การพัฒนาเศรษฐกิจ ความหมาย การพัฒนาเศรษฐกิจ (economic development) หมายถึง การทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิต โครงสร้างทางสังคม ค่านิยม ทัศนคติ การศึกษา ระบบการปกครอง และการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ
ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ ประเทศด้อยพัฒนาเป็นประเทศที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการปรับปรุง สภาพเศรษฐกิจและสังคมให้มีความเจริญทัดเทียมกับประเทศที่มีการพัฒนา ระดับสูงหรือประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่างๆพอสรุปได้ดังนี้ 1. ช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น 2. ทำให้ประเทศสามารถช่วยเหลือตนเองได้ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง 3. ช่วยเหลือเศรษฐกิจของโลก
ขอบเขตของการพัฒนาเศรษฐกิจจะประกอบไปด้วย 1. การทำให้รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 2. การทำให้มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น 3. การพัฒนาให้แต่ละภาคมีความเจริญเท่าเทียมกัน 4. การทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่าง มีเสถียรภาพ 5. การกระจายความมั่งคั่งของระบบเศรษฐกิจให้เท่าเทียมกัน 6. การลดความไม่เท่าเทียมในการกระจายรายได้ 7. การทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการมีเสถียรภาพ 8. การทำให้ดุลการชำระเงินมีเสถียรภาพ
ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ 1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ 1.1 การสะสมทุน 1.2 จำนวนประชากรและคุณภาพของประชากร 1.3 ทรัพยากรธรรมชาติ 1.4 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 2. ปัจจัยทางการเมือง 3. ปัจจัยทางสังคม
เกณฑ์ที่ใช้วัดระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง ว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาหรือพัฒนาแล้วนั้น มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ คือ 1. รายได้ต่อบุคคล (Per Capita Income) ประเทศที่มีผลผลิตสูงย่อมมีรายได้ประชาชาติ มากและเป็นผลให้ มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลต่อปีสูงตามไปด้วย
2.การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในเกณฑ์สูง 2.1 โครงสร้างทางเศรษฐกิจเน้นด้านอุตสาหกรรมและมีความเจริญ ก้าวหน้าในอัตราสูง 2.2 การมีทุนขั้นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างเพียงพอ ได้แก่ การคมนาคม การสื่อสาร การชลประทาน การศึกษา การไฟฟ้า การพลังงาน ฯลฯ 2.3 ปัจจัยการผลิตมีประสิทธิภาพสูง ได้แก่ มีแรงงาน ทุน และการประกอบการผลิตที่ดี
3. มาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรอยู่ในเกณฑ์ดี 3.1 มีการพัฒนาอาชีพและรายได้มาก 3.2 มีสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง 3.3 การจัดรัฐสวัสดิการแก่ประชาชนกระจายอย่างกว้างขวาง 3.4 ความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบทไม่เห็นชัดเจน
4.3 มีระเบียบวินัย ขยัน ประหยัด 4.คุณภาพของประชากรด้านการศึกษาและสาธารณสุข 4.1 มีระดับการศึกษาสูง 4.2 มีสุขภาพอนามัยดี 4.3 มีระเบียบวินัย ขยัน ประหยัด
วัตถุประสงค์ของการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 1. เพิ่มรายได้ประชาชาติและรายได้ที่แท้จริงของบุคคล 2. ยกระดับมาตรฐานการดำเนินชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้น 3. กระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง 4. กระจายรายได้สู่ประชาชนอย่างยุติธรรม 5. การจ้างงานเพิ่มอัตราสูง ปัญหาการว่างงานลดน้อยลง 6. การมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศมีดุลการค้า และดุลการชำระเงินที่อยู่ในสภาวะเกินดุลหรือขาดดุล น้อยลง