ซึ่งจะช่วยให้ผู้ศึกษาค้นคว้า/ผู้นำคู่มือไปใช้

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สมเกียรติ คูหเวโรจนปกรณ์
Advertisements

วิชาหัวข้อเรื่องที่ทันสมัยทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 6 มกราคม 2555
การเขียนรายงานทางวิชาการ รศ. ดร
การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
การซ้อนทับกัน และคลื่นนิ่ง
ประเภท โครงการต่อยอด/ขยายผลโครงการเดิม(A)
การกำหนดปัญหา และความต้องการ (Problem Definition and Requirements)
รศ. ดร. สมศักดิ์ คงเที่ยง
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
รายงานการวิจัย.
Research Problem ปัญหาการวิจัย
ระบบสารสนเทศแผนงานบำรุงทาง
เทคนิคการเขียน คู่มือการปฏิบัติงานหลัก
ตัวอย่างการเขียน ในบทที่ 5.
การเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน
โดย นายโอภาส เขียววิชัย ที่ปรึกษาด้านระบบบริหาร
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรรคุณค่าวิชาการ สู่สังคม
การจัดเก็บข้อมูลตามตัวบ่งชี้ สกอ. และ สมศ.
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ
การเขียนขยายเค้าโครงเอกสารแต่ละบท ให้มีเนื้อหาสมบูรณ์
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
Management Information Systems
Use Case Diagram.
กฎ ก.พ. เรื่อง การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (มาตรา 46)
การวิเคราะห์ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูล
การบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA: Public Sector Management Quality Award)
สาระสำคัญของหนังสือเวียน ว 10/2548 การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ (ตำแหน่งประเภททั่วไป)และตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะตำแหน่งระดับ.
: หัวข้อและความสำคัญของปัญหา
: หัวข้อและประเด็นปัญหา
ภาพรวมแผนผังเชิงกลยุทธ์ (Strategy Map)
การคัดเลือกฯ ตาม ว 28/2547.
นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์
การเขียนรายงานการใช้เอกสารประกอบการสอน
การวางแผนและ การจัดทำ IT Audit
ที่ปรึกษาด้านระบบบริหาร ณ โรงแรมเจริญธานี ปริ๊นเซส จังหวัดขอนแก่น
หมวด 7 result 1. ECPE มิติที่ 7.1 ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน 2.
4 เมษายน 2560 หมวด 7 result.
เครื่องมือช่วยในการจับประเด็น รวบรวมความคิดให้เป็นหมวดหมู่
การประชุมชี้แจงสาระสำคัญของประกาศ คพร.
ความคิดเห็นของข้าราชการเกี่ยวกับ สวัสดิการการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2546
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สรุปผลการสำรวจ ความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับ
1 การสัมมนาผู้ตรวจ ประเมินคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2552 วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม 2553 ณ ห้องประชุม 3222 อาคารสิริคุณากร.
การลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ และการพิจารณาให้รางวัลคุณภาพ
บทที่ 3 การวิเคราะห์ Analysis.
การเลื่อนตำแหน่งสายสนับสนุน
ความก้าวหน้าของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา
วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่6

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
เทคนิคการเขียน คู่มือการปฏิบัติงาน จากงานประจำ
หลักการแก้ปัญหา
การลงข้อมูลแผนการสอน
บทที่ 7 การศึกษาและ การนำเสนอสารสนเทศ
การบรรจุแต่งตั้ง ข้าราชการ
เพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม
วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัด ภูเก็ต
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ก่อนและหลัง การประกาศสงครามขั้นแตกหักเพื่อเอาชนะยาเสพติด) พ.ศ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
เทคนิคการรวบรวมข้อมูล
การค้นในปริภูมิสถานะ
กราฟเบื้องต้น.
ลักษณะโครงการวิจัยที่ดี
การคัดเลือกฯ ปริญญาโท
การเขียนรายงานผลการวิจัย
แนวปฏิบัติและวิธีการ ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์
โครงสร้างข้อมูลแบบ สแตก (stack)
กราฟเบื้องต้น.
บทที่ 5 การเขียนรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
เป็นผู้พิจารณากำหนดตำแหน่ง ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ที่ ก.พ. กำหนด
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ซึ่งจะช่วยให้ผู้ศึกษาค้นคว้า/ผู้นำคู่มือไปใช้ มองเห็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และงาน โดยเขียนออกมาในรูป Flow chart ทำให้เกิดความ เข้าใจง่าย มีการสื่อความหมายที่ดี โดยไม่ลงลึกใน รายละเอียด ในการเขียน Flow chart เริ่มต้นด้วยการนำ กิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้น มาใส่ลงในกรอบรูปทรง เรขาคณิต ตามประเภทของกิจกรรมนั้นๆ และนำมา เขียนต่อกันตามลำดับขั้นตอน แล้วเชื่อมด้วยลูกศร

