รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
Advertisements

หลักและทฤษฏีกฎหมายมหาชน
ความก้าวหน้าในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่
การส่งเสริมและสนับสนุน ให้สหกรณ์เป็นวาระ แห่งชาติ.
ข้อสรุปจากวีดีทัศน์ “ผีปู่แสะย่าแสะ” 1. การมีส่วนร่วมของชุมชน 2
ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ 8 พฤษภาคม 2558
และองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีสาขาระดับอำเภอ 6 สาขา
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
ทีมคลินิกเบาหวาน/ความดัน
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ประชาคมอาเซียน.
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
โดย.....นายมานะ ครุธาโรจน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลมณีราษฎร์คณาลัย ตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา “ป้องกันการทุจริต”
ประวัติ ส่วนตัว ชื่อ นางสาวสุภาวรรณ อินสวัสดิ์ อายุ ๒๘ ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๙ / ๕ หมู่ที่ ๑ ตำบลแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ การศึกษา.
วิสัยทัศน์ ประเด็น ยุทธศาสตร์ สิ่งสำคัญที่ต้องทำ ให้บรรลุ เพื่อตอบสนอง วิสัยทัศน์ เป้าประสง ค์ หลัก ประสิทธิภ าพ ผลสำเร็จ สูงสุดของ องค์กรซึ่ง ประชาชน.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ชุมชนปลอดภัย.
แผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ )
ความเป็นมา การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovation
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
การปกครองระบอบประชาธิปไตย
หลักการของจริยธรรมทางกฎหมาย
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
โดย อาจารย์เสาวณีย์ พุ่มท้วม
ระบบเศรษฐกิจ.
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
แผนการขายลูกค้า SMEs พื้นที่ บน.3.1 ขบน ก.พ
หลักธรรมาภิบาล ความหมายของธรรมาภิบาล
เวลา น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ชั้น 9
KMA หมวด 6 การจัดการกระบวนการ.
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
การวิเคราะห์องค์กร รู้จักตนเอง
ข้อเสนอต่อการพัฒนา ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ของประเทศไทย
สถานการณ์การเมืองของไทย
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
การแสดงเจตจำนงของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย
อำนาจอธิปไตย 1.
การประชุมคณะกรรมการความร่วมมือด้านการลงทุนของอาเซียน (CCI) ครั้งที่ ๖๔
จัดทำโดย นาย วรปรัชญ์ ชาวเมือง เลขที่ 8 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.3
โดย ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทที่ 4 หลักทฤษฎีและปฏิบัติการธุรกิจ ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ
อำนาจ การปกครอง และการระงับข้อพิพาท
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
ภาพรวมการพัฒนาสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ระดับโลก ระดับประเทศ ระดับท้องถิ่น ระดับโรงเรียน และตัวอย่างปฏิบัติการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง.
Legal Culture วัฒนธรรมทางกฎหมาย
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
. ระบบการปกครอง & การเมืองการปกครอง ของประเทศใน S.E.A.
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
วิชา สังคมไทยในบริบทโลก
การจัดองค์กรของรัฐในประเทศไทย ********************
กฎหมายกับเพศภาวะ Law & gender
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
(Code of Ethics of Teaching Profession)
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
จริยธรรม (Ethics) คืออะไร
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักรัฐศาสตร์ PPA 1101 รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

หัวข้อในการบรรยาย 1.เสรีนิยม 3.สังคมนิยม 2.อนุรักษ์นิยม 4.ฟาสซิสม์ ความหมาย “อุดมการณ์” องค์ประกอบของอุดมการณ์ อุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ 1.เสรีนิยม 3.สังคมนิยม 2.อนุรักษ์นิยม 4.ฟาสซิสม์

