งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเขียนแบบใช้งานเบื้องต้น(Working Drawing)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเขียนแบบใช้งานเบื้องต้น(Working Drawing)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเขียนแบบใช้งานเบื้องต้น(Working Drawing)
สัปดาห์ที่ 11

2 เนื้อหาในสัปดาห์ที่ 11 การจัดเตรียมงานเขียนแบบ
ชนิดของแบบใช้งานเบื้องต้น การเขียนแบบใช้งานเบื้องต้น

3 วัตถุประสงค์สัปดาห์ที่ 11
เข้าใจถึงรูปแบบของแบบใช้งาน เข้าใจถึงรายละเอียดต่างๆ ที่อยู่ในแบบใช้งาน เพื่อใช้ประกอบในการอ่านแบบ สามารถเขียนแบบใช้งานเบื้องต้นได้

4 งานเขียนแบบ งานเขียนแบบสามารถแบ่งประเภทได้ตามลักษณะงานที่ต้องใช้
แบบที่ใช้สำหรับนำเสนอแนวคิด แบบสำหรับกระบวนการผลิตหรือแบบใช้งาน

5 แบบที่ใช้สำหรับนำเสนอแนวคิด
แบบภาพสเก็ตซ์ทั้งแบบสองมิติและสามมิติ

6 แบบสำหรับกระบวนการผลิตหรือแบบใช้งาน
ประกอบด้วย แบบรายละเอียด (Detail Drawing) และ แบบภาพประกอบ (Assembly Drawing)

7 ชนิดของแบบประกอบ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน มีดังนี้
แบบภาพของการออกแบบภาพประกอบ (Design assemblies)

8 ชนิดของแบบประกอบ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน มีดังนี้
แบบภาพประกอบใช้งาน (Working drawing assemblies) เป็นการรวมแบบรายละเอียดและแบบประกอบไว้ในภาพเดียวกันใช้ได้ในกรณีที่มีชิ้นงานที่ใช้ในการประกอบน้อยและภาพประกอบไม่ซับซ้อน

9 ชนิดของแบบประกอบ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน มีดังนี้
แบบการติดตั้งการประกอบชิ้นงาน (Outline หรือ installation assemblies) แสดงถึงวิธีการติดตั้งหรือเมื่อติดตั้งแล้วชิ้นงานจะสามารถขยับได้อย่างไร ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นแบบเค้าโคลง (Outline drawing) ก็ได้

10 ชนิดของแบบประกอบ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน มีดังนี้
แบบตรวจสอบการประกอบชิ้นงาน (Check assemblies) เป็นการใช้แบบรายละเอียดของชิ้นส่วนต่างๆ มาสร้างเป็นภาพประกอบ (Check Assembly) หากขนาดและรูปร่างของชิ้นส่วนสามารถนำมาเขียนเป็นแบบภาพประกอบได้อย่างถูกต้อง

11 การเตรียมงานเขียนแบบ
เลือกขนาดกระดาษ ISO ANSI A4 201 x 297 A-Size 8.5” x 11” A3 297 x 412 B-Size 11” x 17” A2 420 x 524 C-Size 17” x 22” A1 594 x 841 D-Size 22” x 34” A0 841 x 1189 E-Size 34” x 44”

12 ขนาดของกระดาษเขียนแบบ
กระดาษชุด A ตามมาตรฐาน ISO กระดาษชุด A ตามมาตรฐาน ISO ขนาดของกระดาษเขียนแบบ กระดาษชุด A ตามมาตรฐาน ISO กระดาษตามมาตรฐาน ANSI

13 การเตรียมงานเขียนแบบ
ขนาดกระดาษที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือกระดาษขนาด 210 X 297 มม. หรือขนาด A4 ตามมาตรฐานสากล หากชิ้นงานมีรายละเอียดมาก จะใช้กระดาษขนาด A4 หรือใหญ่กว่า แสดงแบบรายละเอียดของแต่ละชิ้นส่วนลงในกระดาษโดยปกติแล้วจะแยกเป็น 1 ชิ้นงานต่อ 1 แผ่น แยกแบบประกอบไว้ต่างหากอีกหนึ่งแผ่น หากเป็นไปได้ควรใช้มาตรส่วน (Scale) เดียวกันในทุกชิ้นงานตามความเหมาะสม

