งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็ก 1. Mental Retardation 2. Autistic Disorders 3. Conduct Disorders 4. Attention Deficit Hyperactivity Disorders 5. การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็ก ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์

2 การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็ก
วัตถุประสงค์ 1.อธิบายความหมายMental Retardation Autistic Disorders Conduct Disorders Hyperactivity Disorders 2.ให้การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีความผิดปกติทางจิต

3 Mental Retardation ลักษณะของบุคคลบกพร่องทางสติปัญญา มี 3 ลักษณะดังนี้
1. ลักษณะทางร่างกาย : ศีรษะเล็ก ตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ลิ้นยื่น ตัวอ่อนปวกเปียก หรือมีความพิการแขน ขา ตาบอด หูหนวก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 2.ลักษณะทางสติปัญญา มีความสามารถทางสติปัญญาต่ำ ระดับเชาว์ปัญญาตั้งแต่ 70 ลงมา 3. ลักษณะทางพฤติกรรม มีความบกพร่องของการปรับตัวอย่างน้อย 2 ทักษะ ใน 10 ทักษะ คือ การสื่อความหมาย การดูแลตนเอง การดำรงชีวิตภายในบ้าน ทักษะทางสังคม การใช้บริการในชุมชน การควบคุมตนเอง การดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน การใช้เวลาว่าง และการทำงาน

4 เด็กปัญญาอ่อน ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Mental Retardation) หมายถึง ภาวะที่มีความบกพร่องของการทำหน้าที่ของสติปัญญาและการปรับตัว ก่อนอายุ 18 ปี Mental Retardation

5 Mental Retardation 2. ประเภทของความบกพร่องทางสติปัญญา แบ่งเป็น 4 ประเภท ตามระดับเชาว์ปัญญา ความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย (Mild Mental Retardation) I.Q พบ ประมาณ 85% สามารถเรียนได้ถึงชั้น ป.6 ในหลักสูตรการศึกษาพิเศษ สามารถพัฒนาทักษะการทำงาน ทักษะทางสังคม ทักษะการเคลื่อนไหว โดยอาจมีปัญหาของการประสานงานของกล้ามเนื้อเล็กน้อย

6 Mental Retardation ความบกพร่องทางสติปัญญาปานกลาง (Moderate Mental Retardation) I.Q พบประมาณ 10% อายุสมอง 5-6 ปี เรียนได้ถึง ป.2 หลักสูตรการศึกษาพิเศษ สามารถฝึกอาชีพได้ ทำงานภายใต้การควบคุมได้ มีความจำกัดในการติดต่อสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพและทักษะทางสังคม มีทักสักการเคลื่อนไหวพอใช้ มีความจำกัดของทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ความบกพร่องทางสติปัญญารุนแรง (Severe Mental Retardation) I.Q )พบประมาณ 3-4% อายุสมองประมาณ 3 ปี เรียนไม่ได้ ฝึกอาชีพไม่ได้ ฝึกให้ความช่วยเหลือตนเองและทำกิจวัตรประจำวันได้ การสื่อภาษาโดยการพูด-เขียนทำได้น้อย พัฒนาการเคลื่อนไหวไม่ดี

7 Mental Retardation แผนการพยาบาลเด็กบกพร่องทางสติปัญญา
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล มีความบกพร่องของการสื่อความหมาย เนื่องจากพัฒนาการช้า วัตถุประสงค์ เด็กสามารถสื่อความถูกต้องกับผู้ดูแลได้ การพยาบาล - จัดให้มีผู้ดูแลเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เด็กเกิดความไว้วางใจและผู้ดูแล สามารถเข้าใจปฏิกิริยาการสื่อความหมายของเด็ก - ฝึกทักษะการสื่อความหมาย โดยสอนความเข้าใจภาษา การใช้ภาษา การเปล่งเสียง การพูด เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้น - ถ้าเด็กไม่พูดให้สอนการใช้ภาษาท่าทาง หรือสัญลักษณ์ในการสื่อความต้องการ โดยจะต้องสอนซ้ำๆ เด็กจึงจะเรียนรู้ได้

8 Mental Retardation ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลมีความบกพร่องของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เนื่องจากมีปัญหาของการพูดหรือไม่สามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม วัตถุประสงค์ เด็กสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยพฤติกรรมที่สังคมยอมรับและเหมาะสม การพยาบาล - ผู้ดูแลเด็กที่เด็กให้ความไว้วางใจจะต้องอยู่กับเด็กในขณะที่เด็กมี ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเป็นครั้งแรก เพื่อให้เด็กเกิดความรู้สึกมั่นคง - อธิบายให้เด็กทราบถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมของเด็ก เพื่อให้เด็กเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ - อธิบายให้ผู้อื่นทราบความหมายของภาษาท่าทางหรือสัญลักษณ์ของเด็ก - ใช้การปรับพฤติกรรมโดยการให้แรงเสริมทางบวกกับพฤติกรรมที่เหมาะสม และให้แรงเสริมทางลบกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

9 เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เสียว...จัง...!!!