ความหมาย “อุดมการณ์” อุดมการณ์ (Ideology) ถูกบัญญัติโดย นักปราชญ์ ชาวฝรั่งเศส อังทอยน์ เดสตู เดอเทรซี (Antoine Destutt de Tracy) เพื่อใช้อธิบายศาสตร์ว่าด้วยความคิด (Science of Idea) เมื่อพิจารณาแล้ว คำว่า Ideology มาจากคำว่า “Idea” ผสม กับ “Ology” เพื่อแสดงความแตกต่างจากศาสตร์เดิม อภิปรัชญา (Natural Science) โดยนำมาใช้ในแนวทางการศึกษาทางด้านจิตวิทยา (Psychology) เพื่อศึกษาว่า ความคิดของคนเรามีจุดเรื่มต้นมาได้อย่าไร

ความหมาย “อุดมการณ์” ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ให้ความหมายของอุดมการณ์ว่า “เป็นระบบความเชื่อหรือระบบความคิดที่อธิบายถึงบทบาทของคนในสังคม อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม คนกับรัฐ และอธิบายสภาพความเป็นไปทางสังคมว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นและน่าพึงปรารถนาหรือไม่ ในความเห็นความเชื่อของอุดมการณ์ทางการเมืองนั้นว่ามีอย่างไร ควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนแปลงจะมีวิธีการอย่างไร”

องค์ประกอบ 1.ค่านิยม (value) ค่านิยมกูกใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินในการตัดสินความคิด ความเชื่อ ทุกคนต่างล้วนมีค่านิยมที่เห็นว่าอุดมการณ์ ทางการเมืองที่ตัวเองเชื่อมั่นนั้นย่อมดีกว่ากว่าอีก อุดมการณ์ที่เห็นต่างกันเสมอ

องค์ประกอบ 2.วิสัยทัศน์ต่อสังคมการเมืองในอุดมคติ(Vision of the Ideal Polity) แต่ละอุดมการณ์ต่างมีวิสัยทัศน์ว่า สังคมการเมืองควร จะมีลักษณะอย่างไร หากมีโอกาสบริหารจัดการ เช่น มาร์ก ซิสม์ (Marxism) เห็นว่าการถือครองกรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินของปัจเจกชน (Private Property) จะไม่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันเมื่อปัจเจกชนไม่สามารถครอง กรรมสิทธิฯ ชนชั้นในสังคมก็จะสูญสลายไป ไม่มีชนชั้นใดมี อำนาจและกดขี่ขูดรีดเหนือชนชั้นอื่น

องค์ประกอบ 3.มโนทัศน์ว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์ (Conception of Human Nature) อุดมการณ์ต่างๆมีความคิด ความเชื่อ ถึงธรรมชาติของ มนุษย์ว่าเป็นอย่างไร เช่น เสรีนิยมคลาสสิค (Classical Liberalism) เชื่อว่าโดยธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน ต้องการเลือกตัวแทนและนโยบายที่ดีที่สุดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ ดี ดังนั้นเมื่อระบบการเมืองเปิดโอกาสให้มีการเปิดข้อเท็จจริง ของนโยบาย และความคิดทางการเมืองของนักการเมือง ผ่านการหาเสียงเลือกตั้ง ประชาชนย่อมต้องเลือกแนวทางที่ ดีที่สุดเพื่อประโยชน์แก่ตนเองที่จะได้รับ

องค์ประกอบ 4.ยุทธศาสตร์ (Strategy of Action) การเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองที่เป็นอยู่ให้เป็นสังคม การเมืองที่ตนเองใฝ่ฝัน เช่น มาร์กซิสม์ พยายามสร้าง จิตสำนึกทางชนชั้น (Class Consciousness) ให้เกิดขึ้นในหมู่กรรมกรผู้ใช้แรงงาน เพื่อล้มล้างระบบ ทุนนิยมแล้วแทนที่ด้วยระบบสังคมนิยม หรือเสรีนิยมที่ ไม่ต้องการให้รัฐเข้ามาแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษบกิจ ของประชาชน ตลอดจนการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ

