งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน)
TIM2303 การขายและการตลาดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว Sales and Marketing in Tourism Industry อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน)

2 องค์ประกอบของตลาดการท่องเที่ยว
1.ผู้ซื้อ ได้แก่ นักท่องเที่ยว นักทัศนาจร ทั้งภายในประเทศและ ระหว่างประเทศ ความต้องการเดินทางท่องเที่ยวและบริโภคสินค้าการ ท่องเที่ยวมีความยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงสูงมากเนื่องจากปัจจัยทาง เศรษฐกิจ สังคม ราคาการท่องเที่ยว ฤดูกาล สมัยนิยม รสนิยม ทัศนคติ ประสบการณ์ท่องเที่ยว และเหตุการณ์สำคัญอื่นๆ สิ่งสำคัญ ของการวางแผนการตลาด คือต้องทราบความต้องการของตลาด (Demand) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.1 ความต้องการปัจจุบัน (Actual Demand) 1.2 ความต้องการที่มีแนวโน้ม (Potential Demand) 1.3 ความต้องการที่อาจเกิดขึ้น (Deferred Demand)

3 2.ผู้ขาย  ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจจัดหาสินค้าและบริการการท่องเที่ยว (Travel Suppliers) ผลิตวัตถุดิบในลักษณะการแปรรูปสินค้าและบริการเช่น ที่พักในโรงแรมการ เดินทางโดยเครื่องบิน การบริการอาหารและเครื่องดื่ม การเข้าชมการแสดงในสถานที่และแหล่ง ท่องเที่ยวต่างๆ  3.สินค้าและบริการ 3.1 ทรัพยากรการท่องเที่ยวทั้งประเภทที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น 3.2 ที่พักร้านอาหาร 4.การขนส่ง

4 5.ปัจจัยสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
     5.1 โครงสร้างพื้นฐานทางการท่องเที่ยว   5.2. บริการนำเที่ยว 5.3. สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ   5.4.  สินค้าของที่ระลึก

5 ลักษณะพิเศษของตลาด • เป็นบริการที่ไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้ เช่น ความพอใจ ความสุขใจ ความตื่นเต้น • การตัดสินใจซื้อใช้อารมณ์มากกว่าสินค้าประเภทอื่น • ไม่สามารถจัดส่งบริการท่องเที่ยวให้กับลูกค้า นักท่องเที่ยวต้อง เดินทางมาซื้อบริการด้วยตนเอง • ไม่สามารถควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของการบริการได้ • อุปสงค์ของการตลาดขึ้นลงตามฤดูกา • บริการของตลาดการท่องเที่ยวไม่สามารถเก็บไว้ใช้ได • องค์ประกอบของสินค้าทางการทอ่งเที่ยวมีความเป้นอิสระต่อกัน • การลอกเลียนแบบทำได้ง่าย

6 ความแตกต่างระหว่างการตลาดธุรกิจบริการกับการตลาดของสินค้าทั่วไป
1.จับต้องได้ 2.สามารถแบ่งแยกได้ 3.มีความแน่นอน 4.จัดทำมาตรฐานได้ง่าย 5.เก็บรักษาได้ บริการ 1.ไม่สามารถจับต้องได้ 2.ไม่สามารถแบ่งแยกได้ 3.มีความไม่แน่นอน 4.จัดทำมาตรฐานได้ยาก 5.ไม่สามารถเก็บรักษาได้

7

8 ลักษณะของอุตสาหกรรมบริการ
 อุตสาหกรรมการบริการ เป็นธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะที่พิเศษแตกต่างจากธุรกิจการผลิตสินค้าและการ จำหน่ายสินค้า การบริการจัดเป็นสินค้ารูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีคุณลักษณะพิเศษดังนี้ 1. อุตสาหกรรมการบริการเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้ (Intangivility) เป็นลักษณะของ นามธรรม ผู้บริโภคไม่อาจประเมินได้ด้วยสายตาหรือการสัมผัสจับต้อง ซึ่งสินค้าโดยทั่วไปเรา สามารถเห็นจับต้องหรืออาจทดลองใช้ได้ก่อน แต่สินค้าบริการเราประเมินผลด้วยความประทับใจ ความพอใจ หรือความไม่พอใจ และไม่อาจทดลองใช้ก่อนได้       2. อุตสาหกรรมการบริการไม่สามารถแยกออกจากกันได้ (Insparability) เช่น อุตสาหกรรม การบริการอาหาร ที่ผลิตอาหารพร้อมกับการให้บริการเสริฟไปด้วยกัน เราไม่สามารถแยกออกจากกันได้

9 3. อุตสาหกรรมบริการมีลักษณะแตกต่างกันในการให้บริการ แต่ละครั้ง (Heterogenity) สินค้าบริการยากที่จะควบคุมมาตรฐานการบริการให้คงที่ และแน่นอนได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ของผู้ให้บริการ ซึ่งบางวันอาจมีตัวแปรมากระทบทำให้เปลี่ยนไป  4. อุตสาหกรรมการบริการ มีลักษณะสูญเสียได้ง่าย (Perishability) เป็นลักษณะสินค้าที่ เก็บรักษาไว้ไม่ได้ เช่น ธุรกิจโรงแรมไม่สามารถให้ห้องพักว่าง หรือโต๊ะรับประทานอาหารในธุรกิจ ร้านอาหารว่าง ที่นั่งในสายการบินว่าง เพราะนั่นคือการสูญเสียรายได้ ต้องทำทุกอย่างให้เกิดการ ขาย สินค้าทั่วไปหากสินค้าเหลือในวันนี้ก็อาจเก็บไว้ขายในวันหน้า ยอดรายได้ที่เข้ามาก็ยังคงเดิม แต่สินค้าในอุตสาหกรรมการบริการหากเหลือนั่นหมายถึงการสูญเสีย ดังนั้นอุตสาหกรรมการ บริการจึงไม่มีคลังสินค้า

10                 5. อุตสาหกรรมการบริการมีอุปสงค์ไม่แน่นอน (Fluctuation Demand) อุปสงค์ของการบริการขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ ดังนั้น อุตสาหกรรมการบริการจึงมีสภาวะของรายได้ที่ไม่แน่นอนติดตามมาด้วยบ ซึ่งเป็นผลจากอุป สงค์ที่ไม่แน่นอนของผู้รับบริการนั่นเอง จึงจะเห็นได้ว่ามีการแบ่งฤดูของการบริการที่จะมี ความสูงต่ำของรายได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ         6. อุตสาหกรรมการบริการใช้แรงงานมาก (Labour Intensive) อุตสาหกรรม การบริการจำเป็นต้องอาศัยแรงงานมนุษย์ในการผลิต และจำหน่าย เครื่องจักรกลมีส่วนน้อย มากในการผลิตงาน แรงงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ และต้องเป็นแรงงานที่มีทักษะเฉพาะด้านอีก ด้วย

11                 7. อุตสาหกรรมการบริการมีช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่ ณ จุด ขาย ซึ่งผู้ใช้บริการมักจะต้องมาหาผู้ผลิตบริการเอง สินค้าโดยทั่วไปจะมี ช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่หลายช่องทาง หลายรูปแบบ เช่น นายหน้า ตัวแทนจำหน่าย พ่อค้าขายส่ง พ่อค้าคนขายปลีก ฯลฯ แต่อุตสาหกรรม การบริการโดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นการขายปลีก


ดาวน์โหลด ppt อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google