การบัญชีสำหรับ กิจการขายผ่อนชำระ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สินค้าคงเหลือ - วิธีราคาทุน
Advertisements

บทที่ 2 การลงทุนในหุ้นสามัญ
“กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ”
บทที่ 1 การรวมธุรกิจ.
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 101 หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
บทนำ บริษัทในเครือมักจะมีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกัน
1. 2 งบประมาณ ทั้งสิ้น 33, ลบ. งบประจำ ลบ. (0.37%) งบ บุคลากร ลบ. (0.25%) งบ ดำเนินงา น ลบ. (0.12%) งบลงทุน 33,
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
BUNCHEE TIPS BY AOODY FOR MM MEETING ON FEBUARY 17, 2014.
ระดับทะเลปานกลาง (MSL)
โดย นายพิพัฒน์พงศ์ จิตต์เทพ
1.
โปรแกรมสต๊อกสินค้า และ โปรแกรมขายหน้าร้าน Nanosoft Smart INV.NET วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปและการ ประยุกต์ใช้งาน อ. วิสุตร์ เพชรรัตน์
คำแนะนำ นายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน พ. ศ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน พ.
บัญชีกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน. ประเด็นสำคัญ  การปฏิบัติการเบื้องต้นเกี่ยวกับ การเงินการบัญชี  ขั้นตอนการจัดทำบัญชี  การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับ 1. การรับเงินค่าหุ้น.
1) จำนวนเงินใน Slip Carbon ไม่ตรงกับ ยอดเงินของโรงเรียน สาเหตุที่ยอดเงินใน Slip Carbon ไม่ตรง กับโรงเรียนเนื่องจาก  โรงเรียนชำระเงินสะสม 3% ที่ธนาคารไทย.
สัญญาก่อสร้าง.
กระบวนการทางการบัญชี บันทึก  สมุดรายวันขั้นต้น
บทเรียนโปรแกรมเพื่อการทบทวน
ระบบการควบคุมภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 7
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
บทที่ 7 งบประมาณ.
บทที่ 10 งบลงทุน ผศ. อรทัย รัตนานนท์ รศ.อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน.
ACCOUNTING FOR INVENTORY
วัฏจักรทางการบัญชีและการวิเคราะห์รายการค้า
การเงินธุรกิจ (Business Finance) รหัสวิชา FIN1104
การบัญชีชั้นกลาง 2 เรื่อง หนี้สินหมุนเวียน และ หนี้สินระยะยาว
การบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชี
บทที่ 13 นโยบายเงินปันผล (DIVIDENE POLICY)
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน
บทที่ 1 หน่วยผลิตและทางเลือกภายใต้โครงสร้างตลาด
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
วัสดุคงเหลือ.
การวิเคราะห์ ต้นทุน ปริมาณ กำไร
บทที่ 5 การวางแผนทางการเงิน ผศ. อรทัย รัตนานนท์ รศ.อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
การบริหารจัดการหนี้ค้างชำระ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
งบการเงินตามแนวคิดการบริหารและต้นทุนจริง
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
กองทุนเงินทดแทน ประกันสังคม.
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 7
คำแนะนำ ฯ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน
บทที่ 8 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์-ค่าเสื่อมราคาและการด้วยค่า
บทที่ 3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ต้นทุน-ปริมาณ-กำไร
กฎหมายเอกเทศสัญญา 1 อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 13.
สรุปมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาก่อสร้าง
ตัวอย่างการจัดทำรายงานการผลิต และงบการเงิน
สินค้าคงเหลือ-การวัดมูลค่าวิธีอื่น
บทที่ 9 งบประมาณการลงทุน
ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในรูปแบบ Feed-in Tariff พ.ศ
การเงินทางธุรกิจ (Business Finance) รหัสวิชา FIN1103
บทที่ 6 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน
ข้อดี ข้อเสีย ของ ค่าเงินบาทแข็ง
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
ขอบเขต ถือปฏิบัติกับการรับรู้รายการ การวัดมูลค่า และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ครอบคลุมถึง การวัดมูลค่าของผลประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ถือไว้
การจัดการเงินสด และหลักทรัพย์ ในความต้องการของตลาด
Business Finance FI 212 Lectured By ญาลดา พรประเสริฐ.
การจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม
การวิเคราะห์งบการเงิน
อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน)
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทที่ 2 งบการเงิน ความหมายของงบการเงิน
บทที่ 9 สมุดรายวันเฉพาะและสมุดบัญชีแยกประเภทย่อย
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การบัญชีสำหรับ กิจการขายผ่อนชำระ อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร

ความหมายและลักษณะของการขายผ่อนชำระ การขายผ่อนชำระ (Installment sales) หมายถึง การขายสินค้าหรือบริการที่ผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อจ่ายชำระเงินเป็นงวดๆ ติดต่อกันภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยปกติผู้ขายมักจะกำหนดให้ผู้ซื้อจ่ายชำระเงินล่วงหน้าเป็นจำนวนหนึ่ง เรียกว่า เงินดาวน์ (Down Payment) การขายผ่อนชำระมักจะนิยมใช้กับสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูง เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อุปกรณ์สำนักงาน และที่ดินจัดสรร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายผ่อนชำระเป็นจำนวนค่อนข้างสูง ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดทุนที่จะเกิดขึ้นจากการขายผ่อนชำระ ผู้ขายจึงมักทำเป็นสัญญาซื้อขายแบบมีเงื่อนไข เรียกว่า สัญญาเช่าซื้อ โดยระบุสัญญาให้กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่ขายยังไม่ตกเป็นของผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะชำระเงินครบถ้วนแล้ว อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร

หลักการบัญชี วิธีการบัญชี และการแสดงข้อมูลในงบการเงินเกี่ยวกับการขายผ่อนชำระ การขายผ่อนชำระต้องใช้เวลาในการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ค่อนข้างนาน ทำให้เกิดความเสี่ยงในการที่จะเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ และยังมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายผ่อนชำระเกิดขึ้นภายหลังงวดบัญชีที่มีการขายผ่อนชำระเป็นจำนวนมาก จึงมีการยอมรับหลักบัญชีที่ว่า จะรับรู้กำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระตามส่วนของเงินที่เก็บได้ วิธีการขายผ่อนชำระ เป็นวิธีการบัญชีที่บันทึกรายได้จากการขายผ่อนชำระเฉพาะกำไรขั้นต้นที่คำนวณตามส่วนของเงินสดที่ได้รับชำระจากลูกหนี้ในแต่ละปี ส่วนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายผ่อนชำระถือเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปีที่เกิดขึ้น อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร

สำหรับวิธีการขายผ่อนชำระนั้น ในงบกำไรขาดทุน จะแสดงยอดขายผ่อนชำระหักด้วยต้นทุนขายผ่อนชำระ ผลลัพธ์ที่ได้คือ กำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระปีปัจจุบันทั้งหมด แล้วจึงนำส่วนของกำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระปีปัจจุบันส่วนที่ยังไม่ได้รับเงินมาหักออก ผลลัพธ์ที่ได้คือ รายได้จากการขายผ่อนชำระปีปัจจุบัน ส่วนกำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระในปีก่อนๆ ที่ได้รับเงินในปีปัจจุบันก็ถือเป็นรายได้ในปีปัจจุบันให้นำมาบวก ผลลัพธ์ที่ได้คือกำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระทั้งสิ้นที่ได้รับเงินแล้วซึ่งถือว่าเป็นรายได้ในปีปัจจุบัน ในงบดุล ลูกหนี้จากการขายผ่อนชำระจะแสดงเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน กำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระส่วนที่ยังไม่ได้รับเงิน จะแสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียนในหัวข้อรายได้รอตัดบัญชี อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร

ตัวอย่าง บริษัท พิศุทธิ์ จำกัด ขายสินค้าโดยวิธีขายผ่อนชำระ ข้อมูลทางบัญชีเกี่ยวกับการขายผ่อนชำระสำหรับระยะเวลา 3 ปี มีดังนี้ ใช้วิธีบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง(Perpetual Inventory Method) หน่วย : บาท 25x1 25x2 25x3 ขายผ่อนชำระ 200,000 400,000 600,000 ต้นทุนขายผ่อนชำระ 160,000 280,000 360,000 กำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระ 40,000 120,000 240,000 อัตรากำไรขั้นต้น 20% 30% 40% จำนวนเงินที่ได้รับชำระหนี้ จากการขายปี 25x1 - เงินดาวน์ 20,000 - - - ลูกหนี้ 40,000 120,000 20,000 จากการขายปี 25x2 - เงินดาวน์ - 40,000 - - ลูกหนี้ - 150,000 180,000 จากการขายปี 25x3 - เงินดาวน์ - - 60,000 - ลูกหนี้ - - 240,000 กำไรขั้นต้นที่ได้รับเงิน 20% ของเงินที่เก็บจากการขายปีx1 12,000 24,000 4,000 30% ของเงินที่เก็บจากการขายปีx2 - 57,000 54,000 40% ของเงินที่เก็บจากการขายปีx3 - - 120,000 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 3,000 20,000 50,000

