รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาและรวบรวมตัวอย่าง การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) ระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคมและชุมชน” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อรวบรวมตัวอย่างการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยหรือเงื่อนไขที่ทำให้การดำเนินงานของรัฐในลักษณะการประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ (Collaborative Governance) ที่มีอยู่ในปัจจุบันเกิดความสำเร็จ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไขหรือแนวทางเตรียมความพร้อมของภาครัฐในการพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันให้ก้าวหน้าต่อไป
แนวทางการดำเนินการศึกษาวิจัย แบบสำรวจ 564 ชุด 743 โครงการ สัมภาษณ์ 63 หน่วยงาน 84 คน ประชุมกลุ่มย่อย 5 ครั้ง การศึกษาเชิงลึก 10 กรณีศึกษา การจัดทำข้อเสนอการวิจัย
กรอบการศึกษาวิจัย
รูปแบบความร่วมมือ การประสานงานระหว่างหน่วยงาน (Co-ordination) การร่วมมือในการปฏิบัติงาน (Co-operation) การร่วมกันดำเนินภารกิจ (Collaboration)
การประสานงานระหว่างหน่วยงาน (co-ordination) การพบปะพูดคุย การประชุมทางการ การปรึกษาหารือ ประสานแผน ประสานข้อมูล
การร่วมมือในการปฏิบัติงาน (co-operation)
การร่วมกันดำเนินภารกิจ (collaboration) แบ่งสรรงบประมาณ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ หน่วยงาน ข หน่วยงาน ก หน่วยงาน ค เป้าหมาย ภารกิจ ร่วมกัน จัดทำข้อตกลง ออกกฎหมาย หน่วยงาน จ หน่วยงาน ง แบ่งสรรทรัพยากร แบ่งสรรทรัพยากรบุคคล
แนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน ระหว่างภาครัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม (Collaborative Governance) เป้าหมาย มุ่งสร้างกติกาการบริหารราชการแผ่นดินในระดับต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างภาครัฐกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างหลักประกันว่าประชาชนจะได้รับบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานในระดับที่เพียงพออย่างเหมาะสมและเท่าเทียมกัน แนวทางการดำเนินงาน จัดระบบบริหารราชการให้เอื้อต่อการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายกับภาคเอกชน องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรชุมชน และภาคส่วนต่าง ๆ โดยส่งเสริม ผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน การประสานกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรประชาชนในลักษณะการบริหารงานในรูปแบบเครือข่าย (Network) ในลักษณะเป็นภาคี/พันธมิตร/หุ้นส่วน (Partnership) ในการจัดบริการสาธารณะ
บทบาทของภาครัฐ ปรับรูปแบบการทำงานของภาครัฐให้มีลักษณะเชิงบูรณาการเกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดบริการสาธารณะ พัฒนารูปแบบ กลไก ระบบ และวิธีทำงาน เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ภาคประชาสังคม และภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น วางหลักเกณฑ์ให้แต่ละส่วนราชการจัดให้มีระบบการปรึกษาหารือกับประชาชน สำรวจความต้องการของประชาชนในโครงการที่มีผลกระทบต่อประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบและให้ข้อคิดเห็นต่อการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในการช่วยกันทำให้เกิดการบริการสาธารณะที่ดียิ่งขึ้น
บทบาทของภาคธุรกิจเอกชน - ร่วมขับเคลื่อนการบริหารกิจการสาธารณะผ่านการทำงาน ทำงานแบบหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน (Public-Private Partnership - PPP) โดยผ่านการร่วมทุนในโครงการพัฒนาสำคัญ ๆ ของประเทศ - มีบทบาทในการร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นธรรมในสังคมผ่านการดำเนินกิจการสาธารณะโดยมีเป้าหมายเพื่อคืนกำไรตอบแทนสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) - ดำเนินกิจการธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อยกระดับการเข้าถึงบริการสาธารณะพัฒนาคุณภาพชีวิตและประโยชน์สุขแก่สังคม (Social Enterprise)
