โปรแกรมการคำนวณค่า sin รายชื่อผู้เสนอโครงงาน กัญญารัตน์ โพธิ์นอก ชั้น ม.3/4 เลขที่ 3 ชุติกาญจน์ เม็งไธสง ชั้น ม.3/4 เลขที่ 35 อภิญญา สังเกตุ ชั้น ม.3/4 เลขที่ 36 พิมพ์วรีย์ รัตนวรรณ ชั้น ม.3/4 เลขที่ 37 นภัสสร จันทร์สว่าง ชั้น ม.3/4 เลขที่ 38 ณัฐกฤตา ทองเหลื่อม ชั้น ม.3/4 เลขที่ 39
บทที่ 1 บทนำ วัตถุประสงค์ของโครงงาน ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมการคำนวณอัตราส่วนระหว่างความยาวของด้านตรงข้ามมุม ต่อความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา โดยทั่วไปแล้ว มีวิธีการที่ได้รับการยอมรับหลากหลายวิธีเพื่อคำนวณความยาวของด้านหรือขนาดของมุม ในขณะที่วิธีการเฉพาะอย่างสามารถใช้ได้ดีกับค่าต่างๆ ของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งวิธีอื่นอาจต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ซับซ้อนมากกว่า ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก อัตราส่วนตรีโกณมิติของไซน์ โคไซน์ และแทนเจนต์สามารถใช้คำนวณหามุมที่ไม่ทราบขนาด หรือความยาวของด้านที่ไม่ทราบได้ ด้านต่างๆ ของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ขอบเขตของโครงงาน โปรแกรมสามารถคำนวณอัตราส่วนระหว่างความยาวของด้านตรงข้ามมุม ต่อความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉากได้
นิยามศัพท์เฉพาะ โปรแกรมการคำนวณค่าไซน์ หมายถึง โปรแกรมที่มีการคิดคำนวณ โดยมีวิธีการคำนวณ อัตราส่วนระหว่างความยาวของด้านตรงข้ามมุม ต่อความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก ดังต่อไปนี้ ด้านตรงข้ามมุมฉาก คือด้านที่อยู่ตรงข้ามกับมุมฉาก หรือนิยามเป็นด้านที่ยาวที่สุดของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากก็ได้ ตามรูปคือด้าน h ด้านตรงข้ามมุม คือด้านที่อยู่ตรงข้ามกับมุมที่เราสนใจ ตามรูปคือ a ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ภาษาซี ในระบบงานอื่นๆ 2. อำนวยความสะดวกแก่ศึกษาในการคำนวณหาค่าไซน์
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน ขั้นตอนวิธีดำเนินงาน 1. เสนอหัวข้อโครงงาน 2. ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการคำนวณหาค่าไซน์ 3. ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี และโปรแกรม Dev-C++ ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม 4. วิเคราะห์ ออกแบบและเขียนโปรแกรมการคำนวณค่าไซน์ 5. ทดลองใช้งานและทำการปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน 6. จัดทำคู่มือเอกสารการใช้งานระบบ
การวิเคราะห์ระบบและพัฒนาโปรแกรม บทที่ 4 การวิเคราะห์ระบบและพัฒนาโปรแกรม การวิเคราะห์ระบบ 1. วัตถุประสงค์ของงาน คำนวณค่าไซน์
2. ออกแบบผลลัพธ์ ( Output ) ภาพที่ 2 การออกแบบผลลัพธ์โปรแกรมคำนวณค่าไซน์ โปรแกรมคำนวณค่าไซน์ *********************************************** ความยาวของด้านตรงข้ามมุม : ………………………. ความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก : …………………… ไซน์ของมุม : …………………… ***************************************
3. ข้อมูลนำเข้า ( Input ) ได้แก่ ความยาวของด้านตรงข้ามมุม , ความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก และไซน์ของมุม 4. ชื่อตัวแปรที่ใช้ Opposite เก็บข้อมูล ความยาวของด้านตรงข้ามมุม Hypotenuse เก็บข้อมูล ความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก Sin เก็บข้อมูล ไซน์ของมุม
5. ขั้นตอน/ลำดับงาน เริ่ม รับค่าความยาวของด้านตรงข้ามมุม (opposite) รับค่าความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก (hypotenuse) คำนวณด่าไซน์ (sin = opposite/ hypotenuse) แสดงค่าไซน์ (sin) จบ
sin = opposite/ hypotenuse เริ่มต้น opposite hypotenuse sin = opposite/ hypotenuse sin จบ 6. ผังงาน ภาพที่ 3 ผังงานโปรแกรมคำนวณค่าไซน์
ภาพที่ 6 การเขียนโค้ดโปรแกรม การเขียนโปรแกรม ภาพที่ 6 การเขียนโค้ดโปรแกรม #include<stdio.h> #include<conio.h> main() { int opposite,hypotenuse; printf("\n\t\tProgram to calculate the sin\n"); printf("\n\t*****************************************\n\n"); printf("Enter your opposite: "); scanf("%d",&opposite); printf("Enter your hypotenuse: "); scanf("%d",&hypotenuse); printf("Your Sin is :%d",opposite/hypotenuse); getch(); }
การทดสอบระบบ ภาพที่ 7 เมื่อรันโปรแกรมคำนวณค่าไซน์ โปรแกรมจะรอให้ใส่ค่าความยาวของด้านตรงข้ามมุม
ภาพที่ 8 เมื่อใส่ความยาวของด้านตรงข้ามมุม แล้วกด Enter โปรแกรมจะรอให้ใส่ ค่าความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก
ภาพที่ 9 เมื่อใส่ค่าความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก แล้วกด Enter โปรแกรมจะคำนวณและแสดงค่าไซน์ และจบโปรแกรม
บทที่ 5 บทสรุป สรุปผลการดำเนินงาน โปรแกรมการคำนวณค่าไซน์ ทำงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ โปรแกรมสามารถคำนวณค่าไซน์ได้อย่างถูกต้อง ข้อจำกัดของโปรแกรม โปรแกรมรองรับการคำนวณค่าไซน์เฉพาะการคำนวณอัตราส่วนระหว่างความยาวของด้านตรงข้ามมุม ต่อความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่านั้น
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาโปรแกรมครั้งต่อไป นำผลการวิเคราะห์การออกแบบมาเป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเพิ่มเมนูสำหรับผู้ใช้เลือกคำนวณค่าไซน์ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ที่สุด