10 ขอให้มีความสุขกับการเรียน
Any Question ขอให้มีความสุขกับการเรียน

11 โรคออทิซึม (Autism)

12 โรคออทิสติก (Autistic Disorder).6
เด็กออทิสติค โรคออทิสติก (Autistic Disorder).6 เกAutistic Disorder นี้จัดอยู่ในกลุ่ม “Pervasive Developmental Disorders - PDDs” มีความหมายเหมือนกับคำว่า = Autistic Spectrum Disorder โดยรวมของโรคออทิสติกทุกประเภท คือ กลุ่มที่มีความบกพร่องของพัฒนาการรูปแบบหนึ่ง ที่แสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ก่อให้เกิดพัฒนาการทางด้านสังคม การใช้ภาษาและการสื่อสาร ไม่เป็นไปตามปกติ มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ผิดปกติ

13 Autism โรคออทิซึม (Autism) โรคออทิซึม เป็นกลุ่มอาการที่มีพัฒนาการล่าช้าและผิดปกติ ทางด้าน 1. พัฒนาการด้านสังคม 2. พัฒนาการด้านการสื่อความหมายและภาษา 3. มีพฤติกรรมการกระทำและความสนใจซ้ำๆ ระบาดวิทยา โรคออทิซึม พบได้ 4-5 : 10,000 ตามเกณฑ์การวินิจฉัย DSM IV และ 21 : 10,000 ตามการวินิจฉัยแบบ Autistic Spectrum พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4 เท่า (ไทยพบเด็กชาย>เด็กหญิง 3.3 เท่า ) เด็กหญิงมักมีความรุนแรงมากกว่าเด็กชาย มีโอกาสเกิดโรคในพี่น้องของเด็กออทิสติก ร้อยละ 3-7 พบในทุกเชื้อชาติ และเศรษฐานะ

14 เป็นมาตั้งแต่เกิด??...

15 ของ Autism สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีเซลล์ประสาท neuron ที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters ที่รอยต่อของเซลล์ประสาท สาเหตุ

16 สมองส่วนหน้า frontal lobeหน้าที่แก้ปัญหา การวางแผน
สมองส่วนข้าง parietal lobeหน้าที่การได้ยิน การพูด การสื่อสาร สมองน้อย cerebellum ทำหน้าที่การทรงตัว การเคลื่อนไหวของร่างกาย สมองส่วน corpus callossum เป็นตัวเชื่อมสมอง ทั้งสองข้าง หลังจากที่เด็กเกิดสมองยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสาเหตุ ที่อาจจะเป็นไปได้คือการที่เซลล์ประสาทไปอยู่ผิดที่ ทำให้การทำงานของสมองผิดปกติ การหลั่ง neurotransmitters ผิดปกติ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง พันธุกรรม พบว่าฝาแผดไข่ใบเดียวกัน หากมีคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูง หากมีพี่นอนคนหนึ่งเป็นน้องก็มีความเสี่ยงสูง ขณะตั้งครรภ์ ขณะเป็นตัวอ่อนในครรภ์สมองเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีสิ่งมากระทบสมองเด็กโดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ตัวอย่างภาวะดังกล่าวได้แก่ การติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน การขาด oxygen ขณะคลอด

17 สาเหตุ พยาธิสภาพที่สมอง ความผิดปกติเนื้อสมอง เกิดจากแม่เป็นหัดเยอรมัน
ชักในวัยเด็ก encephalitis anoxia during birth ความผิดปกติเนื้อสมอง ความผิดปกติในระบบภูมิต้านทาน ความผิดปกติของสารที่เป็นตัวนำทางระบบประสาท

18 ความผิดปกติของสมอง Limbic system
Hippocompus ทำหน้าที่ควบคุมความจำ อารมณ์ การเรียนรู้และแรงจูงใจ cell เล็กและเบียดแน่น Cerebellum ควบคุมการเคลื่อนไหว จำนวน cell ลดลง ช่องว่างระหว่าง cell มาก

19 กรรมพันธุ์ พบในพี่น้องพ่อแม่เดียวกัน 1:50
พบในแฝดไข่ใบเดียวกัน และไข่คนละใบ Fragile X เปราะบาง

20 ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
ครอบครัวไม่อบอุ่น แตกแยก ตึงเครียด ทะเลาะบ่อยๆ บิดามารดาบุคลิกภาพเบี่ยงเบน ได้รับการกระตุ้นสนับสนุนที่ผิด ลักษณะการสื่อสารในครอบครัวที่ผิดๆ ความห่างเหินระหว่างบิดามารดาและบุตร

21

22 Frontal Lobes

23 การวินิจฉัย มีอาการอย่างน้อย 6 อาการจากข้อ 1,2,3
1. มีความบกพร่องในการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น ไม่สามารถใช้กริยา หรือท่าทางสื่อความหมาย ไม่สามารถมีสัมพันธภาพกับเพื่อน ขาดการร่วมสนุกสนาน ร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น ขาดการแสดงออกในการมีสัมพันธภาพ/แสดงอารมณ์

24 2. มีความบกพร่องในการสื่อความหมาย
พูดช้า หรือไม่พูดเลย ไม่สามารถเริ่มต้นสนทนา หรือร่วมสนทนา ใช้คำพูดซ้ำๆ มีภาษาพูดที่คิดขึ้นเอง ไม่มีการเล่น ไม่เล่นตามจินตนาการ/เลียนแบบตามพัฒนาการ

25 3. พฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมมีน้อย
หมกมุ่นกับบางเรื่องเป็นเวลานาน ยึดติดกับสิ่งที่ทำเป็นประจำ มีอิริยาบทซ้ำๆ ติดเป็นนิสัย หมกมุ่นกับวัตถุสิ่งของ ในปัจจุบันความผิดปกติแบบออทิสติกพบประมาณ 1 คนต่อประชากร คน ชายมากกว่าหญิง

26 การวินิจฉัย (ต่อ) ความสามารถในการทำกิจกรรมต่อไปนี้ช้า/ผิดปกติ
การมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น การพูดเพื่อสร้างสัมพันธภาพ การเล่นแบบจินตนาการ เกิดอาการก่อนอายุ 3 ปี

