งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทที่ 8 การนำทีมงาน ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ภาวะผู้นำ ญาลดา

2 การสร้างทีมงาน จอห์นสัน และจอห์นสัน (Johnson and Johnson, 1991 : 436) กล่าวว่าทีม หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันมารวมตัวกันเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน เธอเมอฮอร์น ฮันท์ และออสบอน (Shermerhorn Hunt and Osborn, 1994 : 328) การสร้างทีมงาน หมายถึง การวางแผนงานล่วงหน้าที่จะเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลของการปฏิบัติงานของคณะบุคคล เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคณะบุคคล โดยเน้นในเรื่องของการทำงานร่วมกัน เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้น ภาวะผู้นำ ญาลดา

3 Teamwork หมายถึง กลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่มารวมตัวกันเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างให้สำเร็จร่วมกัน ซึ่งปกติแล้วงานดังกล่าว จะไม่มีใครสามารถกระทำมันให้สำเร็จลุล่วงแต่เพียงลำพังคนเดียวได้ ภาวะผู้นำ ญาลดา

4 Group & Team เน้นที่หัวหน้าและลูกทีมทุกคน
งานรับผิดชอบแต่ละคนและร่วมกัน เป้าหมายทีมกำหนดแยกออกต่างหาก ผลงานเป็นของทุกคนเท่ากัน เน้นที่หัวหน้ากลุ่ม งานรับผิดชอบแต่ละคน เป้าหมายเดียวกับองค์การ ผลงานเกิดจากแต่ละคน ภาวะผู้นำ ญาลดา

5 Group & Team มุ่งประสิทธิภาพ ส่งเสริมเปิดกว้างและแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว
ผลงานวัดในทางอ้อม อธิปราย ตัดสินใจ และมอบหมายงาน ส่งเสริมเปิดกว้างและแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ผลงานวัดทางตรง อธิปราย ตัดสินใจ และร่วมกันทำงานอย่างแท้จริง ภาวะผู้นำ ญาลดา

6 ประเภทของทีมงาน 1. คณะกรรมการ (Committee) 2. คณะทำงาน (Task force)
3. คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ (Ad hoc committee) 4. ทีมงานโครงการ (Project team) 5. กลุ่มหรือชมรมเฉพาะด้าน (Special groups and clubs) ภาวะผู้นำ ญาลดา

7 ประเภทของทีมงาน ทีมระดับบริหาร (ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงาน หัวหน้างาน) มีหน้าที่ในการกำหนดเป้าหมายขององค์กรและกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนา ประสานงานและควบคุมการทำงานของผู้อื่น จัดหาทรัพยากรและวางแผนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ภาวะผู้นำ ญาลดา

8 ประเภทของทีม 1. ทีมงานตามหน้าที่ (functional team)
เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงกิจกรรมในงานหรือการแก้ปัญหาภายในหน่วยงานเดียวกันให้ดีขึ้น ผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้าทีม ผู้ใต้บังคับบัญชาของหน่วยงานเป็นสมาชิกของทีม ภาวะผู้นำ ญาลดา

9 2. ทีมงานข้ามหน้าที่ (cross - functional teams)
เป็นงานคนละหน่วยงานกันทำหน้าที่แตกต่างกัน รวมทีมกันเฉพาะกิจ เกิดขึ้นชั่วคราว ทีมงานประกอบด้วยสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญหลายสาขาหลายหน่วยงาน ภาวะผู้นำ ญาลดา

10 3. ทีมงานบริหารตัวเอง ทีมงานกำกับตัวเอง
(self - managed team) ทีมงานกำกับตัวเอง ทีมงานที่ดำเนินงานโดยไม่มีผู้จัดการมาควบคุมและต้องรับผิดชอบงานร่วมตั้งแต่ต้นจนงานเสร็จ ภาวะผู้นำ ญาลดา

11 Self-direct teams ทีมงานอำนวยการด้วยตนเอง
วางแผน การตัดสินใจ และแก้ปัญหาทุกอย่าง จัดตาราง การทำงาน การควบคุมงาน ภาวะผู้นำ ญาลดา

