แพทย์ศาสตร์ สงเคราะห์
เป็นตำราแพทย์ของไทยโบราณ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รวบรวมขึ้นไว้ เพราะทรงเห็นว่าการแพทย์แผนโบราณและตำรายาพื้นบ้านของไทยเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่ามาก แต่ตำราบางเล่มได้สูญหายไป จึงโปรดให้คณะแพทย์หลวงสืบค้นและรวบรวมตำราแพทย์จากที่ต่างๆ และจัดพิมพ์ขึ้นได้เพียง ๓ เล่มก็ต้องเลิกไปเพราะมีอุปสรรคในเรื่องของต้นทุนการพิมพ์ ต่อมาพระยาพิศณุประสาทเวชได้จัดพิมพ์ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ใหม่ โดยพิมพ์เป็นตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวงขึ้น ๒ ฉบับ
ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวงซึ่งจัดพิมพ์เป็น ๒ เล่มนั้นได้แบ่งเป็นเรื่องต่างๆ ดังนี้ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เป็นบทที่รวมเนื้อหาสาระจากคัมภีร์อื่นๆไว้ คัมภีร์ปฐมจินดาร์ ว่าด้วยการตั้งครรภ์ และโรคของเด็ก คัมภีร์ธาตุวิภังค์ ว่าด้วยเรื่องของธาตุทั้ง ๔ นั่นคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และสมุนไพรที่ใช้รักษา คัมภีร์สรรพคุณ ว่าด้วยเรื่องสรรพคุณของสมุนไพรต่างๆ
คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย ว่าด้วยเรื่องของการวินิจฉัยโรคและการรักษาสุขภาพ คัมภีร์วรโยคสาร ว่าด้วยเรื่องของคุณลักษณะแพทย์ ลักษณะผู้ป่วย การรักษาโรค คัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้วยเรื่องของสตรีและสมุนไพรที่ใช้รักษา
๘. คัมภีร์ชวดาร ว่าด้วยโรคลมและเลือด รวมทั้งสมุนไพรที่ใช้รักษา ๙. คัมภีร์โรคนิทาน ว่าด้วยสาเหตุโรคและสมุนไพรที่ใช้รักษา ๑๐. คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ ว่าด้วยลักษณะธาตุพิการและสมุนไพรที่ใช้รักษา ๑๑. คัมภีร์ธาตุบรรจบ ว่าด้วยเรื่องอุจจาระที่เป็นสาเหตุของโรคและสมุนไพรที่ใช้รักษา ๑๒. คัมภีร์มุจฉาปักขันธิกา ว่าด้วยโรคของบุรุษและสตรี รวมทั้งสมุนไพรที่ใช้รักษา ๑๓. คัมภีร์ตักกะศิลา ว่าด้วยอาการของโรคระบาดชนิดต่างๆ ๑๔. คัมภีร์ไกษย ว่าด้วยโรคกษัยต่างๆ และสมุนไพรที่ใช้รักษา
คุณค่า ทางวรรณศิลป์
ใช้โวหารที่หลากหลาย โดยใช้โวหารดังนี้ อุปลักษณ์ เช่น ดวงจิตต์คือกษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร นามนัย เช่น เรียนรู้ให้จัดเจน จบจังหวัดคัมภีร์ไสย์ ตั้งต้นปฐมใน ฉันทศาสตร์ดังพรรณนา จากหน้า๑๐๗ บรรทัดที่ ๕ ถึง ๖
อวพจน์ ยกตัวอย่างเช่น บ้างกล่าวอุบายให้ แก่คนไข้นั้นหลายพัน หลังลาภจะเกิดพลัน ด้วยเชื่อถ้อยอาตมา จากหน้า๑๐๗ บรรทัดที่ ๑๕ ถึง ๑๖ บุคคลาธิษฐาน ตัวอย่างเช่น เมื่ออ่อนรักษาได้ แก่แล้วไซร้ยากนักหนา ไข้นั้นอุปมา เหมือนเพลิงป่าไหม้ลุกลาม จากหน้า๑๐๙ บรรทัดที่ ๑๗ ถึง ๑๘
สำหรับบทร้อยกรองในเรื่องแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์มีความงดงามในรูปแบบของตน เนื่องจากค่อนข้างเน้นไปในทางวิชาการ ตัวอย่างบทร้อยกรองที่มีความไพเราะโดดเด่น
ไม่รู้ในคัมภีร์เวช. ห่อนเห็นเหตุซึ่งโรคทำ แพทย์เอ๋ยอย่างมคลำ ไม่รู้ในคัมภีร์เวช ห่อนเห็นเหตุซึ่งโรคทำ แพทย์เอ๋ยอย่างมคลำ จักขุมืด บ เห็นหน จากบทกลอนนี้มีการใช้คำสัมผัสในแบบสัมผัสอักษรและยังมีการใช้คำซ้ำได้อย่างไพเราะ
แก่กายไม่แก่รู้ ประมาทผู้อุดมญาณ แม้เด็กเป็นเด็กชาญ ไม่ควรหมิ่นประมาทใจ กลอนบทนี้มีการใช้คำซ้ำและคำตรงข้ามกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อเนื่องและสอดคล้องกัน
คุณค่า ทางสังคม
ด้านวิชาการหรือด้านการแพทย์ ให้ความรู้ด้านเวชศาสตร์และสมุนไพรไทย คุณค่าทางด้านการแพทย์แผนโบราณ เน้นความเป็นวิทยาศาสตร์ ให้ความรู้ถึงคุณสมบัติของแพทย์ ทราบถึงความสำคัญของแพทย์ ทราบถึงคำเตือนสำหรับแพทย์บางประการ
๒. ให้คุณค่าทางด้านคุณธรรม ข้อบกพร่องของแพทย์ ด้านจรรยาบรรณแพทย์ ความผิดพลาดจากการรักษา
รูปแบบ ฉันทลักษณ์