27 ลักษณะทั่วไปของออทิสติก
ด้านสังคมและความบกพร่องด้านสัมพันธภาพ 0-1 ปี เด็กออทิสติกจะไม่ชอบให้อุ้ม ไม่กอดตอบเวลาอุ้ม ไม่สบตา ไม่สนใจตามหา ไม่สนใจคน หรือสิ่งรอบตัว แต่พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ

28 ลักษณะทั่วไปของออทิสติก
ด้านสังคมและความบกพร่องด้านสัมพันธภาพ 2-5 ปี เด็กออทิสติกจะไม่สนใจเล่นกับเพื่อน ไม่สบตา ไม่สนใจใคร ชอบแยกตัว ไม่รับรู้อารมณ์ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ไม่รู้ความแตกต่างระหว่างคนกับสิ่งของ

29 ลักษณะทั่วไปของออทิสติก
ด้านสังคมและความบกพร่องด้านสัมพันธภาพ 6-9 ปี เด็กออทิสติกที่ได้รับการพัฒนาก่อน 5 ปี เด็กจะเริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอารมณ์ มีความเข้าใจสิ่งต่างๆมากขึ้น และต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆน้อยลง

30 ความบกพร่องของการสื่อสาร
ไม่เข้าใจภาษาพูด ตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ไม่มีการแสดงท่าทางเพื่อบอกอารมณ์ พูดสลับสรรพนาม เสียงเป็น mono tone สร้างคำใหม่ที่คนอื่นไม่เข้าใจ เลียนแบบ พูดตามโดยไม่เข้าใจความหมาย

31 ความผิดปกติของการเล่นและจินตนาการ
สนใจสิ่งของซ้ำๆ ทำพฤติกรรมซ้ำๆ เล่นโดยขาดจินตนาการ มักดมหรือชิม สิ่งที่ไม่ควรดม ชิม ไม่จ้องตาแต่มองด้วยหางตา ทำร้ายตัวเอง ติดของที่ไม่น่าสนใจ มีกิจวัตรประจำวันแบบซ้ำๆ

32 พฤติกรรมที่พบร่วม ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวต่างจากเด็กอื่น
ไม่เข้าใจคำพูดและไม่สนใจการพูด มีความลำบากในการพูด ไม่เข้าใจในสิ่งที่เห็นหรือได้ยิน มีปัญหาในการท่าทางในการสื่อความหมาย สำรวจสิ่งต่างๆโดยใช้ประสาทสัมผัส มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ทักษะการเคลื่อนไหวไม่ดี

33 การรักษา กิจกรรมบำบัด ประเมินความผิดปกติของเด็ก
เพื่อลดความไม่อยู่นิ่งของเด็ก เพื่อฝึกการควบคุมตนเอง เพื่อเพิ่มช่วงความสนใจ เพื่อเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ เพื่อฝึกการปฏิบัติกิจวัตร ประเมินความผิดปกติของเด็ก ฝึกพ่อแม่ในการกระตุ้นพัฒนาการ ทำพฤติกรรมบำบัด

34 การรักษา (ต่อ) อรรถบำบัด การศึกษาพิเศษ โครงการเรียนร่วม การรักษาด้วยยา
การฝึกอาชีพ

35

36

37 ตัวอย่างแผนการพยาบาลเด็กออทิสติค
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองเนื่องจากมีความผิดปกติของสมอง วัตถุประสงค์ เด็กไม่ทำร้ายตนเอง

38 แผนการพยาบาลเด็กออทิสติค(ต่อ)
- ดูแลเด็กแบบตัวต่อตัวเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ - หาสาเหตุของการทำร้ายตนเองว่าเกิดจากอะไร ถ้าเกิดจากความวิตกกังวล เด็กวิตกกังวลสิ่งใด ลดความวิตกกังวลให้เด็ก - หากิจกรรมให้เด็กทำ - เสนอตัวเข้าช่วยเหลือเมื่อเด็กมีความวิตกกังวลสูงขึ้น - ป้องกันอันตรายจากการทำร้ายตนเอง เช่น ในหมวก ถุงมือ พันแขน

39 ตัวอย่างแผนการพยาบาลเด็กออทิสติค
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล : มีความบกพร่องของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เนื่องจากมีความผิดปกติของสมอง/ไม่มีความไว้วางใจ/ขาดการดูแล วัตถุประสงค์ เด็กมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้ดูแล

40 ตัวอย่างแผนการพยาบาลเด็กออทิสติค
สร้างสัมพันธภาพกับเด็ก ให้เด็กเกิดความไว้วางใจ โดยการดูแลเด็ก อย่างสม่ำเสมอ มีความเข้าใจ ยอมรับและให้ความอบอุ่นเด็ก - จัดหาของที่เด็กคุ้นเคยให้เด็ก เพื่อให้เด็กรู้สึกมั่นคง เช่น ของเล่น ผ้าห่ม - ช่วยเหลือเด็กในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น - เมื่อเด็กสบตากับผู้อื่นจะให้แรงเสริมทางบวก เช่น อาหาร สิ่งของที่เด็กชอบ การสัมผัส ยิ้มโอบกอด

41 เอกสารอ้างอิง บุญเพียร จันทวัฒนา.(2552).ตำราการพยาบาลเด็ก 1.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรี วัน. มาลี เอื้ออำนวย.(2551).การพยาบาลผู้ป่วยเด็ก เล่มที่1.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่:นันทพันธ์พริ้นติ้ง. วราภรณ์ กุประดิษฐ์. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาปฏิบัติการ พยาบาลเด็กและวัยรุ่น คลินิกกระตุ้นพัฒนาการ Well baby สืบค้น เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2554 เวลา น. สืบค้น เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2554 เวลา น.