12 การบริหารทีมด้วยตนเอง
ให้อำนาจตัดสินใจแบ่งงานภายในทีม ตัดสินใจกำหนดตารางการทำงานของทีม สามารถทำงานให้กับทีมมากกว่างานเดียว ฝึกอบรมให้ทีมงานสามารถทำงานได้ ประเมินผลการปฏิบัติงานของทุกคนในทีม ต้องรับผิดชอบร่วมกันในผลสำเร็จของงาน ภาวะผู้นำ ญาลดา

13 ความสำเร็จของทีมงานบริหารตนเอง
ประกอบด้วย 3 อย่าง 1. การใช้ทักษะที่หลากหลาย (Multiskilling) 2. การเข้าถึงทรัพยากร(Humanresurce) 3. การให้อำนาจ (Empowerment) ภาวะผู้นำ ญาลดา

14 ทีมงานเสมือนจริง(Virtual Teams)
เป็นทีมงานทำงานโดยการประสานเชื่อมโยงกับสมาชิกด้วยการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายข้อมูลและเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร ใช้การทำงานของทีมในรูปแบบหลายๆอย่าง การสับเปลี่ยนทำงานให้กับทีมสามารถทำได้อย่างรวดเร็วขึ้นอยู่กับงานที่ต้องปฏิบัติ ภาวะผู้นำ ญาลดา

15 การทำความเข้าใจกับลักษณะของทีม
ขนาด ความสัมพันธ์ระหว่างกัน การพึ่งพาซึ่งกันและกัน การพึ่งพากันที่เป็นขั้นตอน ความเกี่ยวข้องระหว่างกัน ภาวะผู้นำ ญาลดา

16 สรุปทีมที่ดี ประกอบด้วย
มีจิตใจมุ่งไปทางเดียวกัน สมาชิกต้องมีความต้องการและความเชื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน สนับสนุนซึ่งกันและกัน สมาชิกต้องพยายามช่วยในส่วนที่สมาชิกคนอื่นขาดเพื่อให้ทีมทำงานได้ สมาชิกต้องมีความต้องการที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมาย พร้อมที่จะทำทุกอย่างเพื่อความสำเร็จ และรวมพลังเพื่อความสำเร็จ สร้างบรรยากาศที่สนับสนุนให้เกิดการทำงานเป็นทีม สมาชิกต้องยอมเสียความสะดวกบ้าง สมาชิกต้องใจกว้างยอมรับความเห็นที่แตกต่างของผู้อื่น ทีมต้องหาโอกาสพบกันบ่อยๆ ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ภาวะผู้นำ ญาลดา

17 การพัฒนาทีมงาน การระดมความคิด การดำเนินงาน การก่อตัว บรรทัดฐาน
การปรับตัว การผูกมิตร ผู้นำ: การแลกเปลี่ยนทางสังคม การพัฒนาทีมงาน การระดมความคิด ความขัดแย้ง ความไม่ลงรอยกัน ผู้นำ: ส่งเสริมการส่วนร่วมอย่างผิวเผิน บรรทัดฐาน การออกคำสั่งและแรงยึดเหนี่ยว ผู้นำ: ช่วยให้บทบาทของทีมมีความชัดเจน มาตรฐาน การดำเนินงาน การร่วมมือ การแก้ปัญหา ผู้นำ: อำนวยให้การปฏิบัติงานมีความคล่องตัว ภาวะผู้นำ ญาลดา

