ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา Personal Income Tax
ความหมายของภาษีเงินได้ เงินได้ (Income) ตามความหมายคือ มูลค่าของเงินที่ได้ เพิ่มขึ้นของบุคคลที่ทำให้อำนาจซื้อเพิ่มขึ้น ความหมายของรายได้จะแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ทำให้ นิยามของรายได้แตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมแล้วสามารถ กล่าวได้ว่า รายได้ (Income) คือ มูลค่าเงินที่แสดงความสามารถในการบริโภคของบุคคล หรือ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่า (store of value) ของความมั่งคั่ง ปัญหาใหญ่คือการวัดระดับรายได้จะประกอบด้วยอะไร เงิน สินทรัพย์ รายได้จากกำไรจากการค้าขาย ฯลฯ
ความหมายของภาษีเงินได้ ความครอบคลุมของนิยามรายได้ เงินได้จากการขายแรงงาน รายได้ค่าเช่า หรือการลงทุนอื่นๆ บำเหน็จ บำนาญ Capital Gains Realized vs. Unrealized Income in Kind
ภาษีจาก Capital Gains เป็นการเพิ่มของมูลค่าทรัพย์สิน โดยผู้เป็นเจ้าของอาจไม่ได้ทำ อะไรเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า เช่น การซื้อ-ขายหุ้น การเก้งราคา ที่ดิน ฯลฯ การคิดภาษีจาก capital gains จะสามารถทำได้เฉพาะใน การที่มีการซื้อ-ขาย หรือการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น หากไม่มีการ สำแดงมูลค่าผ่านการซื้อขาย อาจไม่สามารถเก็บภาษีได้ แต่ ภาระภาษีที่จะเกิดขึ้นถูกผลักออกไปในอนาคตจนกว่าจะมีการ แลกเปลี่ยนเกิดขึ้น
ภาษีจาก Capital Gains การผลักภาระไปในอนาคตอาจไม่มีความหมายอะไร แต่ผล ต่อเนื่องของการผลักภาระดังกล่าวอาจมีมากขึ้น เพราะการ สะสมมูลค่าของทรัพย์สินที่เพิ่มมากขึ้นนั้น จะถูกดำเนินการเก็บ ภาษีอย่างไร
ภาษีจาก Capital Gains ตัวอย่าง นาย ก. ซื้อทรัพย์สินมาในมูลค่า 100,000 บาท โดยมีการเพิ่มขึ้น ของมูลค่าร้อยละ 12 ต่อปี ดังนั้นทรัพย์สินนี้จะมีมูลค่า ปีที่ 1 เป็น 100,000 x (1+0.12) = 112,000 บาท ปีที่ 2 เป็น 100000 x (1+0.12)2 = 125,440 บาท ..... ปีที่ 20 เป็น 100000 x (1+0.12)20 = 964,629 บาท หากขายทรัพย์สินนี้ในปีที่ 20 ได้ส่วนเพิ่มเท่ากับ 964,629 – 100ม000 = 864,629 บาท หากอัตราภาษีเท่ากับร้อยละ 15 ทำให้ภาระภาษีเท่ากับ 864629 x (0.15) = 129,694 บาท โดยมี net gain = 864,629 – 129,694 = 734,935 บาท (หลังถือครองทรัพย์สินเป็นเวลา 20 ปี)
ภาษีจาก Capital Gains หากแทนที่จะเก็บภาษีในปีที่ 20 แต่เก็บสะสมทุกๆ ปี ในอัตราเท่ากัน ปีที่ 1 100,000 x (1+ 0.102) = 110,200 0.102 มาจากภาษีร้อยละ 15 ของมูลค่าเพิ่ม (capital gain) ที่เพิ่มร้อยละ 12 ทำให้มูลค่าแทนจริงคือ ร้อยละ10.2 โดยเรียกเก็บร้อยละ 15 จาก capital gain ที่เพิ่มร้อยละ 12 ในแต่ละปี ดังนั้น ในหนึ่งปีมีมูลค่าเพิ่มท่ากับ 0.12 x 100,000 = 120,000 บาท และเสีย ภาษีร้อยละ 15 จึงได้ 120,000 x 0.15 = 1,800 บาท ปีที่ 2 100,000 x (1+0.102)2 = 121,440 … ปีที่ 20 100000 x (1+0.102)20 = 697,641 capital gain ทั้งหมด เท่ากับ 697,641 – 100ม000 = 597,641
