รูปทรงและปริมาตร จัดทำโดย นางสาวเพ็ญประภา กฤษฎาเรืองศรี ตำแหน่ง อาจารย์ 1 ระดับ 3 โรงเรียนวัดธาตุทอง สำนักงานเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
ทรงกลม ทรงกลม เป็นรูปทรงผิวโค้งเรียบ เช่น ลูกบอล
ทรงกระบอก ทรงกระบอก เป็นรูปทรงที่มีหน้าตัด (ฐาน) ทั้งสองข้างเป็นรูปวงกลมที่เท่ากัน ทุกประการ และมีหน้าข้างโค้ง
กรวย กรวย เป็นรูปทรงที่มีฐานเป็นรูปวงกลม มีจุดยอดแหลม และมีหน้าข้างโค้ง
ปริซึม ปริซึม เป็นรูปทรงที่มีหน้าตัด(ฐาน) ทั้งสองข้างเป็นรูปหลายเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ มีหน้าข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก การเรียกชื่อปริซึมจะเรียกตามรูปหน้าตัดของปริซึม
พีระมิด พีระมิด เป็นรูปทรงที่มีฐานเป็นรูปทรงหลายเหลี่ยม มียอดแหลมและมีด้านข้างเป็นรูปสามเหลี่ยม การเรียกชื่อเรียกตามรูปที่ฐานของพีระมิด
ปริมาตร ปริมาตร เป็นขนาดของรูปทรง การหาปริมาตรเป็นการหาขนาดของรูปทรงตัน ส่วนการหาความจุเป็นการหาปริมาตรภายในของรูปทรงที่กลวง ปริมาตรสี่เหลี่ยมมุมฉาก = กว้าง x ยาว x สูง = พื้นที่ฐาน x สูง ลูกบาศก์หน่วย
ตัวอย่างที่ 1 กล่องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากกว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 5 เซนติเมตร สูง 4 เซนติเมตร ตวงน้ำตาลทราย 2 ครั้ง เทใส่แก้วน้ำได้เต็มพอดี จงหาปริมาตรของแก้วน้ำ
วิธีทำ ปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง x ความยาว x ความสูง ความจุของกล่อง = 3 x 5 x 4 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 60 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตวงน้ำทราย 2 ครั้ง ใส่แก้วน้ำเต็มพอดี แสดงว่า ปริมาตรของแก้วน้ำเป็น 2 เท่าของปริมาตรของกล่องที่ใช้ ตวงน้ำตาลทราย แก้วมีปริมาตร = 60 x 2 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 120 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตอบ ๑๒๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตัวอย่างที่ 2 กล่องกระดาษใบหนึ่งมีพื้นที่ก้นกล่อง 625 ตารางเซนติเมตร สูง 20 เซนติเมตร กล่องใบนี้มีความจุกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร
วิธีทำ ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน x สูง กล่องกระดาษมีความจุ = 625 x 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 12,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตอบ ๑๒,๕00 ลูกบาศก์เซนติเมตร
การเปรียบเทียบหน่วยวัดปริมาตร 1 ลิตร เท่ากับ 1,000 มิลลิลิตร 1 มิลลิลิตร เท่ากับ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร 1 ลิตร เท่ากับ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
จบแล้วค่ะ..ขอบคุณค่ะ