งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
เอกสารประกอบการสอน วิชาการบัญชี 2 วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

2 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
บทที่ 6 ค่าเสื่อมราคา มาตรฐานการบัญชีฉบับที่16 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ใช้แทนมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32 (เดิม) เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ วัตถุประสงค์ 1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดวิธีการปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินจะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของกิจการในรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าว ประเด็นหลักในทางบัญชีสำหรับรายการที่ดินอาคาร และอุปกรณ์ ได้แก่ การรับรู้รายการสินทรัพย์ การกำหนดมูลค่าตามบัญชี การคิดค่าเสื่อมราคา และการรับรู้ผลการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

3 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
ขอบเขต 2. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับการบัญชีสำหรับที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ยกเว้นกรณีที่มาตรฐานการบัญชีอื่นกำหนดหรืออนุญาตให้ใช้วิธีปฏิบัติทางบัญชีที่แตกต่างไป 3. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ครอบคลุมถึง 3.1 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่จัดเป็นประเภทถือไว้เพื่อขาย ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก 3.2 สินทรัพย์ชีวภาพที่เกี่ยวข้อกับกิจกรรมทางการเกษตร (ดูมาตรฐานการสบัญชี ฉบับที่ 41 เรื่อง เกษตรกรรม (เมื่อมีการประกาศใช้)) 3.3 การรับรู้และวัดมูลค่าสินทรัพย์ที่เกิดจากการสำรวจและการประเมินค่า (ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 6 เรื่องการสำรวจและการประเมินค่าแหล่งทรัพยากรแร่) หรือ 3.4 สัมปทานเหมืองแร่ และสินแร่ เช่น น้ำมัน ก๊าชธรรมชาติ และทรัพยากรธรรมชาติอื่นซึ่งไม่สามารถทดแทนได้ วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

4 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่ใช้ในการพัฒนาหรือรักษาสภาพของสินทรัพย์ที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 3.2 ถึง 3.4 4. มาตรฐานการบัญชีฉบับอื่นอาจกำหนดให้กิจการรับรู้รายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์โดยใช้วิธีซึ่งแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ตัวอย่าง เช่น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สัญญาเช่า กำหนดให้กิจการพิจารณารับรู้รายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ตามสัญญาเช่าโดยใช้เกณฑ์การโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนในสินทรัพย์นั้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีดังกล่าว การปฏิบัติทางการบัญชีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์นั้นรวมทั้งการคิดค่าเสื่อมราคายังคงต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ที่มา : สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

5 ประเภทของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
 อาจจะแยกตามลักษณะของข้อจำกัดเกี่ยวกับอายุการใช้งานได้ 2 ประเภท 1.มีอายุการใช้งานจำกัด ได้แก่ อาคาร ยานพาหนะ อุปกรณ์ สำนักงานเครื่องจักรฯลฯ สินทรัพย์ประเภทนี้จะมีลักษณะเสื่อมสภาพตาม ระยะเวลา จึงจำเป็นต้องมีการคิดค่าเสื่อมราคา โดย เดบิต บัญชีค่าเสื่อมราคา และแสดงเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน เครดิต บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม โดยแสดงเป็นยอดหักจากบัญชี สินทรัพย์ในงบดุล ต้นทุนสินทรัพย์หักด้วยค่าเสื่อมราคา เรียกว่า มูลค่า ตามบัญชีหรือราคาตามบัญชี วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

6 ประเภทของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
2. มีอายุการใช้งานไม่จำกัด ได้แก่ ที่ดิน โดยปกติมักไม่เสื่อมสภาพและมูลค่าของ ที่ดินก็อาจจะเพิ่มขึ้น สินทรัพย์ประเภทนี้จึงไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคา หมายถึง การปันส่วนมูลค่าที่เสื่อมสภาพของสินทรัพย์ ไปเป็น ค่าใช้จ่ายอย่างมีระบบตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์นั้น จาก ความหมายดังกล่าวจะ เห็นได้ว่า ค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนของกิจการ วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

7 การคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์มีปัจจัย 3 ประการ คือ
1. ราคาทุน หมายถึง จำนวนเงินสดหรือมูลค่าเทียบเท่าเงินสดที่ใช้จ่าย ไปหรือราคายุติธรรมที่ได้กำหนดโดยบุคคลอื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้น 2. อายุการใช้งาน (Cost) หมายถึง ระยเวลาที่กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์นั้น 3. ราคาซาก (Salvage value) หมายถึง จำนวนเงินสุทธิซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์นั้น เมื่อสิ้นอายุการใช้งานหลักจากหลักต้นทุนในการจำหน่ายออกแล้ว วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