การเขียนขั้นตอน การปฏิบัติงาน สามารถเขียนในรูปของ... ข้อความทั้งหมด (Wording) ตาราง (Table) แผนภูมิจำลอง (Model) ผังของการปฏิบัติงาน (Flow Chart)

การเขียน Flow Chart ผู้เขียนควรเข้าใจกระบวนการและการปฏิบัติงานจริง เขียนขั้นตอน กิจกรรม การตัดสินใจ จัดลำดับก่อนหลังของขั้นตอนดังกล่าว เขียน Flow Chart โดยใช้สัญลักษณ์ที่ถูกต้อง เหมาะสม

บทที่ 3 หลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติงาน (กฎ ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ ข้อบังคับ มติ เกณฑ์มาตรฐาน ฯลฯ) กฎ ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ ข้อบังคับ มติ หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง เกณฑ์มาตรฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการคำนวณ/วิธีการวิเคราะห์ ข้อมูล

กฎ ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ ข้อบังคับ มติ เกณฑ์มาตรฐาน ฯลฯ ผู้เขียนคู่มือการปฏิบัติงาน ต้องเขียนอธิบายชี้แจงให้ผู้ศึกษา/ผู้ใช้คู่มือฯ ทราบถึง กฎ ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ มติ และ เกณฑ์มาตรฐาน ตลอดจนวิธีการในการวิเคราะห์ ที่มีอยู่ในคู่มือการปฏิบัติงานนี้

บทที่ 4 เทคนิคการปฏิบัติงาน หรือ กรณีตัวอย่างศึกษา บทที่ 4 เทคนิคการปฏิบัติงาน หรือ กรณีตัวอย่างศึกษา เทคนิควิธีฯ 1/ กรณีศึกษา ........ เทคนิควิธีฯ 2/ กรณีศึกษา ........ เทคนิควิธีฯ 3/ กรณีศึกษา ........ เทคนิควิธีฯ 4/ กรณีศึกษา ........ * การยกตัวอย่างให้ยกให้เห็น 2 ด้าน คือกรณีที่ “ถูก”หรือ”ทำได้” และ กรณีที่ “ผิด” หรือ “ทำไม่ได้”

ตัวอย่าง ในการเขียนในบทที่ 4 กรณีตัวอย่างศึกษา/ เทคนิควิธีการใช้คู่มือ

(คู่มือการปฏิบัติงานของตำแหน่งบุคคล) การเขียนตัวอย่าง คู่มือการปฏิบัติงาน เรื่อง... คู่มือการขอกำหนดตำแหน่ง ชำนาญการ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ (คู่มือการปฏิบัติงานของตำแหน่งบุคคล)

จาก. มาตรฐานกำหนดตำแหน่งของ ก. พ. อ จาก...มาตรฐานกำหนดตำแหน่งของ ก.พ.อ. สายงานบริหารทั่วไปในการพิจารณาแต่งตั้ง ขรก.ให้ดำรงตำแหน่งชำนาญการ ชำนาญการพิเศษเชี่ยวชาญ และ เชี่ยวชาญพิเศษ ก.พ.อ.ได้กำหนดคุณสมบัติเฉาะสำหรับตำแหน่ง สำหรับตำแหน่งระดับปฏิบัติการ ให้มีคุณวุฒิอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 1) ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบเท่าได้ ไม่ต่ำกว่านี้ 2) ได้รับปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบเท่าได้ ไม่ต่ำกว่านี้ 3) ได้รับปริญญาเอก หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบเท่าได้ ไม่ต่ำกว่านี้