42 Attention Deficit Hyperactivity Disorder
ADHD เปิดJames H. Johnson, Ph.D., ABPP University of Florida

43 ADHD Ph.DJames H. Johnson
ADHD is a neurodevelopmental disorder of childhood that is characterized by developmentally inappropriate levels of: Hyperactivity, Impulsivity, Inattention. โรคซน สมาธิสั้น

44 ADHDโรคซน สมาธิสั้น 1.Inattention อาการสมาธิสั้น มีความยากลำบากในการตั้งสมาธิ วอกแวกง่าย ไม่ฟังเมื่อคนพูด ทำตามคำสั่ง ไม่จบหรือทำกิจกรรมไม่สำเร็จ หลีกเลี่ยงที่จะทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความพยายาม ละเลยในรายละเอียดหรือทำผิดด้วยความเลินเล่อ มีความยากลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรม ทำของหายบ่อยๆ ลืมทำกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำสม่ำเสมอ

45 ADHDโรคซน สมาธิสั้น 2.Hyperactivity, อาการซนอยู่ไม่นิ่ง ยุกยิกขยับตัวไปมา นั่งไม่ติดมักลุกเดินไปมา มักวิ่งวุ่นหรือปีนป่ายในสถานการณ์ที่ๆไม่เหมาะสม ไม่สามารถเล่นเงียบๆได้ เคลื่อนไหวไปมา คล้ายติดเครื่องยนต์ตลอดเวลา พูดมากเกินไป 3.Impulsivity, อาการหุนหันพลันแล่น มีความยากลำบากในการรอคอย พูดโพล่งขึ้นมาก่อนถามจบ ขัดจังหวะ หรือสอดแทรกผู้อื่นในวงวนทยาหรือในการเล่น

46 สาเหตุ เกิดจากการทำงานของ
ADHDโรคซน สมาธิสั้น สาเหตุ เกิดจากการทำงานของ สมองบางส่วนในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด คาดว่าเกิดจากสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมไม่สมดุล ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เชื่อว่าโรคนี้ถ่ายทอทางพันธุกรรม พ่อแม่ที่เป็นเด็กมีโอกาสเป็น 4 เท่า นอกจากนี้ พ่อแม่ติดเหล้า บุหรี่ สารเสพติดหรือภูมิแพ้ เชื่อว่าเป็นสาเหตุเช่นกัน

47 Neurotransmitter Deficiencies
There is more direct evidence of neurotransmitter deficiencies from studies of cerebral spinal fluid in ADHD and normal children which suggests decreased ลดลงdopamine levels in ADHD children This is of interest given that a very new non-stimulant ADHD medication, Straterra, is thought to act on norepinephrine levels. MRI-Research has also found decreased cerebellar volume in ADHD children.

48 Striatal Network

49 Neurotransmitter Deficiencies
The possibility of a neurotransmitter dysfunction in children with ADHD has been suggested for many years. This notion seemed to originate from observations of the response of children with ADHD to different type of stimulant drugs. The fact that stimulant drugs have an impact on ADHD and that they increase dopamine has contributed to the neurotransmitter dysfunction hypothesis.

50 ตัวอย่างแผนการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล : เด็กเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บเนื่องจากพฤติกรรมซนมาก วัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กปลอดภัยจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น

51 แผนการพยาบาลเด็กออทิสติค(ต่อ)
พยาบาลควรตระหนักอยู่เสมอว่า ความปลอดภัยของเด็กที่ซนมากผิดปกติเป็นเรื่องที่สำคัญในอันดับแรก 1. จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม โดยเคลื่อนย้ายสิ่งของที่อาจจะก่อให้เกิดอันตายแก่เด็กให้อยู่ในที่ปลอดภัยเพราะเด็กจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา และไม่สามารถควบคุมตนเองได้ 2. จัดให้มีผู้ดูแลให้อยู่ในสายตาตลอดเวลา เพื่อคอยระมัดระวังและป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ถ้ามีผู้ดูแลไม่เพียงพอ ควรอนุญาตให้เด็กทำกิจกรรมอยู่ในขอบเขตที่กำหนด 3. ควรใช้หลักการปรับพฤติกรรม เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและ ให้แรงเสริมต่อพฤติกรรมที่เหมาะสมให้คงอยู่ต่อไป

52 ตัวอย่างแผนการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล : เด็กมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องเนื่องจากพฤติกรรมซนมาวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กมีการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่เหมาะสม

53 แผนการพยาบาลเด็กออทิสติค(ต่อ)
1. สร้างสัมพันธภาพเพื่อให้เด็กเกิดความไว้วางใจโดยเข้าใจและยอมรับพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก ไม่ตำหนิเด็กเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แต่ตระหนักว่าพฤติกรรมเหล่านี้มีสาเหตุมาจากความบกพร่องที่สามารถแก้ไขได้ การยอมรับพฤติกรรมของเด็กมีความสำคัญมากเพราะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า 2. ร่วมกันคิดและอภิปรายร่วมกับเด็กว่ามีพฤติกรรมของเด็กใดบ้างที่เหมาะสม และไม่เหมาะสม เพื่อให้เด็กเข้าใจพฤติกรรม ของตน