18 ผู้นำส่งเสริมและก่อให้เกิดค่านิยมและบรรทัดฐาน มี3 แนวทางดังนี้
ผู้นำส่งเสริมและก่อให้เกิดค่านิยมและบรรทัดฐาน มี3 แนวทางดังนี้ เหตุการณ์วิกฤติ มักจะนำไปสู่การสร้างค่านิยม บรรทัดฐานและความเชื่อว่าเป็นแนวทางนำไปสู่พฤติกรรมของสมาชิกในทีมงาน ความสำคัญอันดับแรก หมายถึง พฤติกรรมแรกที่เกิดขึ้นในทีมงาน เมื่อมีการสร้างเรื่องราวบางอย่างขึ้นมาเพื่อการคาดหมายของทีมงาน สัญลักษณ์และถ้อยแถลงที่ชัดเจน เพื่อใส่บรรทัดฐานและค่านิยมของทีมงานเข้าไปเพื่อรักษาการเรียนรู้ ภาวะผู้นำ ญาลดา

19 ความยึดเหนี่ยวกันของทีมงาน
ปัจจัยที่กำหนดความยึดเหนี่ยว สร้างศรัทธาและความเข้าใจในการทำงานเพื่อความสำเร็จร่วมกัน 2. ผลที่ตามมาของความยึดเหนี่ยวกันของทีมงาน ขวัญและการปฏิบัติ ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทำ ภาวะผู้นำ ญาลดา

20 การบริหารความขัดแย้ง
ความขัดแย้ง หมายถึง - สภาพที่บุคคลเกิดความต้องการ มีจุดมุ่งหมายมากกว่าหนึ่งอย่างใน เวลาเดียวกัน - และทิศทางที่จะไปสู่การสนองความต้องการนั้น ไม่อาจไปด้วยกันได้ - ทำให้บุคคลเกิดสภาพที่ไม่พึ่งพอใจ หรือขัดเคืองใจ อันเป็นผลจากสภาพ ความขัดแย้งทีเกิดขึ้น และไม่อาจหาข้อยุติที่พึงพอใจกันได้ อาจเกิดขึ้นในตัวบุคคลเดียวกัน หรือ ระหว่างกลุ่มบุคคล บุคคลกับกลุ่ม กลุ่มกับกลุ่ม ภาวะผู้นำ ญาลดา

21 ความขัดแย้งของบุคคล : สาเหตุ
เกิดจากภูมิหลังของบุคคล เกิดจากแบบฉบับของแต่ละคน เกิดจากความรับรู้ เกิดจากกระบวนการสื่อสารของบุคคล เกิดจากสภาพขององค์การไม่เอื้ออำนวย เกิดจากความต้องการบุคคลไม่ได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม เกิดจากสถานภาพ ภาวะผู้นำ ญาลดา

22 ความขัดแย้ง (Conflict)
รูปแบบความขัดแย้ง (Types of Conflict) ความขัดแย้งในงาน (Task Conflict) ความขัดแย้งจากวิธีการทำงาน (Process Conflict) ความขัดแย้งจากความสัมพันธ์ (Relationship Conflict) รูปแบบความขัดแย้ง โดยเฉพาะความขัดแย้งจากความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่อันตรายมาก และที่สำคัญส่วนมากมันเกิดจากความขัดแย้งเรื่องงาน ภาวะผู้นำ ญาลดา

23 การบริหารความขัดแย้ง
ยืนกราน ร่วมใจ เรื่องด่วน สำคัญ รู้ว่า ถูกต้อง แก้เผ็ดคนเอาเปรียบ บูรณาการ เรียนรู้ด้วยกัน ความเห็นพ้อง พันธะสัญญา ประนีประนอม เป้าหมายสำคัญ สร้างความร่วมมือ ตั้งหลักก่อน ชื้อเวลา เล่นเกมส์ หลีกเลี่ยง ยินยอม เรื่องเล็ก ได้ไม่คุ้มเสีย ทำให้เย็นลง รอเก็บข้อมูล รู้ว่าผิด ทำให้คนอื่นพอใจ สร้างความน่าเชื่อถือ ดีกว่าเสียหน้า เพื่อความสามัคคี ภาวะผู้นำ ญาลดา