บทบาทขององค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรชุมชน - พัฒนาความรู้และความเข้าใจแก่เครือข่ายภาคประชาชนในการร่วมติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง - สร้างศักยภาพขององค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรชุมชน ในการเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการบริหารกิจการสาธารณะ โดยผ่านการเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนกับหน่วยงานภาครัฐ (Public Social Partnership) - กระตุ้นและส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในสำนึกพลเมืองในการร่วมดูแลรับผิดชอบต่อการปกป้องและอำนวยประโยชน์สาธารณะ ตลอดจนการอาสาเข้ามาเป็นหุ้นส่วนกับภาครัฐรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนกิจการสาธารณะเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด
กลไกการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม ประเภทภารกิจ รูปแบบการบริหาร กลไกทางการบริหาร บริการสาธารณะที่รัฐต้องสงวนบทบาทในฐานะผู้จัดบริการ (core function) การมอบหมายภารกิจให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการแทนกัน (in-house commissioning) การสร้างภาคีหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ (Public/Public Partnership) การสร้างองค์กรความร่วมมือระหว่างท้องถิ่น หรือ สหการ (Local Cooperation) บริการสาธารณะที่ภาครัฐจำเป็นต้องดำเนินการเอง แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถมอบหมายให้องค์กรในภาคส่วนอื่นเข้ามีมีบทบาทร่วมดำเนินการแทนได้ด้วย (contracting in) การมอบหมายภารกิจบางส่วนให้องค์กรในภาคส่วนอื่น เช่น องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรชุมชน เป็นต้น เข้ามาร่วมดำเนินการแทนรัฐ (strategic commissioning) การสร้างภาคีหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับภาคประชาสังคมและชุมชน (Public Social Partnership)
กลไกการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม (ต่อ) ประเภทภารกิจ รูปแบบการบริหาร กลไกทางการบริหาร บริการสาธารณะที่ภาครัฐไม่จำเป็นต้องมีบทบาทในการจัดทำบริการด้วยตนเอง แต่อาศัยการจัดซื้อบริการจากผู้จัดบริการสาธารณะรายอื่นเพื่อส่งมอบให้ประชาชนแทน (contracting out/ outsourcing) การเปิดให้เอกชนเข้ามาแข่งขันกันเพื่อรับมอบหมายดำเนินภารกิจแทนรัฐ (competitive commissioning) การเปิดสัมปทาน การจ้างเหมา บริการสาธารณะที่ภาครัฐไม่จำเป็นต้องมีบทบาทในการจัดทำหรือจัดหาอีกต่อไป เพราะสามารถมอบบทบาทหน้าที่ให้ภาคเอกชนดำเนินการแทนได้โดยตรง (opting out) การมอบหมายภารกิจให้ภาคเอกชนดำเนินการแทนรัฐทั้งกระบวนการ โดยที่รัฐถอนตัวจากบทบาทการจัดบริการสาธารณะนั้น (privatization) การร่วมลงทุนในรูปภาคีหุ้นส่วนภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ตัวอย่างการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน ระหว่างภาครัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม (Collaborative Governance) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โครงการนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสน (โครงการร่วมระหว่างหอการค้าไทยกับชุมชน) โครงการ Hand in Hand อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ศูนย์ประสานงานและบริหารจัดการขยะ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ฐานการเรียนรู้ขับเคลื่อนสู่ตำบลสุขภาวะ (เทศบาลตำบลปริก จังหวัดสงขลา) โครงการนำช้างคืนถิ่นเพื่อพัฒนาบ้านเกิดสุรินทร์ (อปท.กับภาคประชาสังคม) ธนาคารปูโดยกลุ่มฟื้นฟูทรัยพากรปูม้า (ชุมชนกับชุมชน) ชุมชนเกาะเตียบ จังหวัดชุมพร