บทที่ 7 การใช้ตัวอักษร สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษร ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ส่วนประกอบของตัวอักษร ในแต่ละตัวอักษรจะมีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้ Ascender : ส่วนบนของตัวอักษรพิมพ์เล็ก ที่สูงกว่าความสูง X - Height ของตัวอักษร Descender : ส่วนล่างของตัวอักษรพิมพ์เล็ก ที่ต่ำกว่าเส้น Baseline Baseline : เส้นสมมติที่ตัวอักษรส่วนใหญ่ตั้งอยู่ Cap Height : ความสูงจากเส้น Baseline ไปถึงส่วนบนสุดของตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ X - Height : ความสูงของตัวอักษร x ในแบบพิมพ์เล็ก ซึ่งมักจะใช้อ้างถึงความสูงของตัวอักษรที่ไม่รวมส่วนบน และส่วนล่าง Point Size : ระยะความสูงทั้งหมดวัดจากส่วนบนสุดถึงส่วนล่างสุดของตัวอักษร
ระบบการวัดขนาดของตัวอักษร ความสูงของตัวอักษร (Body Height) ตัวอักษรมีการวัดขนาดเป็น พอยท์ (Point) ซึ่ง 1 พอยท์มีขนาดเท่ากับ 1/72 นิ้ว และ 12 พอยท์ เท่ากับ 1 ไพก้า (Pica) และ 6 ไพก้า เท่ากับ 1 นิ้ว สำหรับตัวอักษรบางชนิดที่มีส่วนบน และส่วนล่างยาวกว่าปกติ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับตัวอักษรชนิดอื่นที่ปกติจะทำให้มีขนาดเล็กกว่า ความกว้างของตัวอักษร ความกว้างของตัวอักษรในปัจจุบันสามารถกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ ของความกว้างปกติ เช่น ตัวอักษรกว้าง 40% ของขนาดปกติ ความสูง X - Height ความสูง X - Height มีผลต่อความยากง่ายในการอ่าน เนื่องจากที่ขนาดตัวอักษรเล็กมาก ตัวที่มีค่า X - Height มากกว่าจะสามารถอ่านได้ง่ายกว่า
รูปแบบตัวอักษร 1. ตัวอักษรที่มีขนาดสัมพันธ์กับรูปร่าง (Proportional Font) ตัวอักษรที่มีขนาดสัมพันธ์กับรูปร่าง หรือเรียกว่า ตัวอักษรที่มีขนาดไม่คงที่ หมายถึง ตัวอักษรที่มีพื้นที่ในแนวนอนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับขนาดรูปร่างของตัวอักษร เช่น ตัวอักษร w จะมีความกว้างมากกว่าตัวอักษร i เว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์ ส่วนใหญ่จะใช้ตัวอักษรที่มีขนาดสัมพันธ์กับรูปร่าง เพื่อให้อ่านง่ายและดูเหมาะสม 2. ตัวอักษรที่มีขนาดคงที่ (Fixed - Width Font) ตัวอักษรที่มีขนาดคงที่ หรือเรียกว่า Constant – Width, Fixed - Pitch หรือ Monospace Fonts จะมีพื้นที่ในแนวนอนเท่ากันหมด ซึ่งเป็นตัวอักษรที่เรียบง่ายและมีลักษณะคล้ายตัวพิมพ์ดีด
ความสะดวกในการอ่าน (Legibility) 1. ควรใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ในการขึ้นต้นประโยค เพื่อคงส่วนที่เป็นตัวอักษรพิมพ์เล็กให้มากที่สุด 2. หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เพราะจะทำให้อ่านยาก และเป็นการลดส่วนที่จะสะดุดตาลง ถ้าจำเป็นต้องใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ควรใช้ให้น้อย คือ ใช้กับคำเพียง ไม่กี่คำ 3. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด เพราะจะทำให้ดูไม่เป็นทางการและแสดงความไม่สมบูรณ์ของเนื้อหา การใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดไม่เหมาะสมกับเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับธุรกิจ 4. ไม่ควรทำการแบ่งครึ่งตัวอักษร ไม่ว่าในแนวนอนหรือแนวตั้ง เพราะจะทำให้ภาพรวมของตัวอักษรขาดไป และทำให้ยากต่อการอ่านมากขึ้น
จัดข้อความในหน้าเว็บ การจัดตำแหน่ง ช่องว่างระหว่างตัวอักษรและช่องว่างระหว่างคำ ระยะห่างระหว่างบรรทัด (Leading) ความยาวของบรรทัด ความยาวของหน้าเว็บ ขนาดของตัวอักษร ใช้ตัวอักษรหลายขนาดเพื่อสร้างความสำคัญของข้อมูล ดึงดูดความสนใจด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ การใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่เริ่มต้นประโยค ใช้ตัวอักษรขนาดเล็กเพื่อเพิ่มความต่อเนื่องของเนื้อหา การเน้นข้อความให้เด่นชัด การใช้ขนาดและน้ำหนักของตัวอักษร การทำตัวเอียง การขีดเส้นใต้ ตำแหน่งของตัวอักษร แนวทางของตัวอักษร พื้นที่ว่าง
การสร้างความสมดุลในหน้าเว็บ จัดเรียงรายการลิงค์ตามแนวนอน สร้างความสมดุลของตัวอักษรขนาดใหญ่และขนาดเล็ก จัดกลุ่มข้อความเป็นสัดส่วนเหลื่อมล้ำกัน จัดโครงสร้างพื้นที่ของตัวอักษรอย่างไม่เท่ากัน จัดแนวตัวอักษรในกลุ่มเดียวกัน
การใช้สีกับตัวอักษร กำหนดสีหลักสำหรับเว็บ ใช้สีของตัวอักษรอย่างมีความหมายและสม่ำเสมอ ใช้สีที่แตกต่างกันในแต่ละส่วน กำหนดสีของลิงค์ให้เหมาะสม สีกับการพิมพ์สำหรับเว็บเพจ