งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พระพุทธศาสนา ฝึกคนไม่ให้ประมาท.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พระพุทธศาสนา ฝึกคนไม่ให้ประมาท."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พระพุทธศาสนา ฝึกคนไม่ให้ประมาท

2 พระพุทธศาสนาในด้านการฝึกตนไม่ให้ประมาท
ความประมาท คือ ความเลินเล่อ เผลอสติ ไม่สำรวมระวัง กาย วาจา ใจ ส่วนความไม่ประมาทมีวินัยตรงกันข้าม ได้แก่ ความรอบคอบ มีสติคอยกำกับการกระทำ วาจา ใจ สติ  คือ ความระลึกรู้สึกตัวอยู่เสมอจำเป็นต้องใช้ในกิจกรรมทุกอย่าง ตั้งแต่การทำการงานตามปกติ

3 พระพุทธศาสนา มุ่งประโยชน์สุข แก่บุคคล สังคม และโลก

4 ประโยชน์ของความไม่ประมาทต่อการดำเนินชีวิตและสังคม 1
ประโยชน์ของความไม่ประมาทต่อการดำเนินชีวิตและสังคม              1. ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตส่วนบุคคล               ความไม่ประมาทมีประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่และการดำเนินชีวิต เช่น ในการปฏิบัติหน้าที่หรือการดำเนินชีวิตที่มีความเสี่ยง ต่ออุบัติภัยมาก  ในการทำงานที่ละเอียดประณีต ในการครองเรือน ในการป้องกันโรค              2. ประโยชน์ต่อสังคม  การป้องกันประเทศ การป้องกันอาชญากรรม การวางแผนเศรษฐกิจและสังคม ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ              3. ประโยชน์ในการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา การปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาจะต้องมีความไม่ประมาท กล่าวคือมีสติกำกับอยู่ เสมอ การรักษาศีล การเจริญสมาธิหรือการทำกรรมฐาน การเจริญปัญญา

5 ธรรมะที่สร้างความไม่ประมาท                        ธรรมะที่เป็นเครี่องมือสร้างความไม่ประมาท ได้แก่                        1. สติ ความระลึกได้ก่อนที่จะทำ จะพูด จะคิด ในสิ่งต่างๆ และ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ในขณะที่ทำ พูด คิดอยู่ โดยไม่เผลอใจ หรือขาดสติ                        2. ปธาน คือความเพียร อันเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่ประมาทในชีวิต ได้แก่                                              1) สังวรปธาน ความเพียรในการระวังมิให้ความชั่วเกิดกับตน หรือป้องกันมิให้ตนเองกระทำในสิ่งที่ไม่ดี                                              2) ปหานปธาน ความเพียรในการละทิ้งความไม่ดีที่เคยเกิดขึ้นกับตนให้หมดไป                                              3) ภาวนาปธาน ความเพียรในการสร้างสรรค์ความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นกับตน หรือเพียรในการสิ่งดีๆ ที่ยังไม่ได้สร้าง                                              4) อนุรักขนาปธาน เพียรในการรักษาความดี ที่เราได้ทำไว้แล้วมิให้หายไป คือรักษาสิ่งดีๆ ที่ทำไว้แล้วให้คงอยู่เหมือนเดิม                        3. หิริ โอตตัปปะ หิริ คือความละอายใจในการจะทำความชั่ว และโอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของความชั่ว เมื่อบุคคลมีความละอาย และเกรงกลัวต่อบาป แล้ว ก็จะทำให้ผู้นั้นดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาทเผลอตัวทำความชั่วได้

6 พระพุทธศาสนามีหลักธรรมคำสอนมากมาย ที่มุ่งประโยชน์สุขแก่บุคคล สังคมและโลก ดังตัวอย่างหลักธรรมคำสอนดังนี้ 1. ทิฎฐธัมมิกัตถะ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน 2. สัมปรายิกัตถะ คือ ประโยชน์ในภายหน้า 3. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ นิพพาน

7 หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่มุ่งความสุขแก่สังคมและโลก ได้แก่
อิทธิบาท 4 คือหลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น 1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ 2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน 3. อัตถจริยา คือ การประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น 4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ,เสมอต้นเสมอปลาย พรหมวิหาร 4 คือหลักธรรม ประจำใจอันประเสริญของบุคคลผู้มีคุณความดีอันยิ่งใหญ่ 1. เมตตา แปลว่า ความรัก 2.กรุณา แปลว่า ความสงสาร 3.มุทิตา แปลว่า มีจิตอ่อนโยน 4.อุเบกขา แปลว่าความวางเฉย คือมีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่มากระทบ

8 พระพุทธศาสนา กับเศรษฐกิจพอเพียง

9 พระพุทธศาสนากับเศรษฐกิจพอเพียง
วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ  ความสงบสุขของผู้คนในสังคม ประชาชนมีกินมีใช้อย่างเพียงพอแก่ความต้องการ ที่สำคัญต้องไม่ทำตนและผู้อื่นเดือนร้อน ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาหลายประการ ดังนี้                          1. หลักธรรมการพึ่งพาตนเอง ( อตฺตา หิ อตฺต โน นาโถ)                          2. หลักธรรมความรู้จักพอประมาณ (อตฺตญฺญุตา)                           3. หลักธรรมเรื่องราวความสันโดษ ( สนฺตุฏฺฐิ ปรมํ ธนํ)                          4. หลักธรรมความเป็นผู้รู้จักใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต (ธมฺมญฺญุตา อตฺถญฺญุตา)                           5. หลักธรรมเรื่องทางสายกลาง หรือ ความพอดี (มชฺฌิมปฏิปทา)                          6. หลักธรรมเรื่องความไม่โลภมาก (อโลภ)

10

11


ดาวน์โหลด ppt พระพุทธศาสนา ฝึกคนไม่ให้ประมาท.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google