ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในอีก 4 ปีข้างหน้า หรือ ปี 2558 ประเทศไทย และสมาชิกในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็จะรวมตัวกันเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” อย่างเป็นทางการ ซึ่ง ณ เวลานี้บรรดาผู้คนมากมายในหลากหลายวงการทั้งภาครัฐ และเอกชน ต่างเริ่มหันมาให้ความสนใจในประเด็นนี้มากขึ้น รวมไปถึงการค้นคว้า และหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ AEC มากขึ้น เพื่อทำความรู้จักกันให้ดีก่อนว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีประโยชน์ และส่งผลกระทบอย่างไร AEC คืออะไร ก่อนที่จะกล่าวถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ต้องย้อนไปกล่าวถึงอาเซียนก่อนเพราะว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC นั้นถือเป็นหนึ่งในความร่วมมือของบรรดาประเทศในสมาชิกอาเซียน โดยอาเเซียน (ASEAN : Association of Southeast Asian Nations) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ คือ ประเทศไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม สำหรับสมาชิก 4 ประเทศคือ กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม จะเรียกว่า กลุ่ม CLMV ซึ่งเป็นสมาชิกที่เข้ามาเพิ่มภายหลัง สมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันว่าจะร่วมมือกันใน 3 ด้านหลัก คือ ด้านความมั่นคง ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ จึงได้จัดตั้งประชาคมแต่ละด้านขึ้น คือ 1. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community : ASC) 2. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community : ASCC) 3. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
นอกจากนี้ใน AEC Blueprint ยังได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 4 ด้านหลัก คือ ข้างต้นนี้จึงเป็นที่มาของ AEC และตามข้อตกลงกัน AEC จะต้องเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 หรือ ค.ศ. 2015 ซึ่งจะมีการกำหนดระยะเวลาการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้า ของประเทศสมาชิกอาเซียนไปเรื่อยๆ จนถึงพ.ศ. 2558 ที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะไม่มีการเรียกเก็บภาษีสินค้ากับประเทศสมาชิกในภูมิภาคเดียวกัน นอกจากนี้ใน AEC Blueprint ยังได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 4 ด้านหลัก คือ การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน ให้สามารถเคลื่อนย้าย สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ (Skilled Labour) ได้อย่างเสรี การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทาง เศรษฐกิจของอาเซียน เช่น กำหนดกรอบนโยบายภาษี นโยบายการแข่งขัน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค เพราะประเทศสมาชิกอาเซียนจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสมาชิกเก่าซึ่งมีฐานทางเศรษฐกิจดีกว่ากลุ่มสมาชิกใหม่ (กลุ่ม CLMV) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจทั่วโลก ดำเนินการ เพื่อประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับ ประเทศนอกภูมิภาค เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรี การสร้างเครือข่ายการผลิตและการจำหน่าย ดังนั้น AEC จึงถูกตั้งขึ้นมาโดยมีจุดมุ่งหมายหลักเดียวกันคือ การนำกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามารวมตัวเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันทั้งหมด (Single Market and Single Pro duction Base) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการรวมตัวของกลุ่มประเทศในฝรั่งยุโรปหรือ EU โดยจะมีการเคลื่อนย้ายอยู่ภายในภูมิภาคอย่างเสรี ในสาขา ได้แก่ สินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานฝีมือ เป้าหมายของ AEC การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 นั้น จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายหลักก็คือ การสร้างเขตการผลิตรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือตลาดเดียวกัน (Single Market and Production Base) ซึ่งนำไปสู่การเคลื่อนย้ายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตต่างๆได้อย่างเสรี ผู้ประกอบการสามารถเลือกที่จะดำเนินกระบวนการผลิตที่ใดก็ได้ในภูมิภาค รวมไปถึงการใช้ทรัพยากรของแต่ละประเทศทั้งวัตถุดิบการผลิต และแรงงาน ที่จะเป็นส่วนหนึ่งให้เกิดการลดต้นทุนการผลิตสินค้าได้อย่างมาก นอกจากนี้สินค้าแต่ละประเภทที่ผลิตขึ้นภายใต้ AEC ยังจะมีมาตรฐานสินค้า และมีกฏระเบียบเดียวกัน ทำให้สามารถแข่งขันกับตลาดนอกภูมิภาคได้เป็นอย่างดี