(Classroom Action Research) การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research)
การวิจัย (Research) คืออะไร การวิจัยคือการแสวงหาความรู้ใหม่ หรือค้นหาวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการที่เป็นระบบ แบบแผน เป็นการประยุกต์ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ คำตอบที่ได้จากกระบวนการต่าง ๆ ดังกล่าว จะเป็นคำตอบที่น่าเชื่อถือและมีคุณค่าต่อการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้
การวิจัยในชั้นเรียนคืออะไร การพัฒนาการเรียนการสอนของผู้ทำวิจัยเองเน้นการการพัฒนางานของตนเองไม่ได้เน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ “ Action research is about improving practice rather than producing knowledge” (Elliott,1991)
การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยที่ไม่ได้มุ่งที่จะขยายผลไปสู่ประชากรอื่น ๆ แต่มุ่งในแง่ของการใช้ประโยชน์ในการนำความรู้ที่มีอยู่มาทดลอง ทดสอบ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนางานในการเรียนการสอน ผู้วิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้องจะมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการต่าง ๆ รวมทั้งการวิเคราะห์วิจารณ์การปฏิบัติการนั้น ๆ
การวิจัยในชั้นเรียน ควรมีลักษณะ เป็นการวิจัยจากปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน ทำการวิจัยเพื่อนำผลการวิจัยไปพัฒนาการเรียนการสอน ทำการวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอน คือ สอนไปวิจัยไป แล้วนำผลการวิจัยไปแก้ปัญหาในชั้นเรียน และทำการเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น
ลักษณะการทำวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยโดยครูผู้สอนในห้องเรียนดำเนินการกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาที่ครูรับผิดชอบ ขอบเขตให้ความสำคัญกับการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม นวัตกรรมมี ๒ ประเภท สื่อการเรียนการสอนที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ (Invention) กิจกรรมการพัฒนา หรือเทคนิควิธีสอน (Instruction)
ลักษณะการวิจัยในชั้นเรียน 1. ทำการวิจัยซ้ำกับงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว 2. ปรับเงื่อนไขของงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว 3. ขยายขอบเขตของงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว 4. กำหนดเป้าหมายใหม่ของการวิจัย
การวิจัยในชั้นเรียน เป้าหมาย - เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของครู ลักษณะ – เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) คือทำการวิจัยควบคู่ ไปกับการปฏิบัติงานจริง ประชากรเป้าหมาย - กลุ่มนักเรียนที่ครูสนใจ ข้อค้นพบ - มีลักษณะเฉพาะและอาจใช้ได้ในกลุ่มเท่านั้น
พุทธิพิสัย - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปัญหาการเรียนการสอน พุทธิพิสัย - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จิตพิสัย - พฤติกรรม ทักษะพิสัย - ความชำนาญ รวดเร็ว
ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตัวอย่าง ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน - นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์เรื่อง “แรง” ในวิชาวิทยาศาสตร์ต่ำ - นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา…………... ต่ำ
ปัญหาด้านพฤติกรรม ตัวอย่าง - นักเรียนชอบทะเลาะวิวาท - นักเรียนแต่งกายผิดระเบียบในระหว่างเรียนวิชา……..เป็นประจำ - นักเรียนไม่ตั้งใจเรียนวิชา…...
ปัญหาด้านทักษะพิสัย ตัวอย่าง - นักเรียนชั้น………ขาดทักษะ ในการกลึงข้อต่อสามทาง - นักเรียนขาดทักษะในการเดาะบอลในวิชาวอลเล่ย์บอล
วงจรการทำงานการวิจัยในชั้นเรียน ของ Kemmis วางแผน (Plan) สะท้อนกลับ (Reflecting) ลงมือปฏิบัติ (Act) สังเกต (Observe)
ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน นักเรียน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน จนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจนเป็นที่น่าพอใจ ครู มีการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบ เลือกวิธีสอนที่เหมาะสม ประเมินผลเป็นระยะ หาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม สถานศึกษา ความสัมพันธ์อันดีของคณะครูในสถานศึกษา ช่วยบริหารงานทางวิชาการให้เป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ยกระดับมาตรฐานวิชาการสถานศึกษาให้สูงขึ้น
ใครเป็นผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน?
