งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ฟังก์ชั่นในภาษาซี.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ฟังก์ชั่นในภาษาซี."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ฟังก์ชั่นในภาษาซี

2 คำสั่งที่อยู่ใน header file ที่ชื่อ _stdio.h
ฟังก์ชั่นที่เก็บไว้ใน I/O library ได้แก่ฟังก์ชั่น getchar(),getch(),putchar(),gets(),puts() เป็นต้น ซึ่งคำสั่งเหล่านี้เมื่อจะใช้ต้องบอกให้ตัวแปลชุดคำสั่งภาษาซีทราบก่อนโดยใช้คำสั่ง #include <stdio.h> โดยเอาไว้ในส่วนหัวของโปรแกรม

3 คำสั่งที่อยู่ใน header file ที่ชื่อ _stdio.h
ฟังก์ชั่น printf() เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้ในการแสดงผลของข้อมูล,ตัวแปร,ค่าคงที่ ออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ รูปแบบ printf (สายอักขระ) ; printf (“รูปแบบ”,อากิวเมนต์1,อากิวเมนต์2,.. ) ; เช่น printf ("One = 1 two = 2") ; printf ("One = %d two = %d", 1, 2) ;

4 คำสั่งที่อยู่ใน header file ที่ชื่อ _stdio.h
ฟังก์ชั่น scanf() เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้ในการรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ เข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร รูปแบบ scanf ( “รูปแบบ” , อาร์กิวเมนต์1, อากิวเมนต์2,..) ; scanf (“%d0/%d/%d”, &day, &month, &year); ข้อมูลที่จะป้อนเข้าสู่ระบบ 20/7/2001

5 คำสั่งที่อยู่ใน header file ที่ชื่อ _stdio.h
ฟังก์ชั่น getchar() เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้รับข้อมูลเข้ามาแป้นพิมพ์ทีละ 1 ตัวอักษร โดยเมื่อป้อนข้อมูลเสร็จแล้วต้องกด ENTER ทุกครั้งเมื่อสิ้นสุดข้อมูล และข้อมูลที่ป้อนจะปรากฎให้เห็นบนหน้าจอภาพด้วย รูปแบบ getchar()

6 คำสั่งที่อยู่ใน header file ที่ชื่อ _stdio.h
ฟังก์ชั่น getch() เป็นฟังก์ชั่นที่มีการทำงานเหมือนกับคำสั่ง getchar() แต่เมื่อกดแล้วไม่ต้องกดปุ่ม ENTER และจะไม่มีการแสดงตัวอักษรที่กดให้เราเห็น รูปแบบ getch()

7 คำสั่งที่อยู่ใน header file ที่ชื่อ _stdio.h
ฟังก์ชั่น putchar() เป็นฟังก์ชั่นที่แสดงผลบนจอภาพทีละ 1 ตัวอักษร รูปแบบ putchar(var) โดย var คือค่าที่ต้องการแสดงซึ่งต้องมีขนาด 1 ตัวอักษร

8 คำสั่งที่อยู่ใน header file ที่ชื่อ _stdio.h
ฟังก์ชั่น gets() เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้รับข้อมูลที่เป็นข้อความจากแป้นพิมพ์เข้ามาเก็บไว้ในตัวแปรชุด รูปแบบ gets(n) โดย n เป็นชื่อตัวแปรชุดที่ต้องการรับค่าที่เป็นข้อความเข้ามาเก็บไว้ โดยตัวสุดท้ายจะเก็บ \0 เอาไว้ เพื่อบอกถึงการสิ้นสุดข้อความเมื่อเรากด ENTER

9 คำสั่งที่อยู่ใน header file ที่ชื่อ _stdio.h
ฟังก์ชั่น puts(n); เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้ในการแสดงข้อมูลที่เป็นข้อความออกทางจอภาพ รูปแบบ puts(n) โดย n เป็นชื่อตัวแปรชุดที่ต้องการแสดง โดยในการรับข้อมูลที่เป็นตัวแปรชุดนั้น ถ้าเราใช้คำสั่ง scanf() นั้นถ้าเราต้องการเว้นวรรค ในตัวแปรชุดนั้นจะทำไม่ได้เครื่องจะถือว่าเป็นตัวแปรคนละตัวกัน เช่น ต้องการเก็บ ชื่อและนามสกุลไว้ในตัวแปรที่ชื่อว่า name เราจะเว้นวรรคระหว่าง ชื่อและนามสกุลไม่ได้ เครื่องจะถือว่าเป็นคนละตัวแปร แต่ในการใช้ฟังก์ชั่น gets() นั้นเราสามารถ เว้นวรรคได้ โดยเครื่องยังถือว่าเป็นตัวแปรชนิดเดียวกัน เครื่องจะรู้ว่าสิ้นสุดข้อความที่ผู้ใช้ป้อนก็ต่อเมื่อผู้ใช้กดปุ่ม ENTER เท่านั้น

10 คำสั่งที่อยู่ใน header file ที่ชื่อ conio.h
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการล้างหน้าจอแล้วให้เคอร์เซอร์ไปอยู่มุมบนซ้ายของ จอภาพ รูปแบบ clrscr();

11 คำสั่งที่อยู่ใน header file ที่ชื่อ conio.h
คำสั่ง gotoxy() เป็นคำสั่งที่สั่งให้เคอร์เซอร์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ รูปแบบ gotoxy(x,y); โดย x เป็นตำแหน่งในแนวนอนหรือเป็นคอลัมน์ที่ต้องการ ส่วน y เป็นตำแหน่งในแนวตั้งหรือตำแหน่งแถวที่ต้องการ

12 คำสั่งที่อยู่ใน header file ที่ชื่อ conio.h
คำสั่ง clreol() เป็นคำสั่งในการลบข้อความในบรรทัดที่เคอร์เซอร์อยู่ โดยเริ่มลบจากตำแหน่งตัวชี้อยู่ไปจนจบบรรทัดนั้น รูปแบบ clreol();

13 คำสั่งที่อยู่ใน header file ที่ชื่อ conio.h
คำสั่ง delline() เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบข้อความในบรรทัดที่เคอร์เซอร์อยู่และจะเลื่อนบรรทัดที่อยู่ข้างล่างขึ้นมาแทนที่ รูปแบบ delline();

14 คำสั่งที่อยู่ใน header file ที่ชื่อ conio.h
คำสั่ง textcolor() เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตั้งค่าหรือสีของตัวอักษรที่เราต้องการแสดง รูปแบบ textcolor(a); โดย a เป็นชนิดของสีที่ต้องการแสดง

15 คำสั่ง textbackground()
คำสั่งที่อยู่ใน header file ที่ชื่อ conio.h คำสั่ง textbackground() เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตั้งค่าหรือสีของพื้นที่เราต้องการแสดง รูปแบบ textbackground(a); โดย a เป็นชนิดของสีที่ต้องการแสดง

16 คำสั่งที่อยู่ใน header file ที่ชื่อ conio.h
คำสั่ง cprintf() เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงผลเหมือนกับคำสั่ง printf() เพียงแต่ไม่แสดงบนจอภาพแต่จะแสดงในหน้าต่างแทน ซึ่งจะมีรูปแบบเหมือนกับคำสั่ง printf()


ดาวน์โหลด ppt ฟังก์ชั่นในภาษาซี.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google