โฆษณาปฏิบัติธรรมทั่วประเทศ โดย เสถียรธรรมสถาน วัตถุประสงค์ เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนหันมาสนใจการปฏิบัติธรรม เพื่อประโยชน์ในการใช้ชีวิตและพัฒนาด้านจิตใจ เพื่อเป็นการฉลองการตรัสรู้ 2,600 ปี ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
โฆษณาชุด “ดวงตาเห็นธรรม” ประกอบด้วยธรรมโฆษณา 6 เรื่อง “ชีวิตก็ดีอยู่แล้ว ทำไมต้องปฏิบัติธรรม”
“ธรรมสวัสดี”
1. ชาวพุทธ
2. ลมหายใจ
3. ไม่อยาก ก็ไม่ทุกข์
4. ทรัพย์ เงินทอง เกียรติยศและชื่อเสียง เมื่อสิ้นลมหายใจ เอาไปไม่ได้ เอาไปได้แต่กรรม
5. ทุกข์มีไว้ให้เห็น ไม่ได้มีไว้ให้เป็น
6. ชีวิตก็ดีอยู่แล้ว ทำไมต้องปฏิบัติธรรม
6. ชีวิตก็ดีอยู่แล้ว ทำไมต้องปฏิบัติธรรม
แนวคิดจากธรรมโฆษณา “การปฏิบัติธรรม” จากธรรมโฆษณา “การปฏิบัติธรรม” ในครั้งนี้ ได้ให้แนวคิดและซึมซับเอาหลักธรรม เพื่อให้ดวงตาเห็นธรรมในการใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและพัฒนาด้านจิตใจ โดยที่เราจะได้อยู่อย่างไม่ประมาท เข้าใจว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ และรู้จักรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีสติ และการทำผิดศีล ถือเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ สำหรับชาวพุทธส่วนใหญ่
การนำหลักธรรมของศาสนามาปรับใช้ในวิถีชีวิต ด้วยการเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจให้มีสำนึกในคุณธรรมที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และมีความรอบคอบเพื่อให้สมดุล และพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้ง สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างพอประมาณและมีเหตุผล จากเหตุการณ์ปัญหาต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทำให้คนในสังคมต้องการได้รับการพัฒนาทางด้านจิตใจ เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมอย่างสงบสุข
การนำหลักธรรมของศาสนามาปรับใช้ในวิถีชีวิต การปฏิบัติธรรมในวิถีชีวิตเพื่อน้อมนำหลักธรรมคำสอนสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความสงบร่มเย็นทางจิตใจและนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะมนุษย์เราทุกคนต้องการชีวิตที่ดีและมีความสุขที่แท้จริง หลักในการสร้างชีวิตที่ดีและมีความสุข ก็คือ การเข้าถึงธรรมนั่นเอง
การปฏิบัติธรรมนั้น ได้แก่ การดำเนินตามหลักการแก้ปัญหาด้วยวิธีการของอริยสัจ 4 1. ทุกข์ คือ ตัวปัญหา หน้าที่ต่อปัญหาหรือความทุกข์ ก็คือ หน้าที่ที่เรียกว่า ทำความรู้จัก หรือเรียกว่า กำหนดรู้ รู้จักว่าทุกข์ คือ อะไร แล้วก็เรียนรู้สิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหานั้นทั้งหมด เราไม่มีหน้าที่ทุกข์ แต่เรามีหน้าที่รู้จักทุกข์ คือ รู้จักตัวปัญหาตามที่เป็นจริง 2. สมุทัย คือ เหตุของทุกข์ สาเหตุของความทุกข์ ไม่ใช่กำจัดปัญหา ปัญหานั้นเรากำจัดไม่ได้ เราแก้ปัญหาด้วยการกำจัดเหตุของมัน
การปฏิบัติธรรมนั้น ได้แก่ การดำเนินตามหลักการแก้ปัญหาด้วยวิธีการของอริยสัจ 4 3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เมื่อรู้ว่ามันคืออะไรและเป็นไปได้แล้ว เราก็มีหน้าที่ต่อมัน คือ บรรลุถึง หรือ เข้าถึง 4. มรรค เป็นทางเดิน ก็คือ ข้อปฏิบัติ ซึ่งเรามีหน้าที่ คือ ลงมือทำ อานิสงค์จากการปฏิบัติธรรมส่งผลให้ ดังนี้ 1.มีวินัยในตัวเอง 3 ประการ คือ 1) รู้จักระวังตัว 2) รู้จักควบคุมตัวได้ 3) รู้จักเชื่อฟังผู้ใหญ่ ถ้าเป็นเด็กจะไม่เถียงผู้ใหญ่
อานิสงค์จากการปฏิบัติธรรมส่งผลให้ 2. มีกิจนิสัย 4 ประการ คือ 1) ขยันไม่จับจด รักงาน สู้งาน 2) ประหยัด รู้จักใช้ชีวิตและทรัพย์สินอย่างถูกต้องและคุ้มค่า 3) พัฒนา รู้จักพัฒนาตัวเอง และอาชีพให้ดีขึ้น 4) สามัคคี รักครอบครัว รักหมู่คณะ และรักประเทศชาติ 3. มีลักษณะนิสัย 4 ประการ คือ 1) มีสัมมาคารวะ 2) อุตสาหะพยายาม 3) ปฏิบัติตามระเบียบวินัย 4)รู้จักเด็ก รู้จักผู้ใหญ่ วางตัวได้เหมาะสม
อานิสงค์จากการปฏิบัติธรรมส่งผลให้ 4. มีความรู้คู่กับคุณธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต 4 ประการได้ คือ 1) รู้จักคิด 2) รู้จักปรับตัว 3) รู้จักแก้ปัญหา 4) มีทักษะในการทำงานและค่านิยมที่ดีงามในอนาคต เจ้านายทิ้งลูกน้องไม่ได้ ลูกน้องทิ้งเจ้านายไม่ได้ เข้าหลักที่ว่า ผู้ใหญ่ดึง ผู้น้อยดัน คนเสมอกันจะได้อุปถัมภ์ค้ำจุน