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่าง ๆ หรือเป็นผู้กระตุ้นด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมาก่อน
ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration) วางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (simulation) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอ
ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ วาดรูป สร้างตาราง เป็นต้น การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ตั้งไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้
ขั้นขยายความรู้ (elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม หรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนำแบบจำลอง หรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์อื่น ๆ ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่าง ๆ ได้มาก ก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย แต่ก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่าง ๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น
ขั้นประเมิน (evaluation) เป็นการประเมินความรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ในเรื่องอื่น ๆ
Inquiry cycle การนำความรู้ไปใช้อธิบาย หรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่น ๆ จะทำให้เกิดประเด็น หรือคำถาม หรือปัญหาที่ต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ เรียกว่า Inquiry cycle
การวางแผนการเรียนการสอน การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ สร้างความสนใจ ประเมิน สำรวจ-ค้นหา อธิบาย-ลงข้อสรุป ขยายความรู้
The Inquiry Cycle which provides students with a goal structure for guiding their inquiry. http://aied.inf.ed.ac.uk/members99/archive/vol_10/white/figure1.gif
Inquiry process การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ นอกจากจะใช้กระบวนการดังกล่าวแล้ว อาจใช้วิธีอื่น ๆ อีก ดังนี้ การค้นหารูปแบบ (pattern seeking) การจำแนกประเภทและการระบุชื่อ การสำรวจและการค้นหา การพัฒนาระบบ การสร้างแบบจำลองเพื่อการสำรวจตรวจสอบ
การค้นหารูปแบบ (pattern seeking) โดยเริ่มที่นักเรียนมีการสังเกต และบันทึกปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ หรือทำการสำรวจตรวจสอบโดยที่ไม่สามารถควบคุมตัวแปรได้ แล้วคิดหารูปแบบจากข้อมูล เช่น จากการสังเกตผลมะม่วงในสวนจากหลาย ๆ แหล่ง พบว่า ผลมะม่วงที่ได้รับแสงจะมีขนาดโตกว่าผลฝรั่งที่ไม่ได้รับแสง นักเรียนก็จะสามารถสร้างรูปแบบ และสร้างความรู้ได้
การจำแนกประเภทและการระบุชื่อ เป็นการจัดจำแนกของวัตถุหรือเหตุการณ์เป็นกลุ่ม หรือการระบุชื่อวัตถุ หรือเหตุการณ์ที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม เช่น เราจะแบ่งสัตว์มีกระดูกสันหลังออกเป็นกลุ่มได้อย่างไร สารต่าง ๆ จำแนกอยู่ในกลุ่มใด
การสำรวจและการค้นหา เป็นการสังเกตวัตถุ หรือเหตุการณ์ในรายละเอียด หรือทำการสังเกตต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น ไข่ไก่มีพัฒนาการอย่างไร
การพัฒนาระบบ เป็นการออกแบบ ทดสอบ และปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์หรือระบบ เป็นการออกแบบ ทดสอบ และปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์หรือระบบ ท่านสามารถออกแบบสวิตซ์ความดันสำหรับเตือนภัยได้อย่างไร ท่านสามารถสร้างเทคนิค หรือหามวลแห้งของผลมะม่วงได้อย่างไร
การสร้างแบบจำลองเพื่อการสำรวจตรวจสอบ เป็นการสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบาย เพื่อให้เห็นถึงการทำงาน เช่น สร้างแบบจำลองระบบนิเวศ
Inquiry cycle วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry cycle) สร้างความเข้าใจ (engagement) วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry cycle) สำรวจและค้นหา (exploration) ประเมิน (evaluation) อธิบายและลงข้อสรุป (explanation) ขยายความรู้ (elaboration)