8 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
วิธีการบัญชีเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคา การบันทึกรายการในวันสิ้นงวดบัญชี เดบิต ค่าเสื่อมราคา xx เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม xx ตัวอย่าง บริษัทธนดล จำกัด ซื้อเครื่องจักร 1 เครื่อง ราคา 430,000 ประมาณ การอายุการใช้งาน 10 ปี ราคาซาก 30,000 บาท หากบริษัทคิดค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรปีละ 40,000 บาท การบันทึกบัญชีจะเป็นดังนี้ เดบิต ค่าเสื่อมราคา – เครื่องจักร 40,000 เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม – เครื่องจักร 40,000 วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

9 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา 1. วิธีเส้นตรง (Straight-line Method) จะได้ยอดเท่ากันทุกปี วิธีนี้เหมาะสำหรับทรัพย์สินที่มีการเสื่อมสภาพไปตามระยะเวลามากกว่าที่จะเสื่อมสภาพเพราะการใช้งาน ข้อดีและข้อจำกัด ข้อดี 1. ง่ายและสะดวกในการคำนวณจึงได้รับความนิยมมาก ข้อจำกัด จะให้ผลที่ถูกต้องและเหมาะสมก็ต่อเมื่อ 1. เกิดรายได้เท่ากันทุกปีตลอดอายุการใช้งาน 2. ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากันทุกปีตลอดอายุการใช้งาน 3. มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและบำรุงเท่ากันทุกปี วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

10 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
4. มีการเสื่อมสภาพไปตามระยะเวลามากกว่าที่จะเสื่อมสภาพ ตามการใช้งาน สูตร ค่าเสื่อมราคาต่อปี = ราคาทุนของสินทรัพย์ - มูลค่าซาก อายุการใช้งานปี ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2544 กิจการซื้อรถยนต์ 1 คัน ราคา 400,000 บาท ประมาณอายุการใช้งาน 5 ปี ราคาที่คาดว่าจะขายได้เมื่อเลิกใช้รถยนต์คันนี้ 100,000 บาท ค่าเสื่อมราคาปีละ = 400,000 – 100,000 5 = ,000 บาท วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

11 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
2. วิธีอัตราลดลง (Decreasing Charge Method) ค่าเสื่อมราคาปี แรกสูงและค่อย ๆ ลดลง เหมาะกับสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในระยะแรก หรือเป็นสินทรัพย์ที่ขึ้นอยู่กับสมัยนิยม เช่น คอมพิเตอร์ รถทแท็กซี่ เป็นต้น ข้อดีและข้อจำกัด ข้อดี 1. คิดค่าเสื่อมราคาในปีแรก ๆ มากกว่าในปีหลัง ๆ ของการใช้งาน 2. ค่าใช้จ่ายมีจำนวนที่สม่ำเสมอตลอดอายุการใช้งาน ข้อจำกัด วิธีจะเหมาะสมก็ต่อเมื่อ 1. มีค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษาเพิ่มขึ้นทุกปี 2. รายได้จากการใช้สินทรัพย์ลดลงทุกปี 3. ความล้าสมัยของสินทรัพย์ วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

12 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
2.1 คำนวณจากยอดที่ลดลง (Declining Balance Method) นำราคาตามบัญชีสินทรัพย์มาคำนวณค่าเสื่อมราคา โดยใช้อัตราร้อยละคงที่ ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2544 ซื้อเครื่องใช้สำนักงานราคา 50,000 บาท กิจการคิดค่าเสื่อมราคาตามวิธีอัตราคงที่จากยอดที่ลดลงในอัตราร้อยละ 25% ปี ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาสะสม ราคาตามบัญชี 1 ม.ค 2544 50,000 2544 25% x 50,000 = 12,500 12,500 37,500 2545 25% x 37,500 = 9,375 21,875 28,125 2546 25% x 28,125 = 7,031.25 28,906.25 21,093.75 วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

13 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
2.2 คำนวณผลรวมของจำนวนปี (Sum of the year digits Method) ค่าเสื่อมราคาแต่ละปีจะเป็นเศษส่วน โดยมีผลรวมอายุการใช้งานของสินทรัพย์ถาวรเป็นส่วน และจำนวนปีของอายุการใช้งานที่เหลือวันต้นปีเป็นเศษ ตัวอย่างที่ 1 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2544 ซื้อเครื่องใช้สำนักงานราคา 50,000 บาท ราคาซาก 5,000 อายุการใช้งาน 5 ปี กิจการคิดค่าเสื่อมราคาตามวิธีผลรวม ของจำนวนปี ผลรวมของจำนวนปีที่ใช้งาน = 15 หรือคำนวณโดย = nx(n+1) = x(5+1) (ราคาทุน – ราคาซาก ) = 50,000 – 5,000 = 45,000 วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