54 แผนการพยาบาลเด็กออทิสติค(ต่อ)
3. ชี้แจงให้เด็กทราบเกี่ยวกับผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้เด็กยอมรับและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการปรับพฤติกรรม 4. ใช้หลักการปรับพฤติกรรมโดยการให้แรงเสริมทางลบ เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพื่อลดความถี่ของการเกิดพฤติกรรมนั้น และให้แรงเสริมทางบวกเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ 5. เปิดโอกาสให้เด็กเข้ากลุ่มกับเพื่อนวัยเดียวกันให้เด็กมีทักษะทางสังคมเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงต่อการตอบสนองของกลุ่มเพื่อน เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมและไม่เหมะสม ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเป็นแรงจูงใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่

55 ตัวอย่างแผนการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล : เด็กไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ วัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้สำเร็จ โดยให้ความช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย

56 ตัวอย่างแผนการพยาบาล
1. จัดสถานที่ที่ทำกิจกรรมให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย ลดสิ่งกระตุ้นรบกวนเพราะเด็กจะวอกแวกและเปลี่ยนจุดสนใจได้ง่าย แม้จะมีสิ่งกระตุ้นเพียงเล็กน้อยก็ตาม ไม่ควรให้นั่งใกล้หน้าต่าง 2. จัดให้มีผู้ดูแลในการทำกิจกรรมตัวต่อตัว แบ่งงานให้เป็นส่วนย่อย ๆ เริ่มงานตั้งแต่เรื่องง่ายๆ ไปจนถึงเรื่องที่ยากขึ้นใช้เวลาไม่นานนักในการทำให้เสร็จในแต่ละส่วน เพื่อช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ว่าตนมีความสามารถ 3. จัดให้มีช่วงพักทำกิจกรรมเสร็จทีละขั้น เพราะการพักที่เด็กได้รับจัดเป็นการให้แรงเสริมทางบวกอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็กทำกิจกรรมต่อไป 4. ในการทำกิจกรรมแต่ละขั้น ผู้ดูแลสามารถให้ความช่วยเหลือเด็กได้บ้างและควรลดการช่วยเหลือตามลำดับเพื่อสนับสนุนให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจตนเองและผู้อื่น

57 ขอให้มีความสุขกับการเรียน
Any Question ขอให้มีความสุขกับการเรียน

58 Any Question ตื่นได้แล้ว

59 Conduct disorder ชายไทยอายุ 16 ปี (HN 48 -4268)
เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ ภูมิลำเนา จังหวัดตาก อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล เมาสุรา ควบคุมตนเองไม่ได้ทะเลาะกับญาติ ประวัติการเจ็บป่วยทางจิต ผู้ป่วยมีประวัติเมาสุราแล้วควบคุมตัวเองไม่ได้ใช้มีดไล่แทงตา ได้รับการรักษาที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาเมื่ออาการดีขึ้นกลับไปอยู่บ้านแล้วทะเลาะ ชกต่อยกับญาติ มารดาจึงพามาสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา แพทย์รับไว้รักษา การวินิจฉัยทางการพยาบาล -ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองได้เมื่อกลับไปอยู่บ้าน เนื่องจากขาดความรู้เรื่องการจัดการความเครียด)

60 Conduct disorder ความหมาย ผู้มีความประพฤติฝ่าฝืนกฏระเบียบของสังคม แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อคนและสัตว์ พูดปด ลักขโมย ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ ฝ่าฝืนกฏระเบียบอย่างร้ายแรง ติดต่อกัน 12 เดือน พบในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี

61 การวินิจฉัย (อาการอย่างน้อย1อย่างใน 6 เดือน)
การวินิจฉัย (อาการอย่างน้อย1อย่างใน 6 เดือน) ก้าวร้าวต่อคนหรือสัตว์ ก้าวร้าว ข่มขู่ ทำร้าย ใช้กำลัง , ใช้อาวุธต่อสู้ ทารุณบุคคล/สัตว์ ขโมยซึ่งหน้า ล่วงละเมิดทางเพศ ทำลายทรัพย์สิน จงใจวางเพลิง จงใจทำลายทรัพย์สิน ฉ้อโกงหรือขโมย ลักลอบเข้าบ้าน งัดรถผู้อื่น โกหกเพื่อให้ได้สิ่งของ หยิบฉวยของเล็กๆน้อยๆ

62 การวินิจฉัย (อาการอย่างน้อย1อย่างใน 6 เดือน)
การวินิจฉัย (อาการอย่างน้อย1อย่างใน 6 เดือน) ฝ่าฝืนกฏระเบียบอย่างรุนแรง เที่ยวดึก ขัดคำสั่งบิดามารดาก่อนอายุ 13 ปี หนีออกไปค้างนอกบ้านอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือหายไปนาน หนีโรงเรียนก่อนอายุ 13 ปี พฤติกรรมที่กล่าวข้างต้นทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านสังคม การศึกษา หรืออาชีพการงาน

63 สาเหตุ พันธุกรรม ปัจจัยทางชีวภาพ ฮอร์โมนเพศ
เด็กชายที่มีระดับ androstenedione สูงมีพฤติกรรมก้าวร้าว เด็กชายที่มีระดับ testosterone สูง จะมีความอดทนต่ำ ชีวเคมีของสมอง : Serortonergic function, 5-HIAA ต่ำ

64 สาเหตุ (ต่อ) โรคของระบบประสาท : autonomic arousal ต่ำ
ปัจจัยทางด้านจิตใจ พฤติกรรมการเรียนรู้ : เด็กขาดวุฒิภาวะการทำหน้าที่ ขาดการเรียนรู้อย่างมีเหตุผล ขาดเหตุผลทางจริยธรรม แนวโน้มเด็กเกเร : ขาดการควบคุมอารมณ์ วิตกกังวลน้อย ไม่สนใจสิ่งตอบแทน