ต้นทุนขายผ่อนชำระ 160,000 วันที่ขายสินค้า 25x1 : เงินสด 20,000 ขายผ่อนชำระ 200,000 บันทึกขายสินค้าโดยผ่อนชำระและรับเงินดาวน์ ต้นทุนขายผ่อนชำระ 160,000 สินค้าคงเหลือ 160,000 บันทึกต้นทุนขายผ่อนชำระ วันที่รับชำระเงิน : เงินสด 40,000 ลูกหนี้ขายผ่อนชำระ 40,000 บันทึกการรับชำระเงินจากลูกหนี้ วันที่จ่ายค่าใช้จ่าย : ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 3,000 เงินสด 3,000 บันทึกค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร วันสิ้นงวดบัญชี : กำไรขั้นต้นขายผ่อนชำระที่ยังไม่ได้รับเงิน 40,000 กำไรขั้นต้นขายผ่อนชำระรอตัดบัญชีปี x1 40,000 บันทึกกำไรขั้นต้นขายผ่อนชำระรอตัดบัญชีสำหรับปี x1 กำไรขั้นต้นขายผ่อนชำระรอตัดบัญชีปี x1 12,000 กำไรขั้นต้นขายผ่อนชำระที่ยังไม่ได้รับเงิน 12,000 บันทึกการโอนกำไรขั้นต้นขายผ่อนชำระที่ได้รับเงินแล้วเป็นรายได้ วันสิ้นงวดบัญชี : ขายผ่อนชำระ 200,000 ต้นทุนขายผ่อนชำระ 160,000 กำไรขั้นต้นขายผ่อนชำระที่ยังไม่ได้รับเงิน 28,000 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 3,000 กำไรขาดทุน 9,000

บริษัท พิศุทธิ์ จำกัด งบกำไรขาดทุน บริษัท พิศุทธิ์ จำกัด งบกำไรขาดทุน สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x1 หน่วย : บาท ขายผ่อนชำระ 200,000 หัก ต้นทุนขายผ่อนชำระ 160,000 กำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระ 40,000 หัก กำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระที่ยังไม่ได้รับเงิน 28,000 กำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระที่ได้รับเงินแล้ว 12,000 หัก ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 3,000 กำไรสุทธิ 9,000 งบดุล (บางส่วน) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x1 หน่วย : บาท สินทรัพย์หมุนเวียน ลูกหนี้ขายผ่อนชำระปีx1 140,000 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน กำไรขั้นต้นขายผ่อนชำระรอการตัดบัญชีปีx1 28,000

สินค้ารับแลกเปลี่ยน วิธีการแข่งขันกับผู้ขายรายอื่นที่ขายสินค้าประเภทเดียวกันและยังเป็นวิธีจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้าใหม่ของกิจการที่ขายสินค้าโดยวิธีการขายผ่อนชำระ กิจการจะยินยอมให้ลูกค้านำสินค้าเก่าที่ใช้อยู่มาแลกเปลี่ยนสินค้าใหม่ โดยผู้ขายจะตีราคาสินค้าเก่าสูงกว่าราคาตลาด และถือว่าราคาสินค้าที่ตีให้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการชำระค่าสินค้าใหม่ ส่วนที่เหลือให้ลูกค้าผ่อนชำระเป็นงวดๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด หลักการบัญชีของสินค้ารับแลกเปลี่ยน บันทึกสินค้ารับแลกเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ของกิจการไว้ในราคาตลาดที่แท้จริง ผลต่างระหว่างราคาที่ผู้ขายคิดให้กับราคาตลาดที่แท้จริงของสินค้ารับแลกเปลี่ยน คำนวณหาอัตรากำไรขั้นต้นได้จากยอดขายผ่อนชำระสุทธิ ตัวอย่าง วันที่ 1 สิงหาคม x1 บริษัท กะรัต จำกัด ขายรถยนต์คันหนึ่งราคา 800,000 บาท ราคาทุน 516,750 บาท โดยลูกค้าได้นำรถยนต์เก่าใช้แล้วมาแลกเปลี่ยน บริษัทตีราคาให้ 70,000 บาท ซึ่งถือเป็นเงินดาวน์ในการชำระค่ารถยนต์ รถยนต์เก่านี้จะประมาณราคาขายได้100,000 บาท หลังจากซ่อมแซมแล้วเป็นเงิน 15,000 บาท คิดกำไรขั้นต้น 20% ในวันที่ 1 สิงหารคม x1 ลูกค้าจะต้องนำเงินสดมาจ่ายเป็นเงินดาวน์ให้บริษัทอีก 30,000 บาท ตามสัญญาขายผ่อนชำระที่เหลือเป็นระยะเวลา 10 เดือน เดือนละเท่าๆ กันทุกวันที่1 ของเดือนโดยเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน x1 ราคารถยนต์เก่าที่แลกเปลี่ยนบริษัทคิดให้ 70,000 หัก ราคาตลาดที่แท้จริงของรถยนต์เก่าที่รับแลกเปลี่ยน ราคาที่คาดว่าจะขายได้หลังจากซ่อมแล้ว 100,000 หัก ค่าซ่อมแซม 15,000 กำไรขั้นต้น 20% 20,000 35,000 65,000 ส่วนเกินของสินค้ารับแลกเปลี่ยน 5,000