และได้กำหนดคุณสมบัติเฉาะสำหรับตำแหน่ง สำหรับตำแหน่งระดับชำนาญการ ดังนี้ 1) มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ระดับปฏิบัติการ และ 2) เคยดำรงตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะระดับปฏิบัติการ มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนด 6 ปี ให้ลดลงเป็น 4 ปี สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 กำหนด 6 ปี ให้ลดลงเป็น 2 ปี สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3 หรือตำแหน่งประเภทอื่นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด และ 3) ปฏิบัติงานด้านการบริหารงานทั่วไป หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ตัวอย่างที่ 1 วิธีคำนวณ นาย ก. บรรจุครั้งแรกในตำแหน่งบุคลากร มาเป็นเวลา 2 ปีต่อมาเปลี่ยนเป็นตำแหน่ง จ.บริหารฯ ระดับปฏิบัติการ ปฏิบัติงานต่อมาอีกเป็นเวลา 6 ปี นาย ก. มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่จะขอระดับชำนาญการหรือไม่ ? วิธีคำนวณ จากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งผู้ที่จะดำรงระดับชำนาญการต้องมี... มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งสำหรับ จ.บริหารฯ และ ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี และ ปฏิบัติงานด้านการบริหารทั่วไปหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี สรุป...นาย ก.มีคุณสมบัติ(ครบ 3ข้อ) จึงมีสิทธิ์ขอชำนาญการได้

ตัวอย่างที่ 2 วิธีคำนวณ นาย ข. เป็นตำแหน่ง จ.บริหารฯ ระดับปฏิบัติการ และได้ปฏิบัติ งานมาในตำแหน่งนี้เป็นเวลา 6 ปี นาย ข. มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่จะขอระดับชำนาญการหรือไม่ ? วิธีคำนวณ จากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งผู้ที่จะดำรงระดับชำนาญการต้องมี... มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งสำหรับ จ.บริหารฯ และ ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี และ ปฏิบัติงานด้านการบริหารทั่วไปหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี สรุป...นาย ข.ยังขาดคุณสมบัติข้อ 3.จึงยังไม่มีสิทธิ์ขอชำนาญการ

ตัวอย่างที่ 3 วิธีคำนวณ นาย ค. เป็นตำแหน่ง จ.บริหารฯและได้ปฏิบัติงานในระดับปฏิบัติ การมาเป็นเวลา 4 ปี ต่อมาได้ใช้วุฒิป.โทในการปรับวุฒิและปฏิบัติ งานต่อมาอีก 2 ปี ก่อนหน้านี้นาย ค.เคยเป็น น.วิชาการศึกษามาแล้ว 1 ปี ก่อนที่จะมาเป็น จ.บริการ นาย ค. มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่จะขอระดับชำนาญการหรือไม่ ? วิธีคำนวณ จากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งผู้ที่จะดำรงระดับชำนาญการต้องมี... มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งสำหรับ จ.บริหารฯ และ ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี และ ปฏิบัติงานด้านการบริหารทั่วไปหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ป.ตรี + ป.โท + ป.เอก = 1 6 4 2 4 + 2 + 0 = 1 6 4 2 0.67 + 0.5 + 0 = 1 จากคุณสมบัติข้อ 2 ต้องดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี ให้ลดลงเป็น 4 ปี สำหรับผู้ที่มีวุฒิ ป.โท กรณี นาย ค. คำนวรระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 2 วุฒิทำได้ดังนี้ ป.ตรี + ป.โท + ป.เอก = 1 6 4 2 4 + 2 + 0 = 1 6 4 2 0.67 + 0.5 + 0 = 1 1.17 มากกว่า 1

นาย ค. มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งผู้ที่จะดำรงระดับชำนาญการในข้อที่ 1 นาย ค. มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งผู้ที่จะดำรงระดับชำนาญการในข้อที่ 1. คือการมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งสำหรับ จ.บริหารฯ และมีคุณสมบัติ ข้อที่ 2. คือดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี หรือปริญญาโท 4 ปี และมีคุณสมบัติ ข้อที่ 3. ในการปฏิบัติงานด้านการบริหารทั่วไปหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งเหมาะ สมกับหน้าที่ความรับผิดชอบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี(เป็นน.วิชาการศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว 1 ปี) นาย ค. มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งผู้ที่จะดำรงระดับชำนาญการครบทั้ง 3 ข้อ จึงมีสิทธิ์ขอชำนาญการได้

ตัวอย่างที่ 4 วิธีคำนวณ นาย ง. เป็นตำแหน่ง จ.บริหารฯและได้ปฏิบัติงานในระดับปฏิบัติ การมาเป็นเวลา 3 ปี ต่อมาได้ใช้วุฒิป.โทในการปรับวุฒิและปฏิบัติ งานต่อมาอีก 1 ปี 8 เดือน ก่อนหน้านี้นาย ง.เคยเป็น น.การเงินฯมาแล้ว 1 ปี ก่อนที่จะมาเป็น จ.บริการ นาย ง. มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่จะขอระดับชำนาญการหรือไม่ ? วิธีคำนวณ จากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งผู้ที่จะดำรงระดับชำนาญการต้องมี... มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งสำหรับ จ.บริหารฯ และ ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี และ ปฏิบัติงานด้านการบริหารทั่วไปหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

