กิจกรรมที่ 4 ข้อมูล จุดประสงค์ 1. บอกชนิดข้อมูลที่แบ่งตามรูปแบบการแทนข้อมูล 2. บอกชนิดข้อมูลที่แบ่งตามแหล่งที่มาของข้อมูล
แนวการตอบใบงานที่ 4.1 ชนิดของข้อมูล
เฉลยใบงานที่ 4.2 ข้อมูลปฐมภูมิและทุติภูมิ ข้อ 1
ข้อ 2
ข้อมูล ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงที่แสดงถึงลักษณะ สถานะหรือเหตุการณ์ ต่างๆ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้สื่อสาร แปลความหมาย หรือประมวลผลด้วยคนหรือคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างของข้อมูล เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ อีเมล สี สัญลักษณ์ รูปทรง อุณหภูมิ ตัว โน้ต หรือ เสียง
ชนิดของข้อมูล แบ่งตามแหล่งที่มาได้ดังนี้ ข้อมูลปฐมภูมิ หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือ บันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การ สัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วย เครื่องจักรอัตโนมัติต่างๆ ที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลได้ ข้อมูลทุติยภูมิ หมายถึง ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว บางครั้งอาจจะมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ ผู้ใช้ข้อมูลไม่ จำเป็นต้องไปสำรวจเอง
ชนิดของข้อมูล แบ่งตามรูปแบบการแทนข้อมูลได้ดังนี้ ชนิดของข้อมูล แบ่งตามรูปแบบการแทนข้อมูลได้ดังนี้ ข้อมูลชนิดจำนวน (numeric data) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถนำไป คำนวณได้ ข้อมูลชนิดนี้เขียนได้หลายรูปแบบ เช่น จำนวนเต็ม หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12 , 9 , 137, -46 ทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12.0 หรือ เป็นจำนวนที่มีทศนิยมก็ได้ เช่น 12.763 ข้อมูลชนิดอักขระ (character data) หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถนำไป คำนวณได้แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ ข้อมูลอาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลขหรือ เครื่องหมายใดๆ เช่น COMPUTER , ON-LINE , 171101 , &76