การทำวิจัยในชั้นเรียนต่างจากการวิจัยโดยทั่วๆไปอย่างไร
การตั้งปัญหาวิจัย ไม่ควรเสียเวลาคิดกับปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบงานทั้งหมดของโรงเรียน เป็นต้น - ควรเลือกเรื่องที่มีขนาดเล็ก ทั้งนี้เพราะว่าสามารถดำเนินการได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งจะทำให้มีกำลังใจในการทำวิจัยในครั้งต่อไปและสามารถประมาณระยะเวลาในการทำวิจัยในชั้นเรียนได้
การตั้งปัญหาวิจัย - ควรเลือกเรื่องที่มีประโยชน์แก่นักเรียน นักศึกษา ตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้องในงานของโรงเรียน เป็นงานที่ต้องการจะทำจริงๆ มิฉะนั้นเมื่อพบกับปัญหาเข้าจริงๆแล้วจะทำให้แรงจูงใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้ทำวิจัยหมดไปด้วย
ก่อนตั้งโจทย์ปัญหาวิจัยต้องเข้าใจและรู้จักนักเรียนก่อน ศึกษาภูมิหลังทางครอบครัว บุคลิกภาพ สุขภาพ ความสนใจของนักเรียน ความถนัด ลักษณะนิสัย นิสัยทางการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิธีเรียนที่นักเรียนชอบ ฯลฯ
ลักษณะของโจทย์ปัญหาวิจัยที่ดี สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น จำเป็น ชัดเจนดี มีคุณค่า เป็นปัจจุบัน อยู่ในวิสัยจะทำได้สำเร็จ
หลักการตั้งโจทย์วิจัย อย่าตั้งโจทย์วิจัยที่เน้นแต่สภาพปัญหา อย่าตั้งโจทย์วิจัยเพื่อตรวจสอบว่าปัญหานั้นเป็นจริงหรือไม่ ตั้งโจทย์วิจัยที่มีความลึกซึ้งมากเกินไป โจทย์วิจัยมีความเฉพาะเจาะจง
เทคนิคการกำหนดโจทย์วิจัย หมั่นสังเกตปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียน นักศึกษา การทำงานของตนเอง ฝึกตั้งข้อสงสัย ตั้งคำถามตนเอง สืบค้นว่ามีใครศึกษาในประเด็นวิจัยนั้นหรือไม่ และได้ข้อค้นพบอะไร กำหนดโจทย์วิจัย และตรวจสอบกับเพื่อน
การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยในชั้นเรียน - ชัดเจน - หัวข้อสะท้อนว่าเป็นการวิจัยปฏิบัติการ (การวิจัย การพัฒนา การสร้าง) - ระบุนวัตกรรมที่พัฒนา (เช่น วิธีการที่ใช้ แนวคิด ลักษณะของสิ่งประดิษฐ์)
การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยในชั้นเรียน - ระบุขอบเขตที่ทำวิจัย (กลุ่มตัวอย่าง ระดับชั้น สถานที่) - ระบุตัวแปรผล (ตัวแปรตาม) ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน - หัวข้อเรื่องวิจัยในชั้นเรียนไม่ควรเป็นเรื่องที่เป็นการวิจัยเชิงสำรวจสภาพปัญหาเนื่องจากไม่ใช่การวิจัยปฏิบัติการ
จุดประสงค์การวิจัย ให้เขียนโดยระบุคำกริยาที่แสดงจุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ ไม่ควรเขียนสิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ควรระบุสิ่งที่เป็นนวัตกรรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และการประเมินความสำเร็จ ตัวอย่าง เพื่อพัฒนาสื่อ ....... เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่อง ......... เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากสื่อ .................