จากคุณสมบัติข้อ 2 ต้องดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี ให้ลดลงเป็น 4 ปี สำหรับผู้ที่มีวุฒิ ป.โท กรณี นาย ง. คำนวรระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 2 วุฒิทำได้ดังนี้ ป.ตรี + ป.โท + ป.เอก = 1 6 4 2 3 + (20) + 0 = 1 6 48 2 0.5 + 0.42 + 0 = 1 0.92 น้อยกว่า 1

นาย ง. มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งผู้ที่จะดำรงระดับชำนาญการไม่ครบ กล่าวคือมีข้อที่ 1. คือการมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งสำหรับ จ.บริหารฯ แต่ไม่มีคุณสมบัติ ข้อที่ 2. คือดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี หรือปริญญาโท 4 ปี และมีคุณสมบัติ ข้อที่ 3. ในการปฏิบัติงานด้านการบริหารทั่วไปหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี(เป็นน.การเงินฯ มาก่อนหน้านี้แล้ว 1 ปี) นาย ง. จึงมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งผู้ที่จะดำรงระดับชำนาญการไม่ครบทั้ง 3 ข้อ จึงไม่มีสิทธิ์ขอชำนาญการได้

(คู่มือการปฏิบัติงานของตำแหน่ง น.การเงินฯ หรือ จ.บริหารฯ) การเขียนตัวอย่าง คู่มือการปฏิบัติงาน เรื่อง... คู่มือการตรวจสอบรายงาน การไปราชการ (คู่มือการปฏิบัติงานของตำแหน่ง น.การเงินฯ หรือ จ.บริหารฯ)

ตัวอย่างที่ 1 นาย ก.เป็นข้าราชการระดับ 5 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอเบิกค่าพาหนะในการเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพ มหานครโดยรถรับจ้าง(รถแท็กซี่)ระหว่างวันที่อยู่ในกรุงเทพ โดยให้เหตุผลว่า ไม่รู้จักเส้นทาง ถ้าเดินทางด้วยรถประจำทางจะทำให้เสียเวลานายก. สามารถเบิกได้หรือไม่ การตรวจสอบรายงาน พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526 กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้...

มาตรา 22 วรรค 4 ได้กำหนดให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่าระดับ 6 ลงมา ใช้สิทธิเบิกค่าพาหนะรับจ้างได้ ถ้าการเดินทางนั้นต้องนำสัมภาระในการเดินทาง หรือสิ่งของเครื่องใช้ของทางราชการไปด้วยซึ่งเป็นเหตุไม่สะดวกที่จะเดินทางโดยรถประจำทาง ดังนั้น... นาย ก. เป็นข้าราชการระดับ 5 ไม่สามารถเบิกค่าแท็กซี่ระหว่างวันที่ไปราชการอยู่ในกรุงเทพฯ เนื่อง จากไม่มีสัมภาระระหรือสิ่งของเครื่องใช้ระหว่างวันในการเดินทางในกรุงเทพฯ เนื่องจากขัดกับ มาตรา 22 วรรค 4 แห่ง พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526 ดังกล่าวข้างต้น

ตัวอย่างที่ 2 ปัจจุบันมีรถประจำทางปรับอากาศ สายขอนแก่น-เชียงใหม่ นาย ข ตัวอย่างที่ 2 ปัจจุบันมีรถประจำทางปรับอากาศ สายขอนแก่น-เชียงใหม่ นาย ข. เป็นข้าราชการระดับ 6 ของมหาวิทยาลัย ขอนแก่น จะเดินทางไปราชการที่จังหวัดเชียงใหม่โดยทางรถไฟจากขอนแก่น-กรุงเทพฯ แล้วทางเดินทางต่อโดยรถไฟจากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยไม่เดินทางสานตรงด้วยรถประจำทางปรับอากาศจากขอนแก่นถึงเชียงใหม่ได้หรือไม่ การตรวจสอบรายงาน พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526 กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้...

