การอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการ การจัดการเรียนรู้ : การอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างมีความสุขโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน วันที่ 21 มิถุนายน 2555 ณ โรงเรียนวัดสำเภาทอง โดย ดร.อมลวรรณ ศรีประเสริฐ
การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ สนับสนุนโครงการ โดย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่ง การเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.) การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ
วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ธรรมชาติและภัยพิบัติ เพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีต้นแบบ เพื่อเป็น แนวคิดในการประดิษฐ์สิ่งของของนักเรียน อย่างน้อย 3 ชิ้น เพื่อให้นักเรียนร่วมกับผู้ปกครองประดิษฐ์ สิ่งของโดยมีวิทยากรท้องถิ่นมาสนับสนุนให้ได้ สิ่งประดิษฐ์อย่างน้อย 3 ชิ้น เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ดูแล ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว
กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนโรงเรียนวัดสำเภาทองชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 60 คน มี ความรู้ความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติและภัย พิบัติ นักเรียนโรงเรียนวัดสำเภาทองชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 30 คน สามารถประดิษฐ์สิ่งของตามแนวความคิด ของเทคโนโลยีต้นแบบได้ นักเรียนโรงเรียนวัดสำเภาทองชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 60 คน มี ความตระหนัก และมีจิตสำนึกในการ อนุรักษ์ ดูแล ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใกล้ตัว ครู บุคลากร กรรมการสถานศึกษา โรงเรียนและผู้ปกครองจำนวน 30 คน ร่วมจัดการเรียนรู้ในการประดิษฐ์สิ่งของ ร่วมกับนักเรียนตามแนวคิดของเทคโนโลยี ต้นแบบ
ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องกรองน้ำอย่างง่าย ไร้ดิน ปลูกพืช ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องกรองน้ำอย่างง่าย
ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์
วัสดุอุปกรณ์ ตัวตู้อบแห้งทำจากวัสดุอลูมิเนียมชนิดพิเศษลายเพชร ปลอดสนิม ตะแกรงสำหรับวางวัตถุดิบที่นำมาอบแห้ง ทำจากสเตนเลส ซึ่งทนทานต่อการเกิดสนิม ด้านล่างของตู้อบแห้งทำจากแผ่นอลูมิเนียมพื้นสีดำ ทำหน้าที่เป็นตัวรับพลังงานแสงอาทิตย์ มีกระจกป้องกันการสูญเสียความร้อน และฝุ่นละออง มีต ะแกรงมุ้งลวดสำหรับป้องกันแมลงต่างๆ ที่จะมารบกวน ใช้งานและดูแลรักษาง่าย มีประตูเปิด-ปิด และที่จับด้านข้าง
หลักการ ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์นี้ จะใช้ " หลักการไหลเวียนอากาศร้อน เพื่อระบายความชื้นด้วยวิธีธรรมชาติ " กล่าวคือ เมื่อแสงอาทิตย์ส่องผ่านกระจก พื้นอลูมิเนียมสีดำซึ่งอยู่ภายในตู้จะทำหน้าที่ดูดกลืนความร้อนสะสมไว้ ทำให้อุณหภูมิภายในตู้อบแห้งสูงขึ้น ประมาณ 60 องศาเซลเซียส อากาศร้อนในตู้อบจะถ่ายเทความชื้น ทีมีอยู่ในอาหารให้ระเหยออกมา เกิดการลอยตัวสูงขึ้นออกไปทางช่องลมด้านบนของตู้อบแห้ง อากาศเย็นที่อยู่ภายนอกจะไหลเข้าทางช่องลมที่อยู่ส่วนล่างทางด้านหน้าของตู้อบแห้งแทนที่อากาศร้อน เป็นการถ่ายเทความชื้นให้กับอาหารแบบธรรมชาติตลอดเวลา
กล้วยตากอบน้ำผึ้ง จะใช้เวลาในการอบแห้ง 3 วัน โดยเลือกกล้วยที่สุกงอม ปอกเปลือกออก วางเรียงบนตะแกรง แล้วนำเข้าตู้อบ ปิดฝาตู้ นำไปวางรับแสงอาทิตย์ หันหน้ากระจกไปทางทิศใต้ ตู้จะรับแสงอาทิตย์ได้ตั้งแต่ 08.00-16.00 น. ตอนเที่ยงควรกลับกล้วย โดยพลิกด้านล่างขึ้นมารับแสงอาทิตย์ เพื่อให้กล้วยแห้งเท่ากันทั้งสองด้าน ตอนเย็นให้เก็บกล้วยบนตะแกรงใส่ถุงพลาสติกวางซ้อนทับกัน แล้วมัดปากถุงให้แน่น เพื่อให้ความชื้นส่วนในออกมาอยู่ที่ผิว วันรุ่งขึ้นนำกล้วยไปเรียงบนตะแกรงเช่นเดียวกับวันแรก ตอนเย็นให้เก็บใส่ถุงพลาสติกมัดไว้ จนวันที่ 3 นำไปชุบน้ำผึ้งผสมน้ำ 50% วางเรียงบนตะแกรง ตากในตู้อบแห้งจนเย็น จะได้กล้วยตากอบน้ำผึ้งมีสีสวย สะอาด น่ารับประทาน ปราศจากฝุ่นและแมลงรบกวน
เครื่องกรองน้ำอย่างง่าย