การสัมมนาชี้แจงแนวทางการดำเนิน โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทน ในระดับชุมชน
โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน วัตถุประสงค์ รายละเอียดโครงการ รูปแบบการดำเนินงาน และบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน
เนื้อหา รายละเอียดโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ รูปแบบการดำเนินงานโครงการ บทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ “โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน (Community ESCO Fund)” เป็นหนึ่งในโครงการของ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามแผนงานโครงการด้านพลังงานทดแทน
วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนในการสนับสนุน ส่งเสริม และรณรงค์การผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างทั่วถึงและครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อให้การกำหนดทิศทางการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนเป็นไปอย่างเหมาะสมตามศักยภาพพื้นที่ โครงการผลิตพลังงานทดแทนในชุมชนที่ได้รับการสนันสนุน สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานระดับพื้นที่ และสามารถพัฒนาสู่โครงการต้นแบบระดับประเทศได้
วัตถุประสงค์โครงการ เป็นกลไกการสนับสนุนส่งเสริมให้รัฐบาลขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การลงทุนด้านพลังงานของประเทศ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระดับพื้นที่ เพื่อศึกษากลไกการจัดตั้งกองทุนพลังงานชุมชนที่มีความเหมาะสมสำหรับประเทศไทย
รูปแบบการดำเนินงานโครงการ เป็นการสนับสนุนเงินบางส่วน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนรวมกลุ่มกัน ในการร่วมลงทุนเพื่อผลิตพลังงานทั้งความร้อนและไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่ในชุมชน มีการบริหารจัดการวัตถุดิบและพลังงานที่ผลิตได้เพื่อให้เกิดรายได้ในชุมชน เป้าหมายการดำเนินการไม่น้อยกว่า 25 โครงการ ทั่วประเทศ มีกำลังการผลิตพลังงานรวมทั้งโครงการไม่น้อยกว่า 300 kW (ไฟฟ้าหรือเทียบเท่า) เงินสนับสนุนรวม 47 ล้านบาท สำนักงานพลังงานจังหวัดมีบทบาทสำคัญในการร่วมติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการภายในจังหวัด
เงินสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน 5. อัตราการสนับสนุน ให้เงินสนับสนุนไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าโครงการ วงเงินสูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อโครงการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ลักษณะโครงการที่เข้าร่วมและดุลพินิจของคณะทำงานกำกับฯ โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องสามารถลงทุนในส่วนที่เหลือได้ เงินสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน วงเงินรวมทั้งหมด เงินลงทุนของชุมชน
เงินสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน โครงการ ก. เงินสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน วงเงินรวมทั้งหมด เงินลงทุนของชุมชน 100 % 30 % 70 % 1 ล้านบาท 3 แสนบาท 7 แสนบาท
เงินสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน โครงการ ข. เงินสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน วงเงินรวมทั้งหมด เงินลงทุนของชุมชน 100 % 50 % 50 % 7 ล้านบาท 3.5 ล้านบาท 3.5 ล้านบาท 4 ล้านบาท 3 ล้านบาท
บทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง : คณะทำงานกำกับและกลั่นกรองฯ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานพลังงานจังหวัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะทำงานกำกับและกลั่นกรองโครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน พิจารณาและอนุมัติเกณฑ์ในการคัดเลือกและการให้การสนับสนุนโครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน พิจารณากลั่นกรองโครงการ และกำกับทิศทางการพัฒนาการลงทุน เพื่อพิจารณาอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนเป็นรายโครงการ สนับสนุนข้อมูลต่างๆรวมทั้งการประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน พิจารณาให้ความเห็นและคำแนะนำ หรือคำปรึกษา เกี่ยวกับโครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน
คณะทำงานกำกับและกลั่นกรองโครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน (ต่อ) ติดตาม ประเมินผล และตรวจรับการดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่ได้รับมอบหมายที่เกี่ยวข้องกับโครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ประสานงานระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานพลังงานจังหวัด คณะทำงานกำกับและกลั่นกรองฯ ร่วมพิจารณาคัดเลือกโครงการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อเข้ารับการสนับสนุนโครงการ ร่วมตรวจรับงานโครงการที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
สำนักงานพลังงานจังหวัด ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ แนะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้แก่ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ประสานการดำเนินงานระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ผู้เข้าร่วมโครงการ ติดตามและประเมินโครงการในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่แต่ละโครงการได้กำหนดไว้ ร่วมตรวจรับงานโครงการที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ รวบรวมเอกสารการสมัครขอรับเงินสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมทั้งพิจารณาคัดกรองโครงการที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เป็นรายเดือนๆ ละ 1 ครั้ง สรุปผลการคัดเลือกโครงการที่ได้รับการพิจารณาให้การสนับสนุนงบประมาณเป็นรายเดือนๆ ละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับผู้เข้าร่วมโครงการฯ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลระหว่างการดำเนินโครงการที่ได้รับคัดเลือก ร่วมตรวจรับงานโครงการที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
รายชื่อตัวแทนที่ปรึกษา จากมหาวิทยาลัยต่างๆ
รายชื่อที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ รศ.ดร. สุเมธ ไชยประพัทธ์ สถาบันวิจัยระบบพลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทร 074-286968, 081-5403037 โทรสาร 074-286961 E-mail : sumateabc@gmail.com ดร. ชินพงษ์ วังใน สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โทร 02-4707522, 086-9900290 โทรสาร 02-4523455 E-mail : chinnapongw@gmail.com
รายชื่อที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พงษ์ศิริ จรุยนนท์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร โทร 081-4565687 E-mail : airypoly@yahoo.com ผศ. ดร. วีรชัย อาจหาญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โทร 044-224225, 081-8349347 โทรสาร 044-224610 E-mail : arjharh@sut.ac.th
รายชื่อที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ รศ.ดร. กาญจนา เศรษฐนันท์ สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทร 043-204430,081-5536429 E-mail : ksetthanan@gmail.com ผศ.ดร. ขวัญชัย ไกรทอง ภาควิชาเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โทร 055-964239, 055-964004, 089-7911690 E-mail : kwanchaik@nu.ac.th
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ “โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน” ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ชั้น 8 อาคาร 30 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 053-944904, 084-1775525 โทรสาร 053-217118 http://escofund.ete.eng.cmu.ac.th/ www.ete.eng.cmu.ac.th
ขอบคุณค่ะ