มาตรา 22 วรรคแรก กำหนดว่า “การเดินทางไปราชการโดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทาง และให้เบิกค่าพาหนะได้โดยประหยัด” กฎหมายมีเจตนาให้ผู้เดินทางเลือกลักษณะและวิธีการเดินทางที่มีผลให้เสียค่าพาหนะเดินทางให้น้อยที่สุด โดยไม่เป็นผลเสียกับทางราชการและงานที่ไปปฏิบัติ เช่น ในการเดินทางไปปฏิบัติราชการยังสถานที่ใดๆ หากสถานที่ดังกล่าวนั้น ผู้เดินทางสามารถที่จะเดินทางไปโดยยานพาหนะประจำทางได้หลายเส้นทาง ผู้เดินทางต้องเลือกเส้นทางที่สั้นและตรง ซึ่งประหยัดค่าพาหนะการเดินทาง

และเส้นทางดังกล่าวต้องสะดวดที่จะเดินทางไปถึงทันเวลาปฏิบัติราชการ กรณีนี้ นาย ข. เป็นข้าราชการ ระดับ 6 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเดินทางไปราชการที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงไม่มีสิทธิเบิกค่าโดยสารรถไฟจากขอนแก่นไปกรุงเทพฯ และจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ แต่จะมีสิทธิเบิกค่ารถโดยสารประจำทางปรับอากาศสายขอนแก่น-เชียงใหม่ได้ เนื่องจากขัดกับ มาตรา 22 วรรคแรก แห่ง พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526 ดังกล่าวข้างต้น

บทที่ 5 ปัญหาอุปสรรคและ ข้อเสนอแนะ บทที่ 5 ปัญหาอุปสรรคและ ข้อเสนอแนะ ปัญหาและอุปสรรค แนวทางแก้ไขในการปฏิบัติงาน แนวทางพัฒนางานหรือปรุงงาน ข้อเสนอแนะ

ในบทนี้ผู้เขียนควรนำเสนอปัญหา อุปสรรค และ การใช้คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้ศึกษาค้นคว้า/ผู้นำ คู่มือไปใช้ เล็งเห็นถึงปัญหา อุปสรรค การจัดทำ การ นำไปใช้ และการแก้ไขคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อจะได้ ดำเนินการใช้คู่มืออย่างมีประสิทธิภาพ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ปฏิบัติงานใน ด้านนี้มาเป็นเวลานาน ผู้เขียนควรที่จะเสนอแนวทาง การแก้ไขปัญหา ตลอดจนแนวทางการพัฒนางาน หรือปรับปรุงงาน และข้อเสนอแนะ

เทคนิคการเขียนบทที่ 5 การที่จะเขียนปัญหาในบทที่ 5 นี้ให้ได้มากๆ ต้องเขียน/บอกถึงปัญหาตามขั้นตอนต่างๆ ของการปฏิบัติงานที่กล่าวไว้ในบทที่ 2 หรือ 3 ว่าในแต่ละขั้นตอน - มีปัญหาอะไร? และเมื่อพบปัญหาแล้ว -ได้แก้ไขปัญหาด้วยวิธีการอะไร? และ - ทำอย่างไร? - ผลเป็นอย่างไร ?

จากนั้นจึงทำการตั้ง “ปัญหา” หรือตั้ง “อุปสรรค”ขึ้นมาเอง แม้ปัญหาหรืออุปสรรคจะยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม และเมื่อตั้งประเด็นปัญหา/อุปสรรคขึ้นมาแล้ว ก็ทำการตอบปัญหาหรือแก้ปัญหานั้นเอง เปรียบเสมือนเป็นหน้าม้า ที่เขียนปัญหา/อุปสรรคขึ้นมาถามเอง แล้วก็เขียนตอบเอง หรือ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ชงเองกินเอง”

การเขียนบรรณานุกรม โดยแยกบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ภาษาไทยและบรรณานุ กรมสิ่งพิมพ์ภาษาต่างประเทศ และแต่ละภาษานั้นให้เรียง ตามลำดับอักษร แบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน และ พจนานุกรมภาษาอังกฤษทั่วไป การจัดทำบรรณานุกรม ให้ยึดแนวทางตามคู่มือการ จัดทำปริญญาวิทยานิพนธ์ ของแต่ละมหาวิทยาลัย

ภาคผนวก เนื้อหาของงาน เป็นส่วนที่นำมาเพิ่มขึ้นในตอนท้าย เพื่อช่วย ภาคผนวก หมายถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่เขียน แต่ไม่ใช่ เนื้อหาของงาน เป็นส่วนที่นำมาเพิ่มขึ้นในตอนท้าย เพื่อช่วย ให้ผู้ศึกษาค้นคว้าได้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น จะมีภาคผนวกหรือไม่ แล้วแต่ความจำเป็น ถ้าจะมีควรจัด ไว้ในหน้าต่อจากบรรณานุกรม