องค์ประกอบ 5.ยุทธวิธีทางการเมือง (Political tactics) อุดมการณ์ทางการเมืองแต่ละประเภทต่างมียุทธวิธีทางการเมือง ของตน แม้กระทั่งอุดมการณ์เดียวกัน ก็ยังมียุทธวิธีแผนในการ ปฏิบัติแตกต่างกัน เช่น สังคมนิยม แตกแขนงออกไปเป็นสังคม นิยมมาร์กซิสม์ (Marxist Socialism) และสังคมนิยม ประชาธิปไตย (Social Democratic) ขณะที่สังคมนิยม มาร์กซิสม์ เห็นว่าระบบทุนนิยมจะล่มสลายได้ต้องใช้กำลังโค่นล้ม โดยชนชั้นกรรมกรเท่านั้น แต่สังคมนิยมประชาธิปไตย ปฏิเสธการ ใช้ความรุนแรง อีกทั้งศรัทธาสถาบันการเมืองในระบอบ ประชาธิปไตยว่า จะทำให้อุดมการณ์ของสังคมนิยมบรรลุผลได้

อุดมการณ์ทางการเมือง ที่สำคัญ อุดมการณ์ทางการเมือง ที่สำคัญ

เสรีนิยม

เสรีนิยม (Liberalism) เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่เป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย และระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม อย่างไรก็ตาม เป็นอุดมการณ์เสรีนิยมในยุคแรกแตกต่างจากยุคสมัยใหม่ จากจุดเริ่มต้นที่มุ่งต่อต้านอำนาจเด็ดขาดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สนับสนุนอำนาจของประชาชนผ่านการมีรัฐบาลที่มาจากตัวแทนประชาชน มาสู่ยุคสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นจำกัด การใช้อำนาจของรัฐเหนือสังคมในทุกรูปแบบ สนับสนุนส่งเสริมเศรษฐกิจเสรีในระบบทุนนิยม

เสรีนิยม (Liberalism) 1.ปัจเจกชนนิยม (Individualism) ให้ความสำคัญต่อตัวมนุษย์แต่ละคน 2.เสรีภาพ (Freedom) เสรีภาพที่อยู่ภายใต้กฎหมาย 3.เหตุผล (Reason) ความก้าวหน้าของสังคมมนุษย์ จะเกิดขึ้นได้ด้วยแลกเปลี่ยนความเห็น 4.ความเสมอภาค (Equality) ทุกคนมีความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย ทางการเมือง

เสรีนิยม (Liberalism) 5.ขันติธรรม (Toleration) การยอมรับต่อความคิด การพูด ของบุคคลที่แตกต่างจากตน 6.ฉันทานุมัติ (Consent) กฎหมาย ข้อระเบียบ ที่ใช้บังคับแก่คนทั้งหลายในสังคม ต้องได้รับความเห็นชอบโดยสมาชิกของสังคมนั้น 7.รัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) ให้รัฐธรรมนูญเป็นกลไกลในการจรรโลงระบอบการเมืองที่เป็นธรรม

เสรีนิยม (Liberalism) เสรีนิยมคลาสิก (Classical Liberalism) การเปิดโอกาสให้ปัจเจกชนผลิตสินค้าและบริการ และการซื้อขายแลกเปลี่ยนอย่างเสรี (Laissez- faire) ในระบบเศรษฐกิจ เพื่อสนองตอบความต้องการของปัจเจกชน โดยที่รัฐต้องปล่อยให้ปัจเจกชนมีอิสระในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยไม่ต้องวิตกกังวลว่า ระบบเศรษฐกิจจะเกิดปัญหา อดัม สมิทธ (Adam Smith) แนวคิดที่สำคัญคือ “มือที่มองไม่เห็น” (Invisible Hand) เป็นตัวกำหนดราคาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเอง แนวคิดของสมิธจึงมีลักษณะเป็นเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) หรือตลาดที่มีการแข่งขันอย่างเสรี จำกัดอำนาจของรัฐบาลให้เป็นเพียง ผูตรวจเวรยามยามค่ำคืน (Night Watchman)

