ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล Computer Science Department (FLAS) - Prasertsak U.
การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) Computer Network การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) หมายถึงกระบวนการถ่ายทอด หรือนำส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ผ่านสื่อกลางใดๆ โดยที่ข้อมูล (Data) อาจเป็น ข้อความ รูปภาพ เสียง ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใดก็ได้ตามที่ต้องการ ข้อพิจารณาเมื่อต้องทำการสื่อสารข้อมูล Delivery ต้นทาง ปลายทาง Accuracy ความถูกต้องของข้อมูล Timeline จังหวะเวลาในการส่งข้อมูล
พื้นฐานแนวคิดของการใช้งานระบบเครือข่าย Computer Network พื้นฐานแนวคิดของการใช้งานระบบเครือข่าย Share Resources เพื่อแบ่งปันทรัพยากรซึ่งกันและกัน เช่น Files, Printers, Modem, Fax เป็นต้น Share Application Software and Information เพื่อการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมกัน แบ่งปันหรือเผยแผ่ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ Increase Productivity เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
บรรทัดฐานของระบบเครือข่าย Computer Network บรรทัดฐานของระบบเครือข่าย Performance ประสิทธิภาพในการทำงาน Reliability ความเชื่อถือได้ในการทำงาน ความคงเส้นคงวาของระบบ เมื่อ ต้องการใช้ก็สามารถใช้ได้ทันที Security ความมั่นคงและความปลอดภัยของระบบเครือข่าย
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล Computer Network องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล Sender, Receiver, Message, Protocol, Medium
โปรโตคอล (Protocol) Computer Network หมายถึง กฎระเบียบ หรือข้อกำหนด ขั้นตอน ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถสื่อการกันได้อย่างเข้าใจโดยผู้รับและผู้ส่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สื่อสารใดๆ ก็ได้บนระบบเครือข่าย
ตัวอย่างการใช้งานโปรโตคอล (Protocol) Computer Network ตัวอย่างการใช้งานโปรโตคอล (Protocol) จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด Sending Computer Receiving Computer B C E O T Data S T X BCC = Block Check Character มีไว้เพื่อตรวจสอบข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูล สภาวะไม่มีข้อมูล
สื่อกลาง (Medium) Computer Network หมายถึง ตัวกลางที่ทำหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลข่าวสารจากฝั่งผู้ส่งไปยังฝั่งผู้รับ ซึ่งแบ่งได้ 2 รูปแบบคือ ระบบใช้สาย (Wired System) ระบบไร้สาย (Wireless System)
ระบบใช้สาย (Wired System) Computer Network ระบบใช้สาย (Wired System) เป็นระบบที่สื่อกลางในการใช้งาน เป็นแบบใช้สายทั้งหมด สามารถกำหนดเส้นทางได้ ใช้ได้ทั้งระยะใกล้และระยะไกล ตัวอย่างสายสัญญาณที่มีใช้งานในปัจจุบัน ได้แก่ สายเกลียวคู่ (Twisted pair Cable) สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) เป็นต้น
Computer Network ตัวอย่างสายสัญญาณ Twisted Pair Cable Coaxial Cable
ตัวอย่างสายสัญญาณ Computer Network Fiber Optic Cable Fiber Optic Connector
ระบบไร้สาย (Wireless System) Computer Network ระบบไร้สาย (Wireless System) เป็นระบบที่กำหนดเส้นทางไม่ได้ ใช้ได้ทั้งระยะใกล้และระยะไกล และไม่ใช้สายสัญญาณเป็นตัวนำข้อมูล ตัวนำข้อมูลที่ใช้ในระบบนี้ได้แก่ สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณดาวเทียม (Satellite System) ระบบคลื่นวิทยุ ระบบอินฟราเรด
หลักเกณฑ์ในการเลือกสื่อกลาง Computer Network หลักเกณฑ์ในการเลือกสื่อกลาง สื่อกลางแต่ละประเภทมีคุณสมบัติแตกต่างกัน เราจำเป็นต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน ซึ่งเรื่องหลักๆ ที่ต้องพิจารณามีดังนี้คือ อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูล ( Transmission rate ) โดยพิจารณาจากปริมาณของข้อมูลที่ส่งผ่านว่ามากน้อยเพียงใด ข้อมูลนั้นมีความเร่งด่วนหรือสำคัญขนาดไหน ระยะทาง (Distance) ต้องทราบว่าระยะทางระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อนั้น ว่าอยู่ ห่างกันเพียงใด เช่น ภายในห้องเดียวกัน อาคารข้างเคียง จังหวัด ใกล้เคียงหรือคนละประเทศ เป็นต้น