24 1. ตุ๊กตาหมี (ผ่อนปรน ,สัมพันธภาพราบรื่น)
“ตุ๊กตาหมี" เชื่อว่าความขัดแย้งหลีกเลี่ยงได้เพื่อเห็นแก่ความกลมเกลียว ยอมยกเลิกเป้าหมาย เพื่อรักษาสัมพันธภาพอันดีไว้ ข้อดี คือ ยังรักษาความสัมพันธ์ไว้ได้ แต่ข้อเสีย คือ อาจไม่เกิดผลในทางสร้างสรรค์ เงื่อนไขที่เหมาะสม ควรใช้เมื่อ การรักษาความสัมพันธ์สำคัญที่สุด การตกลงเรื่องข้อเปลี่ยนแปลงไม่สำคัญมากนักสำหรับฝ่ายผ่อนปรน แต่สำคัญกับอีกฝ่ายหนึ่ง เวลาในการแก้ไขความขัดแย้งมีจำกัด ภาวะผู้นำ ญาลดา

25 2. นกฮูก (เผชิญหน้ากัน,สุขุม)
จะมองความขัดแย้งว่าเป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข ให้คุณค่าแก่เป้าหมายและสัมพันธภาพ สิ่งที่ต้องการคือการบรรลุเป้าหมายของตนเองและผู้อื่น ข้อดี คือ มีแนวโน้มที่จะเป็นวิธีแก้ไขที่เหมาะที่สุดสำหรับความขัดแย้งซึ่งต้องอาศัยพฤติกรรมกล้าแสดงออก ส่วนข้อเสีย คือ ใช้เวลาและความพยายามมากกว่าวิธีอื่น เงื่อนไขที่เหมาะสม ควรใช้เมื่อ - การรักษาความสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญ - มีเวลา -เป็นความขัดแย้งระหว่างเพื่อน ภาวะผู้นำ ญาลดา

26 3.สุนัขจิ้งจอก (ประนีประนอม,แก้ปัญหาเฉพาะหน้า)
จะคำนึงถึงเป้าหมายส่วนตนและสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในระดับปานกลาง แสวงหาการประนีประนอม พร้อมและเต็มใจที่จะสละวัตถุประสงค์และสัมพันธภาพบางส่วนเพื่อหาข้อตกลงร่วมที่ดี ข้อดี คือ แก้ความขัดแย้งได้เร็ว และยังคงรักษาความสัมพันธ์ไว้ได้ แต่ข้อเสีย คือ นำไปสู่การตัดสินใจที่ทำให้ผลได้ลดลง และการใช้วิธีนี้บ่อยจะทำให้เกิดการเล่นเกม เช่น เรียกร้องให้มากไว้ก่อนให้มากเพื่อต่อรองการลดหย่อน เป็นต้น เงื่อนไขที่เหมาะสม -ควรใช้เมื่อประเด็นปัญหาซับซ้อนและวิกฤตและไม่มีวิธีแก้ที่ทำได้ง่าย -ทุกฝ่ายมีผลประโยชน์อย่างมาก ซึ่งผลประโยชน์นั้นขึ้นอยู่กับการใช้วิธีการแก้ที่ต่างกัน -เวลาสั้น ภาวะผู้นำ ญาลดา

27 วิธีจัดการความขัดแย้ง 4. แบบเต่า (หลีกเลี่ยง,ถอนตัว,หดหัว)
วิธีจัดการความขัดแย้ง 4. แบบเต่า (หลีกเลี่ยง,ถอนตัว,หดหัว) - มีลักษณะหลีกหนีความขัดแย้ง ยอมละวัตถุประสงค์และความสัมพันธ์ส่วนตัว โดยการหลีกเลี่ยงไม่เผชิญกับคู่กรณี จะไม่ตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแก้ปัญหา -ข้อดี คือ เป็นการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ส่วนข้อเสีย คือ ความขัดแย้งไม่ได้รับการแก้ไข และอาจทำให้สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิม -เงื่อนไขที่เหมาะสม ควรใช้เมื่อ -ความขัดแย้งไม่สำคัญมากนัก -การเผชิญหน้าจะทำลายความสัมพันธ์ซึ่งเป็นเรื่องวิกฤตของการทำงาน -มีข้อจำกัดด้านเวลาซึ่งทำให้ต้องหลีกเลี่ยงการขัดแย้ง ภาวะผู้นำ ญาลดา