65 สาเหตุ (ต่อ) ปัจจัยทางครอบครัว บิดามารดาเป็นโรคจิตเวช
สิ่งแวดล้อมขาดระเบียบ บุคลิกภาพบิดามารดาผิดปกติ สัมพันธภาพครอบครัวไม่ดี ความรุนแรงในครอบครัว

66 สาเหตุ (ต่อ) ปัจจัยทางสังคม ถูกปฏิเสธ ครอบครัวยากจน

67 การรักษา พฤติกรรมบำบัด ครอบครัวบำบัด ทักษะวิชาชีพ การรักษาด้วยยา

68 ความประพฤติที่ผิดปกติ มีลักษณะต่อต้านสังคม ก้าวร้าว ดื้อด้าน
Conduct disorder ICD-10 ความประพฤติที่ผิดปกติ มีลักษณะต่อต้านสังคม ก้าวร้าว ดื้อด้าน บ่อยๆ มีความรุนแรงตามเพศ ( ปี ) วัย สาเหตุ ครอบครัวขาดความอบอุ่น ,การสื่อสารบกพร่อง การช่วยเหลือ pharmancological apporach, Non pharmancological apporach

69 แนวข้อสอบConduct disorder
1.ขณะตรวจสภาพจิต ผู้ตรวจสังเกตว่าผู้ป่วยมีสีหน้า Hostile อารมณ์ Irritable และ Psychomotor agitation ท่านเป็นผู้ตรวจท่านจะต้องระวังความเสี่ยงใดเป็นอันดับแรก ผู้ป่วยหนี 2.ผู้ป่วยทำร้ายตนเอง 3.ผู้ป่วยก้าวร้าว… ผู้ป่วยเกิดอุบัติเหตุ

70 แนวข้อสอบConduct disorder
1. เด็กที่มีพฤติกรรมเกเรจะพบพฤติกรรมดังต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด 1.ฝ่าฝืนกฎระเบียบของโรงเรียนอยู่เสมอ 2.ไม่มีความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมกับเพื่อนคนใด 3.เจ้ากี้เจ้าการกับบุคคลรอบข้างให้ทำตามความต้องการของตน มีความภาคภูมิใจในตนเองที่สามารถทำตามความต้องการของตน

71 แนวข้อสอบ 2.การทดสอบเด็กด้วยการใช้ Gesell Figures เป็นการทดสอบเกี่ยวกับข้อใด 1.เป็นการประเมินระดับเชาว์ปัญญา 2.เป็นการประเมินพัฒนาการเด็กจากการวาดภาพ เป็นการประเมินความผิดปกติของอารมณ์เด็ก 4.เป็นการประเมินสัมพันธภาพระหว่างเด็กกับผู้เลี้ยงดู

72 แนวข้อสอบ 3.ในการประเมินความผิดปกติทางจิตเวชในเด็กที่สำคัญที่สุดที่พยาบาลควรกระทำคือข้อใด 1.การสร้างความมั่นใจในตนเองของพยาบาล 2.การทราบข้อมูลในเบื้องต้นของเด็กทั้งหมด 3.การสร้างความไว้วางใจไว้กับเด็กและผู้ปกครอง การพูดคุยกับผู้ปกครองเกี่ยวกับขั้นตอนการรักษา

73 Adolescent suicide “3 กลุ่มประชากรที่ควรให้ความสนใจในการฆ่าตัวตาย คือ กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มที่ถูกคุมขังในคุก“ (Noreen Cavan,1998) suicide(WHO,1997)sexเพศ Identification Chronic Illness Depressedโรคซึมเศร้า รู้สึกหมดหวัง ท้อแท้ คับแค้นใจ โกรธเคืองรุนแรง Ages Unsuccessful Attempts

74 ภาวะซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้า Beck,1978
หมายถึง อาการที่แสดงออกให้เห็นถึงภาวะที่ไม่มีความสุข ท้อถอย และสิ้นหวังในชีวิต ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ในชีวิตและเป็นวิธีการปรับตัวของบุคคล เพื่อสนองต่อความเครียดทางร่างกาย จิตใจ สังคม ภาวะซึมเศร้า Beck,1978 มีลักษณะ 5 ประการคือ มีความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ติเตียนตนเอง มองตนเองในแง่ร้าย พยายามหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ต่างๆและกิจกรรมทางกายลดน้อยลงซึ่งภาวะซึมเศร้ามีได้ หลายระดับ อาจเริ่มตั้งแต่ความวิตกกังวลในระยะเริ่มแรกและรุนแรงขึ้นจนกระทั่งทำให้คนๆนั้น มีอาการเฉยเมย เฉื่อยชาต่อสิ่งแวดล้อม ตัดตัวเองออกจากสังคมและไม่มีความสัมพันธ์กับบุคคล อื่น

75 Adolescent suicide ภาวะซึมเศร้าเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายประมาณร้อยละ 50 โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการรุนแรงและมีประวัติเคยทำร้ายตนเองมาก่อน ปัญหาติดสุราเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายประมาณ 1 ใน 4 โดยเฉพาะผู้ดื่มสุราที่มีปัญหาสุขภาพร่างกาย ปัญหาชีวิตสมรส ปัญหาในที่ทำงาน หรือมีปัญหาทางกฎหมายจากการดื่มสุรา

