การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
การออกแบบวิจัย (Research Design) คือ การวางแผนล่วงหน้าก่อนดำเนินการวิจัยจริง โดยออกแบบโครงสร้างงาน หรือแผนการศึกษาวิจัย ซึ่งเสนอแนะการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล มีการวางแผนการวิจัยให้ครอบคลุมโครงการที่จะทำการวิจัยทั้งหมด เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหาและคำถามที่ทำการวิจัย
ลักษณะของของการออกแบบวิจัย เปรียบเสมือนเป็นพิมพ์เขียวแบบบ้านที่วิศวกรใช้เป็นแนวทางในการควบคุมงานสร้างบ้าน เพราะในการวิจัยนั้น นักวิจัยจะใช้แบบของการวิจัยเป็นแผนในการปฏิบัติการวิจัย ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้ววิศวกรสามารถที่จะสร้างบ้านโดยไม่ต้องใช้พิมพ์เขียวแบบบ้านก็ได้ แต่หากกระทำเช่นนั้น บ้านที่สร้างออกมาก็มีแนวโน้มที่จะถูกสร้างอย่างสะเปะสะปะ จนผิดไปจากความต้องการของเจ้าของบ้าน ฉันใดฉันนั้น ถ้าหากนักวิจัยทำการวิจัยโดยไม่มีการออกแบบวิจัยให้ดีเสียก่อน อาจส่งผลให้ดำเนินการวิจัยไปในทิศทางที่ไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยนั้น นอกจากนี้ การออกแบบวิจัยยังเป็นเครื่องมือในการควบคุมเรื่องของค่าใช้จ่ายได้ดีกว่าอีกด้วย
เค้าโครงการวิจัย Research Proposal
ประโยชน์ของเค้าโครงการวิจัย เป็นแผนดำเนินงาน ซึ่งจะบอกถึงขั้นตอน ที่นักวิจัยจะกระทำเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการวิจัย เป็นเอกสารเสนอขอคำอนุมัติ และทุนสนับสนุนในการทำวิจัย
ส่วนประกอบของเค้าโครงการวิจัย 1. หัวข้อวิจัย 2. ชื่อผู้วิจัย/คณะผู้วิจัย 3. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 4. คำถามวิจัย 5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 6. ขอบเขตของการวิจัย 7. นิยามศัพท์เฉพาะ/นิยามเชิงปฏิบัติการ 8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 9. วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 10. กรอบแนวคิด/สมมติฐานของการวิจัย 11. วิธีดำเนินการวิจัย 12. แผนการดำเนินงานวิจัย 13. งบประมาณ 14. บรรณานุกรม
ชื่อหัวข้อวิจัย เป็นข้อความที่สื่อความหมายให้ทราบถึง วิธีดำเนินการวิจัย ตัวแปรที่ศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการศึกษา
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ระบุสภาพที่คาดหวัง ระบุสภาพการณ์ที่เป็นปัญหา บอกความสำคัญหรือผลกระทบ อันเนื่องมาจากปัญหา ระบุคำถามวิจัย (บรรยาย) ระบุความเป็นมาหรือสาเหตุของปัญหา ระบุแนวทางแก้ปัญหา ระบุคำถามการวิจัย (ทดลอง/พัฒนา)
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นข้อความที่ต้องระบุให้ชัดเจนว่า ผู้วิจัยต้องการศึกษา แก้ปัญหาหรือพัฒนาอะไร โดยต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหา และนำไปสู่การตอบคำถามในการวิจัยได้
ขอบเขตของการวิจัย ประชากร/กลุ่มเป้าหมาย ตัวแปร เนื้อหาวิชา พื้นที่ ระยะเวลา
นิยามศัพท์เฉพาะ/ นิยามเชิงปฏิบัติการ เป็นการอธิบายคำศัพท์ใหม่ หรือ ศัพท์เฉพาะสาขาวิชา เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายตรงกัน หากเป็นศัพท์ของตัวแปรที่ศึกษา ต้องระบุวิธีและเครื่องมือที่เก็บข้อมูลด้วย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นข้อความที่ระบุว่า คำตอบหรือความรู้ที่ได้จากการวิจัยนั้น จะมีประโยชน์ต่อใคร และอย่างไรบ้าง WHO CARE ? WHO BENEFIT ?
วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จุดมุ่งหมายของการประมวลรายงานการวิจัยหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะดำเนินการนั้น ก็เพื่อที่จะให้ผู้วิจัยทราบแวดวงของปัญหาในการวิจัยพร้อมทั้งภูมิหลัง หลักการและเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ได้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อจะได้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างสมมติฐานและ การออกแบบวางแผนดำเนินงานต่อไป
วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง * หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง * งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง * กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีในการวิจัย
กรอบแนวคิดและสมมติฐาน ในการวิจัย องค์ประกอบ 1 ตัวแปรที่ศึกษา องค์ประกอบ 2 องค์ประกอบ 3 ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
วิธีดำเนินการวิจัย จะเป็นการกล่าวถึงลำดับขั้นตอน ที่จะทำการวิจัยตั้งแต่ต้นจนงานวิจัยเสร็จสมบูรณ์ โดยจะต้องมีหัวข้อที่สำคัญดังนี้
แบบการวิจัย การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ การวิจัยเชิงบรรยาย สำรวจ ความสัมพันธ์/ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ เปรียบเทียบ กรณีศึกษา การวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงประเมิน การวิจัยและพัฒนา การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยสถาบัน
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง หมายถึงกลุ่มคน/สัตว์/สิ่งของ ที่ผู้วิจัยจะเก็บข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์/สรุป หาคำตอบ ให้กับคำถามในการวิจัย หากไม่สามารถเก็บข้อมูลจากทั้งประชากร ได้ ก็จะเก็บข้อมูลตัวอย่าง ซึ่งต้องบอกวิธีการเลือกตัวอย่างอย่างเหมาะสม และระบุจำนวนตัวอย่างอย่างเพียงพอ
ตัวแปรที่ศึกษา หมายถึงคุณลักษณะของประชากร ซึ่งผู้วิจัยต้องการศึกษาหาคำตอบให้กับ คำถามในการวิจัย หากตัวแปรที่ศึกษานั้น มีลักษณะเป็นนามธรรมจะต้องระบุแปรย่อย ที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นหรือวัดได้ชัดเจน และเป็นตัวบ่งชี้ของตัวแปรที่ศึกษา
การเก็บรวบรวมข้อมูล การสังเกต การสัมภาษณ์ การสอบถาม การทดสอบ การตรวจสอบเอกสาร หลักฐาน หรือ ร่องรอย
การเก็บรวบรวมข้อมูล วางแผนปฏิบัติการ ปฏิบัติการตามแผน สังเกต บันทึก รวบรวม ข้อมูลและ หลักฐาน สะท้อนผลการปฏิบัติ
เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสำรวจรายการ แบบมาตรประมาณค่า แบบคำถามปลายเปิด แบบทดสอบ บอกขั้นตอนการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการกำหนดวิธีการหาข้อสรุปหรือคำตอบ ให้กับคำถามในการวิจัย โดยวิธีการหาคำตอบนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวแปร ซึ่งอาจต้องใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อความ หรือวิเคราะห์หาค่าสถิติ ความถี่ สัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปเป็นความเรียง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สมการพยากรณ์ การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน
ปฏิทินปฏิบัติงานวิจัย เป็นการกำหนดกิจกรรม และระยะเวลาในแต่ละขั้นตอน ที่ใช้ในการทำวิจัย ตั้งแต่เริ่มต้น จนเสร็จสมบูรณ์
งบประมาณ เป็นการประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการวิจัยทั้งหมด ซึ่งต้องแจกแจงรายละเอียดค่าใช้จ่าย ตามหมวดเงินงบประมาณในแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสม
บรรณานุกรม / เอกสารอ้างอิง เป็นการบันทึกแหล่งข้อมูล เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยนำมาสนับสนุนการเขียนเค้าโครงการวิจัย โดยให้ยึดรูปแบบใดแบบหนึ่ง ที่ได้รับ การยอมรับอย่างเป็นทางการ