เสรีนิยมสมัยใหม่ (Modern Liberalism) เสรีนิยมสมัยใหม่ คือ การดึงรัฐกลับเข้ามามีบทบาท เป็นรัฐบาลที่เข้ามาแทรกแซง (Interventionist Government) ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อปกป้องคุ้มครองปัจเจกชนที่ไม่สามารถเอาตัวรอดในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งนักเสรีนิยมสมัยใหม่เชื่อว่าไม่ได้เสรีอย่างที่กล่าวอ้าง แต่เป็นระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมที่ไร้ความยุติธรรม ฝากความหวังไว้กับกลไกตลาดโดยปราศจากกรควบคุมดูแลของรัฐ รูปธรรมของเสรีนิยมสมัยใหม่ เช่น บทบาทของรัฐในการแทรกแซงทาง ศ. ในยุคภาวะ ศ. ตกต่ำ ปี 1930 ของรัฐบาลประธานาธิบดี รูสเวลท์ (franking Roosevelt) ผ่านนโยบาย New deal

อนุรักษ์นิยม (Conservatism)

อนุรักษ์นิยม (Conservatism) พวกอนุรักษ์นิยมได้รับชื่อว่าเป็นพวกฝ่ายขวา พวกปฏิกริยา (Reactionary) พวกระมัดระวัง (Cautious)ทางสายกลาง(Moderate) และเชื่องช้า (Slow) ตามประวัติศาสตร์ พวกอนุรักษ์นิยมเกิดขึ้นเมื่อประมาณศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นการต่อต้านอิทธิพลของการปฏิวัติฝรั่งเศส

อนุรักษ์นิยม (Conservatism) 1. ระเบียบและความมั่นคง (Order and Stability) พวกอนุรักษ์นิยมเชื่อมั่นว่าระเบียบและความมั่นคง เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องรักษาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเรื่อง ศาสนา ชาติกำเนิด และความรักชาติ ซึ่งจะต้องเป็นสิ่งที่ควรหวงแหนไว้มากกว่าสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น

อนุรักษ์นิยม (Conservatism) 2. ประสบการณ์ (Experience) อุดมการณ์อนุรักษ์นิยม มีแนวคิดที่เชื่อมั่นในประสบการณ์ มากกว่าเหตุผล ซึ่งไม่ได้หมายความว่าพวกนี้จะเป็นผู้ไม่มีเหตุผล หากแต่พวกเขาไม่เชื่อในแบบร่างของการปฏิวัติไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เพราะเขามีความเห็นในแง่ลบต่อธรรมชาติของมนุษย์ ไม่เชื่อว่ามนุษย์จะเป็นผู้ใช้หลักเหตุผลได้อย่างถูกต้อง

อนุรักษ์นิยม (Conservatism) 3. ความหลากหลาย (Diversity) พวกอนุรักษ์นิยมไม่เชื่อในความเป็นสากล เขาเชื่อว่าถึงแม้ว่ากฎหมายบางฉบับจะใช้การได้ดีในประเทศหนึ่ง แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะใช้ได้ดีในทุกๆ ประเทศ ดังนั้นประเทศแต่ละประเทศควรจะมีวิถีการพัฒนาเป็นของตัวเอง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละประเทศ

อนุรักษ์นิยม (Conservatism) 4. ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน (Gradual Change) พวกอนุรักษ์นิยม ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เขาต้องการให้มันเกิดขึ้นอย่างค่อย ๆ เป็น ค่อยๆ ไป ดังนั้นพวกอนุรักษ์นิยมจึงมีความหวาดกลัวต่อการปฏิวัติเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นการถอนราก ถอนโคน ระบบสังคมแบบเดิม หากเลือกได้เขาจะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ

สังคมนิยม (Socialism)

สังคมนิยม (Socialism) สังคมนิยมในยุคแรก มีเป้าหมายเพื่อล้มล้างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่เปิดโอกาศให้ปัจเจกชนมีเสรีภาพในทางเศรษฐกิจ มิสิทธิในการครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ด้วยการนำระบบสังคมนิยมที่ให้ทุกคนเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกันมาใช้ นักคิดแนวนี้คือ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) จุดประสงค์ คือ ต้องการทำลายแนวคิดแบบประชาธิปไตย ที่มีลักษณะเป็นเหมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก จึงต้องการสร้างสังคมที่ปราศจากชนชั้น

สังคมนิยม (Socialism) องค์ประกอบของอุดมการณ์สังคมนิยม 1.ชุมชน (Community) ให้ความสำคัญต่อชุมชนมากกว่าปัจเจกชน 2.ภารดรภาพ (Fraternity) เน้นในเรื่องของความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน 3.ความเสมอภาคทางสังคม (Social Equality) เป็นความเสมอในผลลัพธ์ที่บุคคลจะได้รับจากสังคม ไม่ใช่ความเสมอภาคทางโอกาสเท่านั้น 4.ความจำเป็น (Needs) ทรัพยากรควรกระจายให้ประชาชน โดยยึดหลักความจำเป็น ไม่ใช่จากผลของงาน 5.ชนชั้นทางสังคม (Social Class) ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้ เพราะสังคมมีการแบ่งชนชั้น ในสังคมทุนนิยม ชนชั้นแรงงานเป็นชนชั้นที่ถูกกดขี่ 6.การมีสิทธ์ร่วมกัน (Common Ownership) กรรมสิทธิของชุมชนโดยส่วร่วม

สังคมนิยม (Socialism) สังคมนิยมมาร์กซิส (Marxist Socialism) Marx คิดว่าสังคมสมัยใหม่ประกอบด้วยชนชั้นหนึ่ง (นายทุน) อยู่เหนืออีกชนชั้นหนึ่ง (คนทำงาน) เหตุที่ความตึงเครียด ซึ่งสร้างขึ้นโดยการมีอำนาจเหนือกว่า ทำให้คนทำงานต้องถูกควบคุม และนี้คือเหตุผลว่ารัฐจึงเป็นสิ่งที่ต้องการ รัฐจะคอยควบคุมคนทำงานให้อยู่ภายใต้การควบคุมบางส่วนด้วยกำลัง (ตำรวจ) และบางส่วนด้วย จูงใจให้เข้ากับระบบที่เป็นอยู่ในโรงเรียน และอื่นๆ แต่แล้วในที่สุดคนทำงานจะปฏิวัติ และตั้งระบบสังคมนิยม ซึ่งชนชั้นหนึ่งจะไม่มีอำนาจเหนือชนชั้นหนึ่ง และในที่สุด รัฐจะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปและสลายตัวไปเอง

สังคมนิยม (Socialism) คอมมิวนิสม์ (Communism) คำว่า'คอมมิวนิสต์' (Communist) เริ่มมีขึ้นราว ปี พ.ศ. 2377-2382 พวกสมาคมลับที่จะปฏิวัติฝรั่งเศสคิดขึ้น หมายถึง "การรวมกันของบรรดาทรัพย์สิน เป็นของกลางร่วมกันทั้งหมด" (Community of goods) โดยเห็นว่าความไม่เท่าเทียมกันของ ความสุขสมบูรณ์และความยากจนของมนุษย์ ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ต่างคนต่างเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน

สังคมนิยม (Socialism) คอมมิวนิสม์ (Communism) เลนิน ( V.I LENIN ) ปัญญาชนชาวรัสเซีย ได้นำมาหลักปฏิบัติของ Marx เพื่อสร้างพรรคบอลเชวิค และนำการปฏิวิติรัสเซีย จนได้ถอดเป็นบทเรียน และพัฒนาต่อเป็น ลัทธิเลนิน ซึ่งเป็นแบบอย่างของการปฏิวัติทั่วโลก ชาวคอมมิวนิสต์ทั่วโลก จึงนำทฤษฎีทั้งสองบูรณการเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า (Marxism-Leninism)

สังคมนิยม (Socialism) สังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democracy) สังคมนิยมประชาธิปไตยปฏิเสธการใช้ความรุนแรง โดยเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ระบอบสังคมนิยมสามารถดำเนินการด้วยกระบวนการประชาธิปไตยที่สันติ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพและแข่งขันทางการเมืองผ่านการจัดตั้งพรรคการเมือง สังคมนิยมประชาธิปไตยเป็นส่วนผสมระหว่างสังคมนิยมมาร์กซิสม์ กับเสรีนิยมคลาสสิก โดยให้การยอมรับในระบบทุนนิยมว่า เป็นเพียงกลไกที่จะก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ ข้อแตกต่างจากข้ออุดมกาณ์เสรีนิยมคลาสสิกคือ ความมั่นคงที่เกิดขึ้นจากระบบทุนนิยมจะต้องมีการกระจายไปยังคนทั้งหลายในสังคม โดยใช้หลักเกณฑ์ทางศีลธรรมไม่ใช่หลักกลไกตลาด

ฟาสซิสม์ (Fascism) 

ฟาสซิสม์ (Fascism)  คือแนวคิดทางการเมืองที่เป็นชาติ-อำนาจนิยมมูลวิวัติขบวนการฟาสซิสต์รุ่นแรก ๆ กำเนิดขึ้นในประเทศอิตาลีราวสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยได้รับอิทธิพลจากสหการนิยมชาติ (national syndicalism) เป็นลัทธิตรงข้ามกับคอมมิวนิสต์ สังคมนิยม เสรีประชาธิปไตย และอนุรักษนิยมดั้งเดิม  ลัทธิฟาสซิสต์จะถูกจัดเป็น "ขวาจัด" คือการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ตัวผู้นำแบบเบ็ดเสร็จ มีอำนาจสั่งการทุกอย่างในแผ่นดินฟาสซิสต์นั้นเชื่อในความไม่เสมอภาคของมนุษย์ เชื่อว่าผู้นำมีคุณสมบัติเหนือประชาชนฉะนั้นประชาชนต้องเชื่อผู้นำ และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำโดยเคร่งครัด ซึ่งต่างจากคอมมิวนิสต์ที่มีแนวคิดให้คนทุกคนเท่าเทียมกัน

ฟาสซิสม์ (Fascism) องค์ประกอบของอุดมการณ์ฟาสซิสม์ 1.รัฐนิยม อุดมการณ์ฟาสซิสม์ ให้การยึดถือว่ารัฐเป็นสิ่งเหนือสิ่งอื่นใด หากรัฐปล่อยให้ปัจเจกชนอยู่เหนือรัฐ ความต้องการของปัจเจกชน จะทำให้เกิดการบ่อนทำลายรัฐ

ฟาสซิสม์ (Fascism) องค์ประกอบของอุดมการณ์ฟาสซิสม์ 2.ชนชั้นนิยม อุดมการณ์ฟาสซิสม์ ให้ความสำคัญกับชนชั้นนำมาก โดยให้ เหตุผลว่า สติปัญญา ความฉลาดติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ชนชั้น ปกครองที่ดีต้องมาจากสายเลือดของชนชั้นสูง 3.ชาตินิยม การให้ความสำคัญกับชาติของตนเองว่าอยู่เหนือชนชาติอื่นๆ โดยแนวคิดนี้ถูกผสานรวมกับแนวคิดเรื่องเชื้อชาติที่แบ่งแยกโดย สี ผิว หน้าตา พรรณธุกรรม