บทที่ 2 มาตรฐานการเขียนแบบ (The Convention of Drawing) อาจารย์พยุงศิลป์ เปศรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2.1 ขนาดของกระดาษเขียนแบบ ( Drawing Sizes)
2.2 หัวกระดาษ ( Title Blocks)
2.3 เส้นต่าง ๆ ( Lines)
2.4 การเขียนตัวอักษร ( Lettering) การเขียนตัวอักษรในงานเขียนแบบ มีทั้งวิธีที่ใช้ในการเขียน ( Lettering Set)และแบบที่เขียนด้วยมือ (Free Hand Lettering) - แบบ Written (Single-Stroke Letters ) - แบบ Drawn (Built – Up Letters)
2.4 การเขียนตัวอักษร ( Lettering) แบบ Written (Single-Stroke Letters )หรือบางครั้งเรียก Single-stroke หมายถึงการเขียนอักษรด้วยปากกาหรือดินสอ โดยทั่วไปมีการเขียนเส้นอักษร (stem ) เพียงครั้งเดียวโดยไม่เขียนซ้ำ นั่นคือ ความหนาของเส้นอักษร (stem ) เท่ากับความหนาของเส้นปากกาหรือดินสอที่ใช้เขียน - แบบ Written นิยมใช้ในงานเขียนแบบทั่วไป ทั้งแบบตัวใหญ่ (Capital ) สำหรับหัวข้อหรือคำอธิบายที่มีความสำคัญ ต้องการเน้นให้ชัดเจน และแบบตัวเล็ก(Lower Case ) สำหรับการเขียนบรรยาย คำอธิบายละเอียดต่าง ๆ
2.4 การเขียนตัวอักษร ( Lettering) แบบ Written (Single-Stroke Letters )หรือบางครั้งเรียก Single-stroke
2.4 การเขียนตัวอักษร ( Lettering) - อักษรแบบ Written
2.4 การเขียนตัวอักษร ( Lettering) - แบบ Drawn (Built – Up Letters)หมายถึงการเขียนอักษรแบบประดิษฐ์หรือสร้างอักษรที่มีการขีดเส้น (Stroke ) หลาย ๆ ครั้งในการเขียนอักษรแต่ละตัว โดยทั่วไปจะสร้างรูปร่าง (Outline ) ก่อน แล้วจึงระบายรายละเอียดภายใน ใช้ในงานเขียนแบบเพื่อเน้นข้อความที่สำคัญให้เห็นชัดเจน เช่น ชื่อโครงการ ชื่อเรื่อง หมายเลขของ plate เป็นต้น
2.4 การเขียนตัวอักษร ( Lettering) - ในการเขียนอักษรทั้งแบบ Written และ Drawn สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกอย่างหนึ่งคือที่ว่าง (Space ) ที่จะเขียนว่ามากน้อยเพียงใด ซึ่งจะกำหนดรูปแบบหรือขนาดของตัวอักษรด้วย
2.5 ขั้นตอนการเขียนอักษร 2.5.1 เส้นบรรทัด ( Guide Lines ) เขียนเส้นเบา ๆ ใช้ดินสอคมไส้แข็ง (H- 2H ) เส้นบรรทัดจะกำหนดความสูงของตัวอักษร ช่องห่างระหว่างบรรทัดกว้างประมาณ 60% ของความกว้างบรรทัด การกำหนดบรรทัดอาจใช้ Divider ดังในรูปที่ 2.5
2.5 ขั้นตอนการเขียนอักษร 2.5.2 ลำดับการเขียนเส้นอักษร ( Order of Strokes ) หากเขียนด้วยดินสอควรใช้เกรด F หรือ HB ต้องมีความคมของดินสอสม่ำเสมอ การจับดินสอ การเคลื่อนที่ของมือและดินสอ ดั่งในรูปที่ 2.6
2.6 องค์ประกอบ ( Composition) หลังจากได้ทราบวิธีการและฝึกหัดการเขียนอักษรแบบต่าง ๆ ตามมาตรฐานได้จนเป็นที่พอใจแล้ว ในการนำไปใช้งานเขียนแบบ การเลือกขนาดอักษร ตลอดจนการจัดตำแหน่งอักษรเพื่อให้เกิดเป็นคำ เป็นประโยค หรือข้อความ ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เขียนแบบควรทราบและเข้าใจองค์ประกอบเหล่านี้ด้วย -ช่องว่างระหว่างอักษร (Spacing ) -ระยะห่างระหว่างคำ ( Word Spacing) -องค์ประกอบกลุ่มคำ ( Word Composition)
2.7 การกำหนดขนาด ( Specifying Sizes) ในงานเขียนแบบ สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้เขียนแบบต้องกำหนดให้ชัดเจน คือ รูปแบบ ขนาด และวัสดุ ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว ย่อมไม่สามารถกำสร้างชิ้นงานให้เป็นไปตามแบบนั้นๆ ได้ การกำหนดขนาดเป็นการบอกให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับขนาด ระยะทาง หรือตำแหน่งต่าง ๆ ของชิ้นงาน ทั้งนี้เพื่อการอ่านแบบ ตีความ ผลิต หรือก่อสร้าง ให้ถูกต้องตามที่รูปแบบกำหนด ทั้งยังเป็นข้อมูลในการวางแผนและประมาณการต่าง ๆ ได้ด้วย
2.7 การกำหนดขนาด ( Specifying Sizes) การกำหนดขนาด แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้ 2.7.1 การให้มาตราส่วน ( Scale)
2.7 การกำหนดขนาด ( Specifying Sizes) 2.7.2 การให้ขนาด (Dimensioning ) -เส้นบอกขนาด (Dimension Line ) -เส้นต่อ ( Extension Lines) -หัวลูกศร ( Arrow Head) -ตัวเลขบอกขนาด
2.7 การกำหนดขนาด ( Specifying Sizes) 2.7.3 การระบุขนาด ( Notes)
2.7 แบบฝึกหัดที่ 2 วัตถุประสงค์ 2.7 แบบฝึกหัดที่ 2 วัตถุประสงค์ – ฝึกหัดการเขียนอักษรด้วยมือ (Free Hand Lettering ) ,การจัดองค์ประกอบของคำและข้อความให้มีความชำนาญ - รู้หลักการเขียนหัวกระดาษ (Title Block )ที่ดี - ฝึกหัดการให้ขนาด (Dimensions & Notes ) ที่ถูกต้อง ตามหลักสากล
2.7 แบบฝึกหัดที่ 2 ปัญหา 1. ให้เขียนอักษร Freehand Lettering-Single Stroke ของอักษร A-Z และตัวเลข 0-9 แบบ Capital และ Lower Case ทั้งตัวตรงและตัวเอียง อย่างละ 2 เที่ยว (กำหนดขนาดเองตามเหมาะสม) 2. ให้คัดลอกบทความภาษาอังกฤษ โดย Free hand Lettering – Single Stroke ทั้งแบบตัวตรงและตัวเอียง อย่างละ 7 บรรทัด เป็นอย่างต่ำ พร้อมทั้งออกแบบ Title Block ที่เหมาะสม (กำหนดขนาดอักษรเอง) 3. จงเขียนแบบของชิ้นงานตามแบบที่กำหนดให้อย่างประณีตพร้อมทั้งให้ขนาดแบบต่อเนื่อง (Continuous Dimensioning ) ให้ครบถ้วยและถูกต้องตามหลักสากล (Dimensions in mm. )