ภาคผนวก (ต่อ) ในภาคนวก ของเอกสารทางวิชาการ เช่น งานวิจัย งานวิเคราะห์ งานเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน ฯลฯ ส่วนใหญ่แล้ว มักจะประกอบไปด้วย... ۰ แบบสอบถาม ۰ แบบสัมภาษณ์ ۰ แบบเก็บข้อมูล ۰ รูปภาพ ۰ รายละเอียดการวิเคราะห์

เทคนิคการเขียนคู่มือการปฏิบัติงานให้เข้าใจง่าย การใช้ภาพถ่าย การใช้ภาพการ์ตูน การใช้แบบฟอร์มบันทึก การใช้ Multi Media

ตัวอย่างการใช้ภาพจริงอ้างอิง

ตัวอย่างการใช้ภาพการ์ตูน

ตัวอย่างการใช้แบบฟอร์ม

ตัวอย่างการใช้ Multi Media

สิ่งที่พึงระวังในการเขียน คู่มือการปฏิบัติงาน ความถูกต้อง&ความทันสมัยของเนื้อหา เนื้อหาถูกต้องตามหลักวิชาการของศาสตร์นาสขาวิชานั้นๆ และความถูกต้องนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่าถูกต้องในปัจจุบัน เช่น ทฤษฎี สูตร กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ฯลฯ

การจัดเรียงลำดับของเนื้อหาในคู่มือ ความครอบคลุมขอบข่ายของงานที่ปฏิบัติ หมายถึง คู่มือการปฏิบัติงานมีความครอบคลุมทุกหัวข้อ เรื่องที่เป็นสาระสำคัญของงานที่ปฏิบัติ การจัดเรียงลำดับของเนื้อหาในคู่มือ หมายถึง ลำดับขั้นตอนคู่มือการปฏิบัติงานมีการเสนอ เรื่องราวที่จะเขียน/เรียบเรียง เพื่อให้ผู้ศึกษา/ผู้ใช้ให้เข้าใจ ง่าย ไม่วกวน

รูปแบบการเขียนคู่มือ ในแต่ละเรื่องที่เขียนควรระบุความคิดรวบยอดของเรื่อง ให้ชัดเจน มีการอธิบายความคิดรวบยอดนั้นๆ ในลักษณะ สามารถสื่อความหมายได้ดีพอสมควร อาจมีภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ประกอบเพื่อความ เข้าใจและให้น่าสนใจ มีความประณีตในการจัดวรรคตอนและช่องไฟ มรการ อ้างอิงแหล่งวิชาการที่ควรอ้างอิง ให้ถูกต้องตามแบบแผนการ เขียนอ้างอิง

การศึกษา ค้นคว้า เพื่อสนับสนุน การเขียนคู่มือ หมายถึง ปริมาณการศึกษา ค้นคว้า ตำรา เอกสาร และ/หรือรายงานการวิจัย ที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ ความสามารถในคู่มือนั้น หรือให้ผู้ศึกษา/ผู้ใช้คู่มือ ได้มีความรู้และสามารถสืบค้น เพิ่มเติมได้อย่างกว้างขวาง

ความเหมาะสม และความถูกต้อง การเขียนหรือเสนอแนวคิดของตนเอง ในการใช้ภาษา การใช้สำนวนภาษาในการเขียนเป็นแบบแผนของภาษา ไทย ศัพท์บัญญัติ ตลอดจนศัพท์เทคนิคให้ถูกต้องตามแบบ ฉบับการเขียน การเขียนหรือเสนอแนวคิดของตนเอง การสอดแทรกความคิด ความเห็นเพิ่มเติมในตอนต่างๆ ของเรื่อง อาจเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์ ข้อสรุป ข้อเสนอแนะ ให้เขียนเป็นแนวคิดของตนเอง โดยมีทฤษฎี หรือผล การศึกษาของผู้อื่นสนับสนุน

ประกาศ ก. พ. อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้ง ขรก ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้ง ขรก.พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้สูงขึ้น พ.ศ.2553 (ลงวันที่ 22 ธค. 54)

มีปัญหา ปรึกษา ติดต่อ.... 089-617-7878 หรือ ruajar@kku.ac.th