การแต่งกลอน
การแต่งกลอน ความไพเราะของกลอน ความไพเราะของกลอนอยู่ที่เสียงของคำ สัมผัสทั้งสัมผัสนอกสัมผัสใน ตลอดจนจังหวะลีลาของกลอน ฉะนั้นผู้แต่งกลอนจะต้องมีความแม่นยำเรื่องเสียงของคำไม่ใช้วรรณยุกต์เหมือนอย่างโคลง ดังจะยกตัวอย่างแผนผังของกลอนสุภาพแต่จะเน้นเรื่องเสียงคำ ดังนี้
แผนผังกลอนสุภาพแสดงเสียงวรรณยุกต์คำสุดท้ายของวรรคและจังหวะ แผนผังกลอนสุภาพแสดงเสียงวรรณยุกต์คำสุดท้ายของวรรคและจังหวะ 000 / 00 / 00 000 / 00 / 00 000 / 00 / 00 000 / 00 / 00 000 / 00 / 000 000 / 00 / 000 000 / 00 / 000 000 / 00 / 000 วรรคสดับ จัตวา วรรครับ จัตวา เอก โท เอก ตรี สามัญ วรรคส่ง วรรครอง โท สามัญ สามัญ ตรี ตรี
เสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรคก็คือ สัมผัสนอกนั้นเอง ๑) วรรคสดับ นิยมเรียงเสียงตามลำดับ ดังนี้คือ จัตวา เอก โท ตรี สามัญ หรือใช้คำตาย ๒) วรรครับ นิยมเสียงจัตวามากที่สุด รองลงมาเป็นเสียงเอก โท ห้ามเสียงสามัญ ๓) วรรครอง นิยมเสียงสามัญ รองลงมาคือเสียงตรี ห้ามเสียงจัตวา เอกและโท ๓) วรรคส่ง นิยมเสียงสามัญ รองลงมาเสียงตรี เช่นเดียวกับวรรครอง ห้ามเสียง จัตวา เอก และโท
สัมผัสใน. นิยมทั้งสัมผัสอักษรและสัมผัสสระ จังหวะ สัมผัสใน นิยมทั้งสัมผัสอักษรและสัมผัสสระ จังหวะ แบ่งเป็น ๓/๒/๓ หรือ ๓/๓/๓ พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง ว่าจากเรือนเหมือนนกที่จากรัง อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย ถึงยามค่ำย่ำฆ้องจะร้อง ร่ำพิไรรัญจวนหวนละห้อย โอ้ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำในอัมพร ( สุนทรภู่ : พระอภัยมณี ) )
ชนิดของกลอน. กลอนแบ่งเป็นชนิด ได้ดังนี้. ๑) กลอนอ่านหรือกลอนสุภาพ ชนิดของกลอน กลอนแบ่งเป็นชนิด ได้ดังนี้ ๑) กลอนอ่านหรือกลอนสุภาพ กลอนแปด กลอนหก กลอนนิราศ กลอนเพลงยาว กลอนนิทาน ๒) กลอนร้อง กลอนดอกสร้อย กลอนสักวา กลอนเสภา กลอนบทละคร
ความไพเราะในการแต่งบทร้อยกรอง ความไพเราะในการแต่งบทร้อยกรอง ความไพเราะในการแต่งบทร้อยกรองต้องงามพร้อมทั้งความคิด รูปแบบคำประพันธ์ เนื้อหา และอารมณ์ ความคิด สำคัญมาก การแต่งบทร้อยกรองสั้นๆ ควรมีแนวคิดเพียงแนวคิดเดียว รูปแบบคำประพันธ์ คือ การเลือกใช้บทร้อยกรองให้เหมาะสมกับแนวคิดและเนื้อหา เรียกว่า “สุนทรียรูป”
เนื้อหา นอกจากเป็นสารัตถะของแนวคิดแล้วยังมีแนวกระบวนพรรณนาที่กวีสมัยก่อน เรียกว่า “สุนทรียลีลา” มี ๔ กระบวนการ คือ ๑.เสาวรจนี คือ กระบวนชมความงาม ๒.นารีปราโมทย์ คือ กระบวนเล้าโลม ๓.พิโรธวาทัง คือ กระบวนตัดพ้อ ๔.สัลลาปังคพิไสย คือ กระบวนคร่ำครวญ
อารมณ์ ในทางกวีเรียกว่า “สุนทรียรส” มี ๙ รส ๑) ศฤงคารหรือสิงคารรส คือ รสรัก ๒) หาสยรส คือ รสขบขัน ๓) กรุณารส คือ รสโศก ๔) รุทธรส คือ รสโกรธ ๕) วีรรส คือ รสแห่งความกล้าหาญ ๖) ภยานกรส คือ รสแห่งความกลัว ๗) วิภัจฉรส คือ รสแห่งขยะแขยง ๘) อัพภูตรส คือ รสแห่งความพิศวง อัศจรรย์ ๙) สันตรส คือ รสแห่งความสงบ
ครูอิสสรียา เจริญลีฬหา สวัสดีค่ะ ครูอิสสรียา เจริญลีฬหา