Chulabhron Hospital The application of 2D Barcode to store document identity for document scanning system การประยุกต์ใช้บาร์โคดสองมิติเพื่อเก็บข้อมูลระบุเอกสารสำหรับระบบสแกนเอกสาร November 29th, 2013
เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ เวชระเบียน คือ เอกสารทางการแพทย์ทุกประเภท ที่ใช้บันทึกและเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วย ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีส่วนเข้ามาช่วยในการทำงานมากขึ้นทำให้เกิด เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ การบันทึกข้อมูลทางการแพทย์ ลงในระบบคอมพิวเตอร์ อย่างในอดีต
ระบบสแกนเอกสาร Scan การแปลงเอกสารที่เป็นกระดาษเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์โดยการสแกน และบันทึกเข้าระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำเอกสารดังกล่าว เข้าสู่ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์
ข้อดีของระบบสแกนเอกสาร เพิ่มประสิทธิภาพ ประหยัดพื้นที่ ลดความเสี่ยงการเสียหาย คงคุณภาพ
บาร์โคด เริ่มใช้เมื่อ ค.ศ. 1950 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยเส้นมืดและเส้นสว่าง ข้อมูลที่อยู่ใน Barcode เป็นรหัสแทนตัวเลขหรือตัวอักษร ประเทศไทยเริ่มใช้เมื่อ ค.ศ. 1987 (EAN)
บาร์โคด
บาร์โคด 2 มิติ บาร์โค้ด 2 มิติเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มเติมจากบาร์โค้ด 1 มิติ สามารถบรรจุข้อมูลได้ประมาณ 200 เท่าของบาร์โค้ด1 มิติในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า ข้อมูลที่บรรจุสามารถใช้ภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษได้ เช่น ภาษาญี่ปุ่น จีน เกาหลี และ ไทย
บาร์โคด 2 มิติ
QR Code บริษัท Denso-Wave รวดเร็ว ค.ศ. 1994 บรรจุข้อมุลได้ในปริมาณสูง อุตสาหกรรมยานยนต์ รวดเร็ว บรรจุข้อมุลได้ในปริมาณสูง ขนาดเล็ก ป้องกันคราบสกปรกและการฉีกขาด อ่านข้อมูลได้ 360 องศา ไม่มีค่าลิขสิทธิ์ มีเครื่องมือในการพัฒนาหลายภาษา
QR Code Scan Document Scan JSON สแกน บันทึก -อ่าน QR Code -ระบุข้อมุลเอกสาร ระบุข้อมูลเอกสาร ในระบบสแกนเอกสารทั่วไป เอกสารจะถูกสแกนเข้าระบบ จากนั้นผู้ใช้งานก็จะทำการระบุข้อมูลเอกสาร และบันทึกเข้าระบบ ซึ่งในการทำงานแบบนี้อาจจะเกิด Human Error ได้ เช่นการระบุเอกสารผิดประเภท ระบุเจ้าของเอกสารผิดคน ดังนั้น รพ. จุฬาภรณ์ พัฒนาโปรแกรม QR Code Scan เพื่อแก้ไขในจุดนี้ โดยการนำ QR Code มาผนวกในตัวเอกสาร จากนั้นเมื่อทำการสแกนเอกสาร โปรแกรมจะทำการค้นหา QR Code ที่อยู่ในเอกสารและทำการอ่านข้อมูลภายใน QR Code ข้อมูลใน QR Code จะถูกเก็บไว้ในรู้แบบของ JSON โดยประกอบด้วย HN UID Cat Date จากนั้นก็เพียงแค่ทำการบันทึกเข้าระบบ JSON HN UID Cat Date
เครื่องมือในการพัฒนา C#.NET SQL Server TwainDotNet Newtonsoft JSON Messagingtoolkit-qrcode
แสดงตัวอย่าง QR Code HN ชนิดเอกสาร เอกสารวันที่ จำนวน Copy ปุ่มพิมพ์
แสดงรายการเอกสารสแกน ปุ่มสแกน แสดงรายการเอกสารสแกน แสดงตัวอย่างเอกสาร หลังจากการเริ่มใช้งานระบบสแกนเอกสาร เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน (วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556)มีเอกสารได้รับการสแกนเก็บในระบบทั้งหมด 53,174 รายการมีอุบัติการการบันทึกเอกสารผิดพลาด ทั้งหมด 5 อุบัติการ โดยอุบัติการที่เกิดขึ้นทั้งหมด เป็นการสแกนเอกสาร และระบุตัวตนเอกสาร โดยการกรอกด้วยตนเองทั้งหมด ปุ่มบันทึก
ผลการใช้งาน เริ่มใช้งานเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 สแกนเก็บในระบบทั้งหมด 53,174 รายการ มีอุบัติการการบันทึกเอกสารผิดพลาด ทั้งหมด 5 อุบัติการ โดยอุบัติการที่เกิดขึ้นทั้งหมด เป็นการสแกนเอกสาร และระบุตัวตนเอกสาร โดยการกรอกด้วยตนเองทั้งหมด ***ข้อมูลเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556 ***
สรุป QR Code สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลระบุตัวตนเอกสารได้ สามารถเก็บข้อมูลได้สอดคล้องกับความต้องการ อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการพัฒนาต่อไป เพื่อให้เอกสารที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลมี QR Code ติดตัว อย่างแพร่หลายมากขึ้น การพัฒนาครั้งนี้จะสำเร็จไม่ได้ หากไม่ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก หน่วยเวชระเบียน, งานผู้ป่วยใน, งานผู้ป่วยนอก, แพทย์ และพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
ขอบคุณ หน่วยเวชระเบียน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ แพทย์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ พยาบาล โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
ขอบคุณครับ