14 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
การบันทึกตารางค่าเสื่อมราคา ปี ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาสะสม ราคาตามบัญชี 1 ม.ค 2544 - 50,000 2544 5 x 45,000 = 15,000 15 15,000 35,000 2545 4 x 45,000 = 12,000 27,000 23,000 2546 3x 45,000 = 9,000 36,000 14,000 2547 2x 45,000 = 6,000 42,000 8,000 2548 1x 45,000 = 3,000 45,000 5,000 วิธีนี้ค่าเสื่อมราคาในปีแรก ๆ จะสูงกว่าและค่อย ๆ ลดลง ราคาบัญชีจะเหลือเท่ากับราคาซาก วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

15 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
2.3 คำนวณจากยอดลดลงทวีคูณ (Double – Declining Balance Method) วิธียอดลดลงทวีคูณคำนวณโดยใช้ สองเท่าของอัตราค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรงคูณ ด้วยราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ ณ วันต้นงวด ค่าเสื่อมราคา = 2 เท่าของอัตราร้อยละค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง x ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ ณ วันต้นงวด ตัวอย่างที่ 2 บริษัท สุดา จำกัด ซื้อเครื่องจักร 1 เครื่อง ราคา 320,000 บาท เมื่อวันที่ 1 มกราคม 25X1 คาดว่าจะมีอายะการใช้งาน 4 ปี เมื่อหมดอายุใช้งานแล้วคาดว่าจะขายได้ในราคา 20,000 บาท เครื่องจักรนี้คาดว่าจะใช้ทำการผลิตได้ในระหว่าง 4 ปี ดังนี้ ปี 25X1 ผลิตสินค้า 10,000 หน่วย, ปี 25X2 ผลิตสินค้า 20,000 หน่วย, ปี 25X3 ผลิตสินค้า 40,000 หน่วย และปี 25X4 ผลิตสินค้า 5,000 หน่วย การคิดค่าเสื่อมราคา วิธีต่าง ๆ คิดได้ดังนี้ วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

16  การคิดค่าเสื่อมราคายอดลดลงทวีคูณ (Double – Declining Balance Method)
วิธียอดลดลงทวีคูณ อัตราค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง = 1/4 x 100 = 25.00% อัตราค่าเสื่อมราคาวิธียอด ลดลงทวีคูณ 25% X 2 50% วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

17 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
การบันทึกตารางค่าเสื่อมราคา ปี ราคาทุน ค่าเสื่อมราคา ราคาตาม บัญชี แต่ละปี สะสม 25X1 320,000 320,000X50% = 160,000 160,000 25X2 160,000X50% = 80,000 240,000 80,000 25X3 80,00X50% = 40,000 280,000 40,000 25X4 40,000X50% = 20,000 300,000 20,000 วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

18 3. วิธีชั่วโมงการทำงาน (Working-Hours Method) หรือวิธีจำนวนผลผลิต
(Units of Output Method) ค่าเสื่อมราคาวิธีจำวนผลผลิตคำนวณจาก การคำนวณหาค่าเสื่อมราคาต่อหน่วย คูณด้วยปริมาณผลผลิตในแต่ละงวดบัญชี ค่าเสื่อมราคาต่อหน่วย = ราคาทุน – มูลค่าซาก ปริมาณผลผลิตที่คาดว่าจะผลิตได้ทั้งหมด ค่าเสื่อมราคาต่อปี ค่าเสื่อมราคาต่อหน่วย X ปริมาณผลผลิตในแต่ละงวดบัญชี วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

19 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
การบันทึกตารางค่าเสื่อมราคาวิธีจำนวนผลผลิต จากตัวอย่างที่ 2 ค่าเสื่อมราคา/หน่วย = (320,000-20,000)/75,000 = 4 บาท ปี ราคาทุน ค่าเสื่อมราคา แต่ละปี สะสม ราคาตาม บัญชี 25X1 320,000 10,000X4 = 40,000 40,000 280,000 25X2 20,000X4 = 80,000 120,000 200,000 25X3 40,000X4 = 160,000 25X4 5,000X4 = 20,000 300,000 20,000 วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

20 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
สิ้นสุดการเสนอ วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว


ดาวน์โหลด ppt อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google