หลังจากคำนวณหาส่วนเกินสินค้ารับแลกเปลี่ยนแล้ว ให้คำนวณหาอัตรากำไรขั้นต้นขายผ่อนชำระ ขายผ่อนชำระ 800,000 หัก ส่วนเกินของราคาสินค้ารับแลกเปลี่ยน 5,000 ขายผ่อนชำระสุทธิ 795,000 หัก ต้นทุนขายผ่อนชาระ 516,750 กำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระ 278,250 อัตรากำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระ x 100 ขายผ่อนชำระสุทธิ = 278,250 x100 795,000 = 35 % การบันทึกบัญชีการขายสินค้ารับแลกเปลี่ยน 1 ส.ค. X1 สินค้ารับแลกเปลี่ยน 65,000 เงินสด 30,000 ลูกหนี้ขายผ่อนชำระ 700,000 ส่วนเกินของราคาสินค้ารับแลกเปลี่ยน 5,000 บันทึกการขายสินค้าโดยการขายผ่อนชำระและรับแลกเปลี่ยนสินค้า ต้นทุนขายผ่อนชำระ 516,750 สินค้าคงเหลือ 516,750 บันทึกต้นทุนขายผ่อนชำระ

การผิดนัดชำระเงินค่างวด และยึดคืนสินค้า (Defaults and Repossessions) เมื่อลูกหนี้ที่เกิดขึ้นจากการขายผ่อนชำระผิดนัดไม่ชำระเงินสองงวดติดต่อกัน และผู้ขายเห็นว่าไม่สามารถเรียกติดตามเรียกเก็บเงินได้ ผู้ขายมีสิทธิ์รับเงินที่ชำระเงินแล้วและสามารถยึดสินค้าคืนจากลูกหนี้ได้ ตัวอย่าง วันที่ 1 มิถุนายน x1 บริษัท พลอยรดา จำกัด ขายรถจักรยายนต์ 2 คัน โดยวิธีผ่อนชำระ ราคาขาย 140,000 บาท วางเงินดาวน์คันล่ะ 20,000 บาท ที่เหลือกำหนดชำระทุกเดือนๆละเท่ากันทั้งหมด 24 เดือน ผ่อนชำระงวดแรกเริ่ม 1 กรกฎาคม x1 ต่อมาผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้งวดที่ถึงกำหนดชำระ 1 พฤษภาคม x2 และงวดต่อๆมา ดังนั้น ในวันที่ 1 สิงหาคม x2บริษัทจึงยึดรถคืนมาในสภาพที่ทรุดโทรมมาก เสียค่าซ่อมแซม 2,700 บาทและประมาณจะขายได้ในราคา 65,000 บาท บริษัทกำหนดราคาขายรถที่ใช้งานแล้วในราคาบวกกำไรขั้นต้นไว้แล้ว 20% และกำหนดราคาขายรถใหม่กำไรขั้นต้น 30% ราคาขายที่ประมาณไว้ 65,000 หัก ค่าซ่อมแซม 2,700 กำไรขั้นต้น 20% ของ 65,000 13,000 15,700 ราคาตลาดที่แท้จริงของสินค้ายึดคืน 49,300 การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้ายึดคืน 1ส.ค.x2 สินค้ายึดคืน 49,300 กำไรขั้นต้นขายผ่อนชำระรอตัดบัญชี 30%x70,000 21,000 ลูกหนี้ขายผ่อนชำระ(5,000x14 งวดที่เหลือ) 70,000 กำไรจากการยึดคืนสินค้า 300 บันทึกการยึดรถจักรยานยนต์คืนในราคาตลาด อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร

จำนวนเงินที่ได้รับชำระ วิธีการคิดดอกเบี้ยจากการขายผ่อนชำระ โดยปกติการขายสินค้าโดยการขายผ่อนชำระ ผู้ขายได้คิดดอกเบี้ยไว้ในราคารวมสินค้าแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากผู้ขายได้ลงทุนในสินค้าไปก่อน และจะต้องรอเรียกเก็บเงินเป็นงวดๆให้ครบจะต้องใช้ระยะเวลานาน ดอกเบี้ยที่ผู้ขายคิดนี้เป็นรายได้ที่ผู้ขายจะได้รับเป็นค่าตอบแทนสำหรับการขายสินค้าวิธีผ่อนชำระ วิธีการคิดดอกเบี้ยมีหลายวิธี แต่ที่นิยมใช้มี 2 วิธี คือ คำนวณดอกเบี้ยจากยอดเงินค้างชำระแต่ละงวด ตัวอย่าง วันที่ 1 มกราคม x1 บริษัท โรสสริน จำกัด ขายรถจักรยานยนต์ ราคาทุน 91,000 บาท โดยวิธีผ่อนชำระในราคา 140,000 บาท กำหนดให้ผู้ซื้อชำระเงินทันที ณ วันที่ทำสัญญา 40,000 บาท ที่เหลือสมมติผ่อนชำระเป็นเวลา 4 ปี โดยชำระเงินทุกๆ วันสิ้นปี อัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี คำนวณจำนวนเงินงวด จำนวนเงินงวด = จำนวนเงินต้น + จำนวนดอกเบี้ยทั้งสิ้น จำนวนงวดผ่อนชำระ = 100,000 + 40,000 = 35,000 บาท 4 ตารางที่ 1 การแสดงาจำนวนเงินที่ได้รับแต่ละงวดประกอบด้วย ดอกเบี้ย เงินต้น เงินต้นค้างชำระ เงินงวด จำนวนเงินที่ได้รับชำระ เงินต้นค้างชำระ ดอกเบี้ย เงินต้น 100,000 1 35,000 16,000 19,000 81,000 2 12,000 23,000 58,000 3 8,000 27,000 31,000 4 4,000 - 140,000 40,000 อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร

วิธี่ที่ 2 คิดดอกเบี้ยจากยอดเงินคงค้างและจำเงินงวดเท่ากันทุกงวด จำนวนเงินเงินงวด = จำนวนเงินต้น ค่าแฟคเตอร์จากตารางค่าเงินรายปี ตัวอย่าง วันที่ 1 มกราคม x1 บริษัท ตะวัน จำกัด ขายที่ดินแปลงหนึ่งราคาทุน 210,000 บาท โดยวิธีผ่อนชำระ ในราคา 300,000 บาทกำหนดให้ผู้ซื้อชำระเงินทันที ณ วันที่ทำสัญญา 30,000 บาท ที่เหลือผ่อนชำระเป็นเวลา 10 ปี โดยชำระเงินทุกๆวันสิ้นปี อัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี คำนวณจำนวนเงินต้นที่ต้องชำระ ราคาขายผ่อนชำระ 300,000 หัก เงินดาวน์ ณ วันที่ทำสัญญา 30,000 จำนวนเงินต้นที่ต้องชำระ 270,000 คำนวณจำนวนเงินงวด เปิดตาราง Present Value of Annuity of 1 ที่ n = 10 ปี, I = 10% จะได้ค่าแฟคเตอร์ 6.1446 โดย n= จำนวนงวดขายผ่อนชำระ i= อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงินงวด = เงินต้นค้างชำระ แฟคเตอร์จากตารางเงินรายปี = 270,000 6.1446 = 43,941 บาท อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร

จำนวนเงินที่ได้รับชำระ งวดที่ จำนวนเงินที่ได้รับชำระ เงินต้นค้างชำระ เงินงวด ดอกเบี้ย เงินต้น 270,000 1 43,941 27,000 16,941 253,059 2 25,306 18,635 234,424 3 23,442 20,499 213,925 4 21,393 22,549 191,377 5 19,138 24,803 166,573 6 16,657 27,284 139,290 7 13,929 30,012 109,278 8 10,928 33,013 76,264 9 7,626 36,315 39,949 10 3,991 439,410 169,410 อาจารย์ มณีจันทร์ มาสูตร