หลักเกณฑ์ในการเลือกสื่อกลาง (ต่อ) Computer Network หลักเกณฑ์ในการเลือกสื่อกลาง (ต่อ) ค่าใช้จ่าย (Cost) ความสะดวกในการติดตั้ง (Installation) พิจารณาถึงความเหมาะสมของสถานที่ว่าควรใช้สื่อกลางประเภทใด เช่น พื้นที่ที่ไม่สะดวกในการเดินสาย ก็อาจใช้แบบไร้สาย โดยอาจใช้ ระบบคลื่นไมโครเวฟ หรือสัญญาณดาวเทียมแทน เป็นต้น ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม (Resistance to environmental conditions) เลือกสื่อกลางให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และ สิ่งแวดล้อม
รูปแบบการเชื่อมต่อ (Type of Connection) Computer Network รูปแบบการเชื่อมต่อ (Type of Connection) Point-to-Point Multi-Point
รูปแบบการเชื่อมต่อ (Type of Connection) Computer Network รูปแบบการเชื่อมต่อ (Type of Connection) Point-to-Point Multi-Point
รูปแบบการส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย Computer Network รูปแบบการส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย
รูปแบบการส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย Computer Network รูปแบบการส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย มาตรฐานในการส่งผ่านข้อมูล ภายในระบบเครือข่าย กำหนดโดยหน่วยงานกลางที่มีชื่อย่อว่า ISO (International Standard Organization) โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 7 ระดับ เรียกย่อๆ ว่า OSI Model แต่ละระดับทำงานเชื่อมโยงกัน ระดับบนสุด หรือระดับ 7 เป็นระดับที่ใกล้ชิดผู้ใช้มากที่สุด เรียกว่า Application Layer ส่วนระดับล่างสุด เรียกว่า Physical Layer เป็นชั้นที่แสดงถึงส่วนเชื่อมต่อ, ตัวกลางส่งสัญญาน, สัญญานทางไฟฟ้า เป็นต้น
รูปแบบของ OSI Model Computer Network ภายใน 7 Layers ของ OSI Model สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ Upper Layers Lower Layers Application Data Transport
รูปแบบของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล Computer Network รูปแบบของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (Transmission Signal) แบ่งออกได้เป็นสองแบบคือ สัญญาณแบบ Analog สัญญาณแบบ Digital
สัญญาณ Analog Computer Network สัญญาณแบบอนาล็อก (Analog signal) เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องที่ทุกๆ ค่าที่เปลี่ยนแปลงไป ของระดับสัญญาณจะมีความหมาย เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น
สัญญาณ Digital Computer Network สัญญาณแบบดิจิทัล (Digital signal) ประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า คือ สัญญาณ ระดับสูงสุด และสัญญาณระดับต่ำสุด ดังนั้นประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือจะสูงกว่าแบบอนาล็อก เนื่องจากมีการใช้งานค่าเพียงสองค่า เพื่อนำมาตีความหมายเป็น on / off หรือ 0 / 1 เท่านั้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่ระบบคอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน
ตัวอย่างการสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์ Computer Network ตัวอย่างการสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์ Modem สายโทรศัพท์ Modulation/ Demodulation Modulation = แปลงสัญญาณ Digital Analog Demodulation = แปลงสัญญาณ Analog Digital คอมพิวเตอร์
