การคิดและกระบวนการคิด แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา THL1204 ภาษากับกระบวนการคิด 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้ การคิดและกระบวนการคิด วัตถุประสงค์ (เมื่อศึกษาเนื้อหาในหน่วยการเรียนแล้ว ผู้เรียน) 1. ความสำคัญของการคิดและกระบวนการคิด ภาพรวมของเนื้อหา/คำอธิบายหัวข้อที่สอนประจำสัปดาห์นี้ การคิดและกระบวนการคิด มีความสำคัญประการหนึ่ง กล่าวคือ ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดของคนเราและเมื่อต้องการให้ผู้อื่นทราบความคิดของเรา ก็ต้องกำหนดหรือจัดระเบียบของภาษามาแทนความคิดที่ต้องการส่งออกไป
ภาษากับกระบวนการคิด อ.กฤติกา ผลเกิด
ภาษา แซมมวล จอห์นสัน (Samuel Johnson) เป็นนักภาษา นักหนังสือพิมพ์ นักประพันธ์ และ นักวิจารณ์ชาวอังกฤษ กล่าวว่า “ภาษาเป็นเครื่องนุ่งห่มของความคิด”
ภาษา คือ อะไร ภาษา คือ เครื่องมือในการสื่อสาร ภาษา คือ เครื่องสะท้อนความคิดของคนเรา ภาษา คือ สื่อกลางในการถ่ายทอดความคิด ภาษา คือ เครื่องกำหนดความคิด
ฮายากาวา (S.I.Hayakawa) กล่าวว่า “ภาษาช่วยกำหนดความคิด และความคิด เป็นสิ่งกำหนดภาษา”
หมายถึง ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดของคนเรา และเมื่อต้องการให้ผู้อื่นทราบความคิดของเรา ก็ต้องกำหนดหรือจัดระเบียบของภาษามาแทน ความคิดที่ต้องการส่งออกไป
แอลเฟรด คอร์ซิปสกี้ (Alfred Korzyski) นักคิดชาวรัสเซีย เชื่อว่า “ภาษาไม่เพียงแต่มีอิทธิพลต่อความคิดของ คนเราเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของ คนเราด้วย”
หมายถึง คนเราเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใดๆ ล้วนเกิดจากอำนาจของภาษาเป็นสิ่งกระตุ้น หรือเป็นสิ่งเร้าทั้งสิ้น
จากความเห็นของคอร์ซิปสกี้ที่ว่า “ภาษามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคน” ฮายากาวาสนับสนุนว่า “อำนาจของภาษาที่มีต่อ คนเรานั้นมีอยู่มากและนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ เพราะมันสามารถเรียกร้องชักจูงให้คน จำนวนมากมีพฤติกรรมตามสิ่งเร้าได้”
ความเห็นของฮายากาวา สอดคล้องกับลัทธิเต๋า ที่กล่าวว่า ภาษาเป็นเครื่องมือที่มีอิทธิพลอย่างมาก ในระบบ ความรู้ความคิดของมนุษย์ เป็นความจริงที่ว่าเท่าที่เป็นอยู่ เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ภาษาเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและ ให้ประโยชน์แก่มนุษย์อย่างมากในการติดต่อสัมพันธ์กัน ในชีวิตประจำวัน
แต่ภาษาก็เป็นสื่อที่เลวมากในการสะท้อนให้ เห็นความจริง ภาษาอาจทำให้เราสมหวังหรือผิดหวังได้เสมอ
เดตัน (Deighton) กล่าว่า ถ้อยคำทำให้ท่านหัวเราะ ทำให้ท่านร้องไห้ มันสามารถทำร้ายท่านให้เจ็บปวดเหมือนกับถูก ตบหรือถูกตี ถ้อยคำอาจทำให้ท่านพลาดพลั้ง ทำให้ท่าน ยุ่งเหยิง ทำให้ท่านตกระกำลำบาก มันอาจเป็น เหตุทำให้ท่านเกิดความผิดพลาดขึ้นได้
ในทางตรงข้าม ถ้อยคำอาจจะช่วยเหลือ ท่านทำให้ท่านมีเพื่อน ทำให้ท่านเข้าใจว่าอะไร เป็นอะไร ท่านสามารถใช้ถ้อยคำช่วยเหลือคน อื่นๆ และสามารถใช้มันเมื่ออยากได้สิ่งที่ ต้องการ
ดังนั้น การเข้าใจว่าคนเรารับรู้ความหมายและ ตอบสนองต่อภาษาที่เราอ่านหรือสื่อความหมาย อย่างไรในลักษณะใดบ้าง มีหลุมพรางหรือ ข้อขัดข้องอะไรที่เกิดจากภาษา ซึ่งเป็นจุด ก่อให้เกิดปัญหาและสื่อความหมายผิดพลาด เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องน่าสนใจที่ควรศึกษา