ภาษีจาก Capital Gains เปรียบเทียบระหว่างวิธีการสองกรณี เก็บภาษีเมื่อครบ 20 ปี ได้ภาษีเท่ากับ 734,935 เก็บสะสมทุกๆ ปี ได้ภาษีเท่ากับ 597,641 การปล่อยให้มีการสะสมมูลค่าเพิ่มจะให้ภาษีที่มากกว่าการเก็บทุกๆ ปี เพราะการปล่อยให้มีการสะสมมูลค่าเพิ่มเหมือนเป็นการที่รัฐบาล ให้เอกชนได้มีโอกาสสะสมความมั่งคั่งจากการไม่เก็บภาษี ผลคือทำให้เอกชนต้องคิดคำนึงถึงการแลกเปลี่ยนทรัพย์สิน เป็นการ เปิดโอกาสให้ถูกเก็บภาษีจากรัฐบาล การสะสมมูลค่าจึงถูก lock- in เพราะหากขายหรือแลกเปลี่ยนจะถูกเก็บภาษี เอกชนจึงอาจเลือก ที่จะถือครองทรัพย์สินนั้นต่อไป
การลดหย่อน (Deduction) VS. การยกเว้น (exemption) การลดหย่อน คือการขนาดของฐานภาษีให้เล็กลง โดยอาจเลือก การลดหย่อนกับกิจกรรมใดๆ ที่รัฐบาลสนับสนุนให้มีการ ลดหย่อน ผลที่เกิดจากการลดหย่อนตามกิจกรรมนี้ ทำให้ราคา เปรียบเทียบของการบริโภคสินค้าที่ได้รับการลดหย่อนลดลง เช่น การลดหย่อนการซื้อประกันชีวิต การซื้อบ้าน การซื้อกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น การยกเว้น คือการไม่จัดเก็บภาษีกับกิจกรรมหรือฐานรายได้
ภาษีการใช้จ่าย Tax expenditures เป็นกรณีที่รัฐบาลแทนที่จะเก็บภาษจากกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ทำให้ต้องสูญเสียรายได้ภาษีนั้นไปเปล่าๆ เรียกภาษีที่ไม่ได้จัดเก็บนั้นว่า ภาษีการใช้จ่าย เพราะการไม่เก็บ ภาษีเปรียบเสมือนเป็นการอุดหนุนกิจกรรมที่ไม่เก็บภาษี ทางอ้อม เช่นการไม่เก็บภาษีกับโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันกวด วิชาต่างๆ
ภาษีกับเงินเฟ้อ (Taxes and Inflation) เงินเฟ้อมีผลต่อการเก็บภาษี คือ เงินเฟ้อทำให้ฐานรายได้บุคคล ธรรมดาเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่ถูกเก็บภาษีสูงขึ้น ทั้งๆ ที่รายได้แท้จริง อาจไม่เปลี่ยนแปลง ผลเงินเฟ้ออีกด้านหนึ่ง คือทำให้มูลค่าการลดหย่อนภาษีที่มีกับ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคลมีค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่นการผ่อน บ้านที่ยึดติดกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด การมีเงินเฟ้อทำให้ต้นทุน การผ่อนบ้านสูงขึ้น การลดหย่อนจึงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
โครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย ชั้นเงินได้สุทธิ อัตราภาษี 0-150,000 ยกเว้น 150,001-500,000 10% 500,001-1,000,000 20% 1,000,001-4,000,000 30% 4,000,001 ขึ้นไป 37%