ความเหลื่อมล้ำของโอกาสการศึกษาและ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ บรรยายที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๔
ความเหลื่อมล้ำ (หลายมิติ) ความเหลื่อมล้ำของรายได้-ความมั่งคั่ง-โอกาสการศึกษา-การเข้าถึงแหล่ง ทรัพยากร-สิทธิไม่เท่าเทียมกัน ความเหลื่อมล้ำของโอกาสการศึกษา มีผลกระทบระยะยาวต่อครัวเรือน/สมาชิก ครัวเรือน ต่อการเลือกอาชีพ ชนชั้น รายได้ การออม และความมั่งคั่ง ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา..ชัดเจนมากในระดับอุดมศึกษา (มากกว่า ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา) .. การเลือกอาชีพและชนชั้น (socio-economic class) ซึ่งจำแนกออกเป็น ๓ ระดับ ชนชั้นรายได้สูง รายได้ปานกลาง รายได้น้อย ..
ข้อสันนิษฐาน/วิธีการวิจัย ความเหลื่อมล้ำฯสืบทอดข้ามรุ่น ผ่าน “ครอบครัว” ครัวเรือนรวย—ให้มรดกกับ ลูกหลานในรูปทุนเงิน (มรดก) และการลงทุนการศึกษา (human capital bequest) … บทความของ Piketty 2000, persistent inequality and the family transmission of wealth และ transmission of ability งานวิจัยนี้ใช้ทฤษฎีวงจรชีวิต และ ทฤษฎีทุนมนุษย์ เป็นกรอบการวิเคราะห์ หน่วยวิเคราะห์ หมายถึง ครัวเรือน และสมาชิกครัวเรือน ซึ่งมีคน ๒ รุ่น รุ่นพ่อ แม่ รุ่นลูก ใช้ SES2552 เป็นฐานข้อมูล ศึกษาโอกาสการเรียนระดับอุดมศึกษาของรุ่นพ่อ แม่ .. E = (e1, e2, e3, e4, e5, e6) ประถม ม.ต้น ม.ปลาย อาชีวะ ป.ตรี สูง กว่าปริญญาตรี
ข้อสันนิษฐาน/วิธีการวิจัย ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ชนชั้น กับ ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน แบบจำลอง multinomial logit (sociorank = 1, 2, 3) และตัวแปรอิสระ หนึ่งใน ตัวแปรคือระดับการศึกษา เพื่อคำนวณ ความน่าจะเป็นของการเป็นชนชั้น รายได้สูง-และชนชั้นรายได้ปานกลาง ผลลัพธ์ ยืนยันด้วย odd-ratio ว่าโอกาสของคนจบประถมศึกษาที่จะเป็นชนชั้น รายได้สูง น้อยมาก เปรียบเทียบกับผู้จบปริญญาตรี หรือสูงกว่าปริญญาตรี การเลือกอาชีพ (และชนชั้น) หมายถึง รายได้การทำงานตลอดช่วงชีวิต การ ออมและ ความมั่งคั่งของครัวเรือน
การค้นคว้าต่อไป ศึกษาโอกาสการศึกษาของรุ่นลูก .. ซึ่งสัมพันธ์กับระดับการศึกษาของรุ่นพ่อแม่ และสัมพันธ์กับความจน/ความรวย (income decile class) ผลการศึกษา เยาวชนในครัวเรือนในชั้น quintile5 มีโอกาสเรียน ระดับอุดมศึกษาประมาณ 35% เปรียบเทียบกับเยาวชนในครัวเรือนจน (quintile1) 0.6% ด้วยเหตุผลหลายประการที่เราต่างทราบกันดี ก) ไม่มีกำลัง เงินที่จะให้ลูกเรียน ข) ลูกต้องออกมาทำงานหาเงินช่วยครอบครัว ค) intertemporal discount rate สูง “ปัจจุบัน” หรือ “ความอยู่รอดในวันนี้” สำคัญ กว่าการวางแผนใน “อนาคต” มาก... อีกนัยหนึ่ง คิดสั้นสำคัญกว่าคิดยาว...
การแปลงแนวคิดเป็นนโยบาย วิพากษ์ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อศึกษา (กยศ) การจัดสรรโควตาให้สถานศึกษา..ไป จัดสรรให้ผู้เรียน .. วิธีการเช่นนี้ปิดโอกาสกับ “คนจนตัวจริง” จำนวนมากที่ไม่ได้ เข้ามหาวิทยาลัย ต้องออกไปทำงานช่วยพ่อแม่ตั้งแต่จบการศึกษาภาคบังคับ เสนอทางเลือกใหม่ แนวคิด targeting for the poor ให้มี “คณะกรรมการให้ทุน ระดับพื้นที่” (อำเภอหรือตำบล) ทำหน้าที่แมวมอง หาเยาวชนในครัวเรือน ยากจนที่มีผลการเรียน “ใช้ได้” “ใฝ่เรียน” ..ให้สามารถกู้ยืม (ค่าเล่าเรียน) และ ทุนให้เปล่า (สำหรับค่ากินอยู่ประจำเดือน) วิเคราะห์ภาระทางการคลังรัฐบาล เป้าหมาย (ขั้นต้น) คือเพิ่มสัดส่วนคนจนได้ เรียนระดับอุดมศึกษาจาก 0.6% เป็น 15% จะต้องจัดสรรเงินทุนมากน้อย เพียงใดและเป็นเงินเท่าใด?
การแปลงแนวคิดเป็นนโยบาย ผลการศึกษา ในแต่ละปี กยศ. จัดสรรเงินให้กู้เกือบ ๑ ล้านราย (ผู้กู้เก่ามากกว่า ๗ แสนราย) ผู้กู้รายใหม่มากกว่า ๒ แสนราย วงเงินกู้มากกว่า ๔ หมื่นล้านบาท อ้างอิงบท สัมภาษณ์ของ นพ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการ กยศ. กันที่ให้นักเรียนยากจน ประมาณ 68,000 ราย (สี่ปี ปีที่หนึ่งเริ่มจาก 16,370 ราย เพิ่มจำนวนในปีที่สอง สาม สี่) งบประมาณ (ทุนให้เปล่า) สมมติตัวเลขว่า 3,500 บาท สำหรับ 10 เดือน รวมเป็น 35,000 บาทต่อคน ต้นทุนทางการคลัง 2,400 ล้านบาทโดยประมาณในสี่ปี เป็นทางเลือกใหม่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการลดความเหลื่อมล้ำด้าน การศึกษา โดยให้แต้มต่อกับคนจน ..
การแปลงแนวคิดเป็นนโยบาย มีตัวอย่างเชิงประจักษ์มากมาย ที่ยืนยันว่า ลูกคนจนแต่ว่าเรียนเก่ง สามารถจบ มหาวิทยาลัย (แพทย์ วิศวกร...) สามารถเปลี่ยนสถานะเป็นคนรวยได้ ..ยิ่งไป กว่านั้นช่วยให้พ่อแม่พี่น้องญาติพี่น้อง “พ้นจากความยากจน” .. ลูกดีช่วยพ่อแม่ ได้ เป็นอภิชาตบุตร การศึกษาสูง เป็นหนึ่งในกลไกของ social mobility ได้เป็นอย่างดี จึงเสนอเป็นข้อคิดว่าควรจะปฏิรูป/เปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ถ้าสังคมไม่ดำเนินอะไรเลย..persistent inequality, family transmission of inequality จะดำรงอยู่ตลอดไป