28 5. ฉลาม (บังคับ,ชอบใช้กำลัง)
เป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้อำนาจตามตำแหน่ง คำนึงถึงเป้าหมายงานหรือความต้องการของตนเอง มากกว่าความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ข้อดี คือ เหมาะสำหรับการตัดสินใจในองค์การที่ยอมรับว่าผู้บังคับเป็นฝ่ายถูกและการบังคับได้ผลมากกว่าวิธีอื่น แต่ข้อเสีย คือ หากใช้วิธีนี้มากเกินไปทำให้เกิดความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ใช้ เงื่อนไขที่เหมาะสม ควรใช้เมื่อ - ความขัดแย้งเป็นเรื่องความแตกต่างส่วนบุคคล (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องค่านิยมซึ่งเปลี่ยนแปลงยาก) - การรักษาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดไม่ใช่เรื่องวิกฤต - การแก้ความขัดแย้งเป็นเรื่องรีบด่วน ภาวะผู้นำ ญาลดา

29 รูปแบบในการตัดสินใจแก้ปัญหาความขัดแย้ง
ท่าทีการแสดงออก การร่วมมือ (Collaborating) การแข่งขัน (Competing) แข็งกร้าว การประนีประนอม (Compromising) การหลีกเลี่ยง (Avoiding) การโอนอ่อนผ่อนตาม (Accommodative) ผ่อนปรน ท่านลองคิดดูซิว่าเมื่อท่านเจอกับปัญหาแล้วท่านจะจัดการกับมันอย่างไร ความสนใจต่อกัน ไม่สนใจ ยังอยากคบ ภาวะผู้นำ ญาลดา

30 ขั้นตอนการเข้าจัดการความขัดแย้ง
รูปแบบ สาเหตุ ผู้เกี่ยวข้อง การหลีกเลี่ยง คู่กรณีขาดเหตุผล ไม่อาจบรรลุข้อตกลงได้ตามต้องการ คู่กรณีไม่ยินดี ไม่เต็มใจ ไม่ประนีประนอม ไม่ยอมรับผิดชอบในความขัดแย้งของตน การแข่งขัน คู่กรณีต้องการที่จะจัดการความแตกต่าง แต่ไม่อาจบรรลุข้อตกลง คู่กรณีมีเหตุผลและความเต็มใจ จะรับผิดชอบความขัดแย้งของตน แต่ไม่เห็นด้วยในการหาข้อยุติ การประนีประนอม คู่กรณีตั้งใจจะจัดการความแตกต่าง และสามารถระดมสมองหาทางเลือกที่ 2 ฝ่ายพอใจ คู่กรณีที่มีเหตุผล และสามารถบรรลุข้อตกลง ด้วยตนเองได้ ทั้งคู่ มีทักษะในการสื่อสาร การร่วมมือ เป้าหมายการยุติปัญหา สามารถจะยกเลิก โดยทั้งสองฝ่าย ในประเด็นที่มีสาระสำคัญน้อยที่สุด ทุกฝ่ายเต็มใจ มีมุมมองแบบ ชนะ – ชนะ การโอนอ่อนผ่อนตาม เมื่อปัญหามีความสำคัญต่อบุคคลอื่นมากกว่าตัวเองมีการสร้างความน่าเชื่อถือทางสังคมมาใช้มีการรักษาความยึดเหนี่ยวต่อกันว่ามีความสำคัญยิ่ง ร่วมมือกันอย่างสูงไปได้ดีเมื่อบุคคลคิดว่าตนผิดมีเหตุผลและความเต็มใจ จะรับผิดชอบความขัดแย้งของตน ภาวะผู้นำ ญาลดา

31 จบบทที่ 8 แล้วจ้า ขอขอบคุณที่สนใจฟัง... ภาวะผู้นำ ญาลดา


ดาวน์โหลด ppt ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google