ทิศทางในการสื่อสารข้อมูล Computer Network ทิศทางในการสื่อสารข้อมูล ทิศทางการสื่อสารของข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ แบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้ แบบกึ่งสองทิศทาง (Half duplex) เป็นแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันไปมาได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ (สวนกันไม่ได้) โดยต้องผลัดกันส่งเท่านั้น แบบสองทิศทาง (Full duplex) เป็นแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์ทั่ว ๆ ไป
สัญญาณรบกวน (Noise) Computer Network หมายถึงการรบกวนสัญญาณ ด้วยปัจจัยต่างๆ ในระหว่างการสื่อสารข้อมูล โดยมีผลทำให้สัญญาณที่ถูกส่งไปนั้นผิดเพี้ยนไปจากเดิม ประกอบด้วย 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ Thermal Noise Inter-modulation Noise Cross Talk Impulse Noise
สัญญาณรบกวนประเภทต่างๆ Computer Network สัญญาณรบกวนประเภทต่างๆ Thermal Noise เมื่ออุณหภูมิ สูงขึ้นจะทำให้สัญญานรบกวนแรงขึ้น No = kT (watts/Hertz) No = Noise Power density k = Boltzmann’s constant = 1.3803 x 10 J/Kelvin T = Temperature (Kelvin) Inter-modulation Noise ตัวอย่างเช่น ในขณะที่เราฟังวิทยุ จะพบว่าได้ยินคลื่นอื่นๆ ทั้งที่เราไม่ได้เปลี่ยนไปยังคลื่นนั้น
สัญญาณรบกวนประเภทต่างๆ Computer Network สัญญาณรบกวนประเภทต่างๆ Cross Talk เกิดในกรณีการพูดโทรศัพท์อยู่ แล้วได้ยินเสียงแทรกของคนอื่นที่ไม่ใช่คู่สนทนาของเรา เป็นเพราะสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจากสายโทรศัพท์ ซึ่งโดยปกติจะลดทอนอำนาจของสนามแม่เหล็กได้โดย การบิดสายเป็นเกลียว เพื่อให้เกิดการหักล้างกัน หรือใช้สายที่มีตะแกรงทองแดงหุ้มไว้โดยรอบ Impulse Noise เกิดจาก ฟ้าร้อง หรือฟ้าฝ่า โดยที่สิ่งเหล่านี้มักมีความถี่ของคลื่นสัญญาณอยู่ในระดับ GHz เมื่อเทียบกับสัญญาณที่ส่งออกมาในระดับ MHz จึงทำให้เกิดการรบกวนกันขึ้น
ประเภทของระบบเครือข่าย Computer Network ประเภทของระบบเครือข่าย สามารถแบ่งตามลักษณะภูมิประเทศหรือแนวทางการติดตั้ง ได้ดังนี้ เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้บริเวณเฉพาะที่เช่น ภายในอาคารเดียวกัน หรือภายในพื้นที่ใกล้ๆ กันไม่เกิน 200 เมตร เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายขนาดกลางใช้ภายในเมืองหรือจังหวัด เช่น เคเบิลทีวี เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ติดตั้งเพื่อใช้งานในบริเวณกว้าง มีสถานีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย และมักใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น สายโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง ไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น
ประเภทของระบบเครือข่าย Computer Network ประเภทของระบบเครือข่าย เครือข่ายเฉพาะบุคคล (Personal Area Network : PAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้มากใช้งานเพียงเฉพาะบุคคล เช่น เชื่อมต่อผ่านระบบ Bluetooth กับอุปกรณ์ส่วนบุคคล เช่น Notebook Computer, Mobile Phone, PDA เป็นต้น
ตัวอย่างประเภทของระบบเครือข่าย Computer Network ตัวอย่างประเภทของระบบเครือข่าย เครือข่าย LAN ในสำนักงาน
ตัวอย่างประเภทของระบบเครือข่าย Computer Network ตัวอย่างประเภทของระบบเครือข่าย เครือข่าย WAN
Computer Network สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่ายเฉพาะที่ (Architecture of Local Area Network) คือลักษณะทางกายภาพ หรือลักษณะภายนอกของเครือข่าย ที่แสดงถึงลักษณะการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ภายในเครือข่าย ซึ่งมีรูปแบบการเชื่อมต่อหลายแบบด้วยกัน Star แบบดาว Bus แบบบัส Ring แบบวงแหวน Mesh แบบตาข่าย Tree แบบต้นไม้ (Star + Bus)
รูปแบบการเชื่อมต่อแบบดาว (Star Topology) Computer Network รูปแบบการเชื่อมต่อแบบดาว (Star Topology)
รูปแบบการเชื่อมต่อแบบบัส (Bus Topology) Computer Network รูปแบบการเชื่อมต่อแบบบัส (Bus Topology)
รูปแบบการเชื่อมต่อแบบวงแหวน (Ring Topology) Computer Network รูปแบบการเชื่อมต่อแบบวงแหวน (Ring Topology)
รูปแบบการเชื่อมต่อแบบตาข่าย (Mesh Topology) Computer Network รูปแบบการเชื่อมต่อแบบตาข่าย (Mesh Topology)