76 พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายเป็น 3 ระดับ คือ
Adolescent suicide พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายเป็น 3 ระดับ คือ 1. การคิดฆ่าตัวตาย suicide ideal 2. การทำร้ายตนเอง แต่ไม่เสียชีวิต attempted suicide 3. การฆ่าตัวตาย completed suicide

77 ทฤษฎีทางชีววิทยาseroต่ำ ทฤษฎีทางจิตวิทยา ทฤษฎีทางสังคม
ภาวะซึมเศร้ามี3 ระดับ คือ 1. ระดับอ่อน Mild Depressionรู้สึกเศร้าหมองบางครั้ง บางทีมีเหตุผล 2. ปานกลางModeralte Depression รุนแรงกว่า รู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจ เจ็บปวดพูดจาลำบาก คิดช้า ย้ำคิดย้ำทำ 3. ระดับรุนแรง(นาน) Severe Depressionมีความวิตกกังวลสูง นอนไม่หลับ Adolescent suicide

78 สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดการฆ่าตัวตาย http://www. saf. mut. ac
สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดการฆ่าตัวตาย suicide 1.ประวัติครอบครัว การศึกษาเปรียบเทียบวัยรุ่นที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ กับกลุ่มควบคุม ในนิวยอร์คพบว่า ครึ่งหนึ่งของวัยรุ่นที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ มีญาติใกล้ชิด ( first-degree relative) มีประวัติเคยพยายามฆ่าตัวตายหรือฆ่าตัวตายสำเร็จ การศึกษาเพิ่มเติมในฝาแฝดและ บุตรบุญธรรมพบว่า น่าจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม 2.การเลียนแบบ ข่าวหรือเรื่องราวเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายอาจชักชวนให้เด็กหรือวัยรุ่นเลียน แบบพฤติกรรมฆ่าตัวตายในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ได้ยินหรือได้อ่าน การศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบการระบาดของการฆ่าตัวตายในลักษณะนี้ถึง ร้อยละ 4 ของการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น และคาดการณ์ว่าจะมีอุบัติการณ์สูงขึ้น

79 สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดการฆ่าตัวตาย http://www. saf. mut. ac
สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดการฆ่าตัวตาย suicide 3.ความผิดปกติทางชีวะภาพ การศึกษาเปรียบเทียบคนที่พยายามฆ่าตัวตายและ ฆ่าตัวตายสำเร็จกับกลุ่มควบคุม พบว่าในกลุ่มคนที่พยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายสำเร็จ มีระดับ 5-HIAA( serotonin metabolites) ในน้ำไขสันหลังต่ำกว่า กลุ่มควบคุม นอกจากนั้น การศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ในผู้ใหญ่ที่พยายามฆ่าตัวตายที่ระดับ 5-HIAA ในน้ำไขสันหลังมีค่าต่ำกว่า 90 มก./มล. มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ใน 1 ปีถึงร้อยละ 21 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตรา เพียงร้อยละ 2 ในคนพยายามฆ่าตัวตายที่มีระดับ 5-HIAA สูงกว่านี้ 4. ปัญหาหรือความผิดปกติขณะคลอด

80 สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดการฆ่าตัวตาย http://www. saf. mut. ac
สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดการฆ่าตัวตาย suicide 5. สภาพครอบครัว การศึกษาในนิวยอร์ค พบว่าอัตราของเด็กที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ อาศัยอยู่กับพ่อแม่น้อยกว่าเด็กในกลุ่มควบคุม( ครึ่งหนึ่ง เทียบกับ 2 ใน 3 ) และการสื่อสารในครอบครัวเป็นปัญหาสำคัญ 6. ความผิดปกติทางจิตเวช การฆ่าตัวตายสำเร็จพบน้อยในคนที่ไม่มีพยาธิสภาพทางจิต การศึกษาติดตามผู้ป่วยจิตเวชพบมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูง ในทำนองเดียวกัน การศึกษา เปรียบเทียบคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จกับกลุ่มควบคุม พบว่าคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จมีความชุก ของโรคทางจิตสูงกว่า ซึ่งพบถึง 2 ใน 3 ในทั้ง 2 เพศ นอกจากนั้น ครึ่งหนึ่งของคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จเคยไปตรวจกับจิตแพทย์หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับการวินิจฉัยเป็นความผิดปกติแบบวิตกกังวล ซึ่งพบเท่ากันในเพศหญิงและเพศชาย ความประพฤติผิดปกติและการติดสารเสพติด ซึ่งพบมากในชาย และโรคซึมเศร้าซึ่งพบมากในเพศหญิง

81 Risk factors for suicide
ชาย,สูงอายุ มีโรคทางจิตเวช เจ็บป่วยด้วยโรคทางกาย หม้าย,หย่าร้างหรือแยกกันอยู่ อยู่คนเดียว เพิ่งเกิดการสูญเสีย ว่างงาน มีปัญหาเรื่องเงิน/กฎหมาย มีอาวุธปืนในครอบครอง

82 Risk factors for suicide
มีประวัติครอบครัวเรื่องการฆ่าตัวตายหรือโรคทางจิตเวช มีประวัติว่าสภาพครอบครัวในวัยเด็กสับสนวุ่นวาย เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน มีความคิดฆ่าตัวตายหรือความตั้งใจฆ่าตัวตาย สิ้นหวัง

83 SAD PERSONS scale พ.ญ.กมลเนตร วรรณเสวก(2549)
Sex Age Depression Previous attempt Ethanol attempt Rational thinking loss Social support deficit Organized plan No spouse Sickness