14 การพับกระดาษเขียนแบบตามาตรฐาน

15 การพับกระดาษเขียนแบบตามาตรฐาน

16 การจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ในกระดาษเขียนแบบ
กรอบนอกของกระดาษเขียนแบบ

17 การจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ในกระดาษเขียนแบบ
กรอบนอกของกระดาษเขียนแบบ

18 การจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ในกระดาษเขียนแบบ
ตารางช่องรายละเอียด (Title Block) ชื่อชิ้นส่วนที่เขียน ชื่อหน่วยงานหรือชื่อและที่อยู่ของเจ้าของแบบ มาตรส่วน หมายเลขแบบ มุมมองมาตรฐาน 6. ลงชื่อผู้เขียน (Draft man) 7. ลงชื่อผู้ออกแบบ (Designer) 8. ลงชื่อผู้รับรองความถูกต้องของแบบตามมาตรฐาน 9. วัน-เดือน-ปี ที่เขียนแบบ 10.ค่าความคลาดเคลื่อนโดยทั่วไป (General Tolerance)

19 การเขียนแบบภาพประกอบ (Assembly Drawing)
แสดงภาพประกอบของชิ้นงานหรือเครื่องจักร ทำให้ทราบถึงตำแหน่งของชิ้นส่วนต่างๆ ในเครื่องจักร การแสดงภาพประกอบ ประกอบด้วย การเลือกมุมมอง (Views) มุมมองที่ต้องการคือ มุมมองที่สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของชิ้นงานแต่ละชิ้นได้อย่างสมบูรณ์ การตัดภาพประกอบ (Sections) การตัดภาพช่วยให้แสดงรายละเอียดที่ซ่อนภายใน

20 การเขียนแบบภาพประกอบ (Assembly Drawing)
การตัดภาพประกอบ (Sections) ชิ้นส่วนที่ไม่ต้องเขียน section line คือ ชิ้นส่วนที่มีความกลม เช่น เพลา, bolts, nuts, keys, screw, pins, ball หรือ roller bearing และ ฟันเกียร์ เป็นต้น

21 การเขียนแบบภาพประกอบ (Assembly Drawing)
การแสดงภาพประกอบ ประกอบด้วย (ต่อ) เส้นประ (Hidden lines) ในภาพประกอบมักจะไม่ลงเส้นประเพื่อป้องกันความสับสน แต่หากจำเป็นก็สามารถใส่เส้นประในบางที่ลงไปได้ การบอกขนาด (Dimensions) ตามกฎแล้วจะไม่มีการบอกขนาดในภาพประกอบ เนื่องจากขนาดต่างๆ ของชิ้นงานแสดงในแบบรายละเอียดหมดแล้ว วิธีการกำหนดชิ้นส่วนในภาพประกอบ (Identification) ส่วนใหญ่จะใช้หมายเลขเป็นตัวแทนของชิ้นส่วนแต่ละชิ้น

22 การเขียนแบบภาพประกอบ (Assembly Drawing)

23 ตัวอย่าง การเขียนแบบภาพประกอบ (Assembly Drawing)

24 ตัวอย่าง การเขียนแบบรายละเอียด

25 ตัวอย่าง การเขียนแบบประกอบ

26 ด้วยตนเองและทบทวนบทเรียนผ่าน e-learning
จบสัปดาห์ที่ 11 อย่าลืมทำการบ้าน ด้วยตนเองและทบทวนบทเรียนผ่าน e-learning


ดาวน์โหลด ppt การเขียนแบบใช้งานเบื้องต้น(Working Drawing)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google