รูปแบบการเชื่อมต่อแบบต้นไม้ (Tree Topology) Computer Network รูปแบบการเชื่อมต่อแบบต้นไม้ (Tree Topology) Star Bus
อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Computer Network อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การที่จะนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันนั้น จะต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติมซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ในเบื้องต้นนี้จะขอแนะนำอุปกรณ์ที่มักได้ยินหรือเรียกขานกันอยู่บ่อยๆ เพื่อทำความเข้าใจในหน้าที่และจุดเชื่อมโยงภายในเครือข่าย ดังนี้ LAN Card/Network Card Modem HUB Switch Router Repeater
LAN Card/Network Card Computer Network อุปกรณ์ที่มักเรียกกันว่าการ์ดแลน นี้จะถูกติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะปรากฏช่องสำหรับเสียบสายสัญญาณ เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ เช่น HUB, Switch หรือ Router เป็นต้น สำหรับเสียบในตัวเครื่อง PC สำหรับใช้กับเครื่อง Notebook
โมเด็ม (Modem) Computer Network ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจาก Digital Analog และจากสัญญาณ Analog Digital เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่ายโดยใช้สายสัญญาณโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง สำหรับติดตั้งภายในตัวเครื่อง เรียกว่า (Internal Modem) สำหรับติดตั้งใช้งานภายนอกตัวเครื่อง เรียกว่า (External Modem)
ฮับและสวิตช์ (HUB/Switch) Computer Network ฮับและสวิตช์ (HUB/Switch) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณต่างๆ ที่ต่อมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ (จากช่องเสียบ LAN Card) เพื่อเป็นตัวกลางให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเชื่อมโยงถึงกันได้ ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่ได้รับมา จาก Port ที่ส่งข้อมูล (เครื่องต้นทาง) ไปยังปลายทาง จำนวนช่องสำหรับเสียบสายสัญญาณ มีให้เลือกได้ตามความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะเชื่อมต่อถึงกัน (5 ถึง 24 ช่อง)
เราเตอร์ (Router) Computer Network ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อเครือข่าย เข้าด้วยกันและหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลระหว่างโหนดในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างการทำงานของเราเตอร์ (Router) Computer Network ตัวอย่างการทำงานของเราเตอร์ (Router) ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อเครือข่าย เข้าด้วยกันและหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลระหว่างโหนดในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
รีพีตเตอร์ (Repeater) Computer Network รีพีตเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทวนหรือส่งสัญญาณซ้ำ เพื่อให้สัญญาณแรงขึ้นชึ่งช่วยให้สามารถส่งสัญญาณต่อไปได้ระยะทางไกลขึ้น เนื่องจากสื่อกลางต่างๆ ล้วนมีข้อจำกัดในเรื่องระยะทางในการส่ง ดังนั้นเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าข้อจำกัดดังกล่าว จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์นี้ในการเชื่อมต่อตรงกลางเพื่อขยายสัญญาณ ให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลมากขึ้น
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต Computer Network การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อเราจำเป็นต้องอาศัยผู้ให้บริการที่เรียกว่า ISP (Internet Service Provider) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยการเชื่อมต่อจะมีด้วยกันหลายรูปแบบ เราสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน เช่นแบบ Dial-up หรือการเชื่อมต่อแบบใช้ โมเด็ม (Modem) เพื่อหมุนโทรศัพท์เมื่อต้องการเชื่อมต่อ และแบบบรอดแบรนด์ (Broadband) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลาผ่านอุปกรณ์เครือข่ายชนิดพิเศษ ซึ่งทั้งสองแบบนั้นมีความแตกต่างกันในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูล
การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial-up) Computer Network การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial-up) เป็นการเชื่อมต่อแบบดั้งเดิมโดยอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเป็นสื่อกลาง มีอุปกรณ์พื้นฐานที่ต้องใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์คือ โมเด็ม (Modem) ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งแบบภายในเครื่อง (Internal Modem) และภายนอกเครื่อง (External Modem)
การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (ต่อ) Computer Network การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (ต่อ) ความเร็วในการเชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์ชนิดนี้จะมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 56 Kbps (Kilo bits per second) ขึ้นอยู่กับ ISP ที่เราใช้บริการจะเป็นผู้กำหนด ซึ่งโดยปกติมักกำหนดไว้ที่ความเร็วสูงสุด ค่าบริการมักคิดในรูปแบบ เหมาจ่ายเป็นรายเดือนไม่จำกัดเวลาการเชื่อมต่อ และแบบคิดค่าบริการเป็นรายชั่วโมง
การเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ ADSL (ADSL Broadband) Computer Network การเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ ADSL (ADSL Broadband) เป็นการเชื่อมต่อแบบใหม่โดยอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเป็นสื่อกลางเช่นเดียวกัน แต่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วที่สูงกว่าแบบใช้โมเด็มธรรมดา โดยการส่งด้วยความถี่ที่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม และชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ เรียกว่า DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูงนี้ออกจากระบบโทรศัพท์ปกติและเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยตรง นอกจากนี้การเชื่อมต่อในลักษณะนี้ จะเป็นการเชื่อมต่อที่ไม่ต้องหมุนโทรศัพท์ออกเมื่อต้องการใช้งาน เนื่องจากการเชื่อมต่อจะเกิดขึ้นตลอดเวลา สามารถใช้งานได้ทันที
การเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ ADSL (ต่อ) Computer Network การเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ ADSL (ต่อ) ความเร็วที่รองรับการทำงานจะอยู่ที่ 256 Kbps ไปจนถึง 10 Mbps ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ จะเป็นผู้กำหนด ค่าบริการมักอยู่ในรูปแบบของการเหมาจ่าย โดยไม่จำกัดเวลาในการใช้งาน โดยค่าบริการจะสูงหรือต่ำ จะขึ้นอยู่กับอัตราความเร็วที่เปิดให้บริการ ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และระบบโทรศัพท์บ้าน ซึ่งมักเรียกว่า ADSL Router, ADSL Modem
การเชื่อมต่อแบบใช้ดาวเทียม (Broadband Satellite) Computer Network การเชื่อมต่อแบบใช้ดาวเทียม (Broadband Satellite) เป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งสามารถให้บริการได้ทุกจุด ทั่วประเทศ เนื่องจากใช้การเชื่อมสัญญาณผ่านดาวเทียม จึงไม่มีอุปสรรคด้านสิ่งกีดขวาง หรือสายสัญญาณลากไปไม่ถึง ในปัจจุบันการให้บริการ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในประเทศไทย มีการใช้งาน สัญญาณดาวเทียมคือ โครงการ IPSTAR จานรับสัญญาณติดตั้งภายนอกอาคาร อุปกรณ์ติดตั้งภายในอาคารเชื่อมต่อกับเครื่องคอมฯ
การเชื่อมต่อแบบใช้ดาวเทียม (ต่อ) Computer Network การเชื่อมต่อแบบใช้ดาวเทียม (ต่อ) รูปแบบการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ชุด IPSTAR Terminal กับเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ตั้งแต่ 1 เครื่องขึ้นไปหรือมากกว่าก็ได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณเครื่องที่ต้องการเชื่อมต่อ
Questions & Answers Q&A