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง ตัวแปร ประชากร กลุ่มตัวอย่าง ตัวแปร
กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างคือใคร ขนาดเท่าใด เป็นกลุ่ม หรือกรณีศึกษา เรียนอยู่ในชั้นใด นักเรียนมีปัญหาอะไร รู้ได้อย่างไร ข้อมูลมาจากไหน สภาพก่อนการทดลองเป็นอย่างไร รู้ได้อย่างไร ใช้วิธีการวัดแบบใด มีการเตรียมนักเรียนก่อน ระหว่างการทดลองใช้นวัตกรรมอะไรบ้าง
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
การพัฒนานวัตกรรม ระบุแนวคิดสำคัญที่ใช้ในการออกแบบนวัตกรรม อธิบายเหตุผลสนับสนุน ถ้ามี ที่ทำให้ท่านมีความคิดที่จะออกแบบนวัตกรรมแบบนั้น
การพัฒนานวัตกรรม อธิบายว่านวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะอย่างไร ทำเพื่อพัฒนาอะไร กับใคร ทำอย่างไร ต้องใช้เวลานานเท่าใดในการใช้นวัตกรรมนั้น ผู้เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นอย่างไรต่อนวัตกรรมที่ท่านออกแบบ มีการนำข้อคิดเห็นเหล่านั้นมาปรับปรุงต้นร่างของนวัตกรรมอย่างไร การใช้นวัตกรรมดังกล่าวต้องมีการเตรียมการในเรื่องอะไรบ้าง เงื่อนไขอะไรบ้างที่ต้องเตรียม เพื่อให้ใช้นวัตกรรมได้สำเร็จ
นวัตกรรม การสอนแบบบูรณาการ การสอนโดยใช้วิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ การสอนแบบโครงงาน การสอนโดยใช้ CMI การสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ
ระเบียบวิธีการวิจัย Pre-test /Post test O 1 X O 2 การออกแบบการทดลอง จะต้องออกแบบการทดลองให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ สมมติฐาน โดยคำนึงถึงกลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่วัด
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย ศึกษาลักษณะหรือธรรมชาติของข้อมูล กำหนดวิธีวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอผล เลือกรูปแบบการนำเสนอ เป็นความเรียง ตาราง กราฟ แผนภูมิ แปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล
สรุปและการอภิปรายผล ชัดเจน สอดคล้องกับจุดประสงค์การวิจัย มีหลักฐาน เอกสาร งานวิจัย ที่สอดคล้อง
การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน เป็นการเขียนรายงานงานวิจัย ตั้งแต่ เริ่มต้น วิเคราะห์และสำรวจปัญหา การพัฒนารูปแบบ การทดลองใช้รูปแบบเพื่อแก้ปัญหา การวิเคราะห์ผล สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ
สรุปกระบวนการ จัดทำวิจัยในชั้นเรียน
วิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน สร้างนวัตกรรม พัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง สร้างนวัตกรรม หาประสิทธิภาพ (E1/E2) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทดลองใช้นวัตกรรม ออกแบบการวิจัย แผนการวิจัย ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ (หาคุณภาพ) (IOC) รวบรวม / วิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปผล เขียนรายงานการวิจัย
แนะนำ websites และแหล่งที่เผยแพร่ผลงานวิจัย http://gotoknow.org http://researchers.in.th http:// thaiedresearch.org สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ) Website ของมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น www.ku.ac.th www.swu.ac.th www.sut.ac.th
วารสารเผยแพร่ผลงานวิจัย แหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัย วารสารวิชาการกระทรวงศึกษาธิการที่ บรรณาธิการวารสารวิชาการ ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 วารสารวิจัย วารสารวิจัยของมหาวิทยาลัยต่างๆ ฯลฯ
สวัสดี