84 กระบวนการพยาบาล (เปิดSuicide)
ประการแรก หลังจากตรวจประเมินเด็กแล้ว จะต้องตัดสินใจว่าจำเป็นต้องให้เด็กเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลหรือสามารถนัดมาตรวจรักษาแบบผู้ป่วยนอก ควรรับไว้ในโรงพยาบาลเมื่อมีการใช้วิธีรุนแรงในการพยายามฆ่าตัวตาย มีประวัติคิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตายซ้ำๆ มีอาการซึมเศร้า อาการของโรคจิต หรือติดเหล้าและยาเสพติด ขาดผู้ใหญ่หรือคนใกล้ชิดดูแลระมัดระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยในการจะฆ่าตัวตายซ้ำ เช่น การเก็บยา ของมีคมและอาวุธ อย่างไรก็ตาม แม้แต่ในกรณีที่ไม่ได้รับเด็กเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ผู้รักษาควรให้เด็กรับปากและสัญญาว่าจะไม่ทำแบบเดียวกันอีก ก่อนวันนัดพบที่ผู้ป่วยนอก ให้ดูแลระมัดระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยของเด็กเท่าที่ทำได้ รวมทั้งแนะนำว่าถ้ามีปัญหารีบด่วนให้รีบมาโรงพยาบาลทันที

85 กระบวนการพยาบาล การช่วยเหลือเด็กในระยะวิกฤตเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากปัญหามักเกิดขึ้นฉับพลันและเด็กหลายรายไม่มาตรวจรักษาตามนัดในระยะเวลา การช่วยเหลือทางจิตใจและการพยายามติดตามการรักษา เช่น การติดต่อทางโทรศัพท์ การนัดมาพบแพทย์เป็นระยะๆ มีผลในการลดปัญหาและการพยายามฆ่าตัวตายซ้ำ การรักษาแบบใช้เทคนิคการเปลี่ยนวิธีคิดและสอนการแก้ปัญหาทั้งแบบตัวต่อตัวและทั้งครอบครัว โดยเน้นข้อดีที่มีอยู่และการทำสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้ดี ได้ผลดีในการลดความขัดแย้ง การโทษกันและความคิดในทางลบ ครอบครัวบำบัด มีความสำคัญในรายที่เหตุกระตุ้นเกิดความขัดแย้งในครอบครัว การช่วยให้ครอบครัวมีการสื่อสารที่ดี รับรู้ความคิด อารมณ์และปัญหาของสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งหาแนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงที่สมาชิกในครอบครัวจะคิดหรือพยายามฆ่าตัวตายซ้ำ นอกจากนั้น การช่วยเหลือรักษาโดยวิธีอื่น เช่น กลุ่มบำบัด และการใช้ยามีการใช้น้อย เนื่องจากปัญหาการเลียนแบบจากเด็กอื่นในกลุ่ม และการใช้ยาเป็นเครื่องมือในการฆ่าตัวตายตามลำดับ

86 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล : วัยรุ่นมีวิธีเผชิญปัญหาที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากมีความอดทน ต่อความคับข้องใจต่ำ วัตถุประสงค์ เพื่อให้วัยรุ่นรู้จักยับยั้งความต้องการของตนเองและยั้งคิดก่อนกระทำสิ่งต่าง ๆ การพยาบาล 1. แนะนำและร่วมกับวัยรุ่นให้รู้จักบอกความรู้สึกและความต้องการของตนเองต่อบุคคลอื่น และจัดสถานการณ์สมมติให้เด็กได้มีโอกาสฝึกฝนวิธีการดังกล่าว เช่น สอนให้เด็กรู้จักร้องขอสิ่งที่เด็ก ต้องการแก่ผู้เลี้ยงดูแทนการขโมย 2. แนะนำและร่วมกับให้วัยรุ่นรู้จักคิดก่อนทำ เพื่อพิจารณาให้รอบคอบว่าจะเกิดผลอะไรขึ้น ถ้าแสดงพฤติกรรมที่ต้องการแสดงออกไปทันที การคิดก่อนการทำจะช่วยลดความหุนหันพลันแล่น 3. จัดกิจกรรมที่เหมาะสมให้แก่วัยรุ่นเพื่อให้งานเป็นทางที่ระบายความคับข้องใจของวัยรุ่น เช่น กิจกรรมกีฬา ศิลปะ ดนตรี ตามที่วัยรุ่นสนใจและมีศักยภาพ

87 ข้อการวินิจฉัยทางการพยาบาลของผู้ที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย
Adolescent suicide เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากอุบัติเหตุ เนื่องจาก ถูกกระตุ้นได้ง่าย บกพร่องสัมพันธภาพกับผู้อื่น เนื่องจาก มีอารมณ์โกรธ บกพร่องในการดูแลสุขวิทยาตนเอง เนื่องจาก มีภาวะวิตกกังวล บกพร่องสัมพันธภาพทางสังคม เนื่องจากมีภาวะแยกตัว มีพฤติกรรมการนอนไม่เหมาะสม เนื่องจาก มีภาวะวิตกกังวล นอนไม่หลับ เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เนื่องจาก ความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ

88 สรุปวัตถุประสงค์ได้อะไร
Mental Retardation 1. 2. Autistic 3 ADHD 4 Conduct Disorder

89 “คนทุกคนเกิดมาเป็นคนดี สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูและ
เม่งจื้อ “คนทุกคนเกิดมาเป็นคนดี สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูและ คนรอบข้าง ทำให้บางคนเป็นคนเลว


ดาวน์โหลด ppt ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google