พิณอีสาน
ที่ตั้ง ที่อยู่ 176 ม. 19 ต. ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น ที่ตั้ง ที่อยู่ 176 ม. 19 ต. ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น
ประวัติความเป็นมา เริ่มจากการพี่มด (วรกร คลสุข)ทำกีต้าร์ขาย จากนั้นจึงมีลูกค้าแนะนำให้ลองทำพิณ พี่มดจึงหันมาทำพิณตั้งแต่นั้นมา โดยประยุกต์จากการทำกีต้าร์ ซึ่งไม้ที่เลือกใช้คือ “ ไม้กุง” เพราะเสียงที่ได้นั้นเป็นเสียงกลาง
อุปกรณ์การทำ เลื่อยฉลุ เครื่องขัด กระดาษทราย กบไส ไฟเวอร์เกีย (ลูกหมู) ปากกาจับไม้ กาวลาเท็ค , กาวร้อน สี, เล็คเกอร์ เครื่องขัด เกลา เลื่อยฉลุ
ขั้นตอนการทำ พิณไฟฟ้า 1. ทำส่วนของคอก่อน โดยวัดความกว้าง ความยาวจากนั้นก็เกลา 2. ใส่ฟิงเกอร์บอดร์แล้วติดสเกล 21.5 นิ้ว (สเกลเร้น) 3. ใส่ดอท (จุด) 4. ทำบอดี้ โดยการเกลาเพื่อให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการแล้วทำการเจาะรูใส่ลูกบิด 5. ขัดแล้วทำสีโดยใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 วัน 6. ประกอบส่วนต่าง แล้วเก็บลายละเอียด
พิณโปร่ง การทำพิณโปร่งลักษณะค่อนข้างคล้ายกันคือเริ่มจากส่วนคอก่อนแล้วจึงไปทำส่วนของบอดี้ซึ่งช่างได้ประยุกต์มาจากกีต้าร์โปร่ง ส่วนของลำตัวนั้น ข้างในจะมีตัว เรซิ้น ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าเสียงดีไม่ดี นอกนั้นก็เหมือนพิณไฟฟ้า ตัวเรซิ้น
นอกจากข้างในจะมีเรซิ้นแล้วลักษณะของลำตัวยังหนากว่าพิณปกติมาก ช่างบอกว่าในการทำแบบนี้จะทำให้เสียงที่ออกมาเป็น อครูสติก มากขั้น
สำหรับการทำพิณนั้นเนื่องจากว่าพิณเป็นเครื่องดนตรีของคนอีสานซึ่งถือว่าได้รับความนิยมมากและการทำพิณโปร่งที่นี้ก็มีลัษณะเด่นที่ทำให้เสี่ยงที่อออกมาไพเราะและเป็นอครูสติกมากยิ่งขึ้น ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน แต่เพราะว่าเป็นเป็นสิ่งที่ทำด้วยวัสดุธรรมชาตินั่นคือ ไม้ ช่างต้องสั่งไม้เป็นจำนวนมากในการทำพิณ ทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลและอาจเกิดภัยธรรมชาติตามมามากมาย
ขอบคุณค่ะ / ครับ