วิชาดุษฎีสัมนาบริหารขั้นสูง นวัตกรรม (Innovation)
จุดกำเนิดนวัตกรรมในธุรกิจ มาจาก 2 แหล่งหลักด้วยกันคือ แหล่งแรก การคิดค้นภายในองค์กร แหล่งที่มาเบื้องต้นของแนวคิด ใหม่ในสินค้าและบริการ โดยองค์กรมักจัดตั้งหน่วยงานวิจัยและ พัฒนา (Research & Development-R&D) ขึ้นภายใน องค์กร และจัดหาผู้ที่มี ความสามารถในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เป็นการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่นำไปสู่ “มูลค่าเพิ่มในสินค้า และบริการ” ขององค์กร การเกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่าอย่างต่อเนื่องนั้น ควรใช้วัฒนธรรม องค์กรเป็นกลไกผลักดันให้บุคลากรทั้งหมดขององค์กรตื่นตัวสร้าง ความแปลกใหม่และความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ
จุดกำเนิดนวัตกรรมในธุรกิจ (ต่อ) แหล่งที่สอง การแลกเปลี่ยน เรียนรู้และรับเทคโนโลยี เทคนิค หรือ นวัตกรรมจากภายนอก (นวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) การเปิดรับแนวคิดใหม่จากภายนอก จะทำให้แนวคิดใหม่ๆ เกิดขึ้น ได้อย่างรวดเร็ว อาจมีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการพัฒนาเอง ตย. เช่น การจ้างหน่วยงานภายนอก ที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่า หรืออาจจะร่วมมือในเชิงพันธมิตรกับหน่วยงานที่มีความพร้อมและ บุคลากรในการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เพื่อร่วมกันคิดค้น นวัตกรรมจากความถนัดของทั้งคู่
เป้าหมายนวัตกรรม 1. พัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ 2. ขยายขอบเขตทางธุรกิจ 3. ขยายขอบเขตคุณภาพของผลิตภัณฑ์ 4. ลดต้นทุนและวัตถุดิบในการผลิต 5. พัฒนาคุณภาพการผลิต
เทคนิคสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมแบบเปิด ซื้อเทคโนโลยีหรือแนวคิดใหม่จากองค์กรภายนอก (Outsource) : ขอซื้อนวัตกรรมที่องค์กรนั้น คิดค้นขึ้นมา หรือติดต่อเพื่อให้เกิดการพัฒนา เทคโนโลยีตามลักษณะที่ต้องการ
เทคนิคสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมแบบเปิด (ต่อ) 2. การร่วมมือในรูปแบบต่างๆ กับองค์กรอื่นๆ (Partnering) เพื่อนำความรู้ ความสามารถและ ทรัพยากรจากองค์กรภายนอกเข้ามาใช้ในการพัฒนา ร่วมกันกับบุคลากรของกิจการ เช่น บริษัท Intel ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในอเมริกาและอังกฤษ จัดตั้งห้องปฏิบัติการร่วมกัน เพื่อค้นคว้าและวิจัยพัฒนา นวัตกรรมในสินค้าและบริการ
เทคนิคสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมแบบเปิด (ต่อ) 3. การเข้าร่วมลงทุนและ/หรือเข้าซื้อกิจการ ในหน่วยงานที่ มีจุดเด่น เพื่อนำจุดเด่นของหน่วยงานดังกล่าว มาต่อ ยอดกับกิจการของตน ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและต้นทุน ในการพัฒนาจุดเด่นของตนเอง เช่น Cisco ซึ่งเป็น บริษัทชั้นนำด้านผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ได้เข้าร่วมทุน กับบริษัทที่มีจุดเด่นในเรื่องความคิดสร้างสรรค์แปลก ใหม่
เทคนิคสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมแบบเปิด (ต่อ) 4. จัดตั้งศูนย์กลางความรู้ (Knowledge Broker) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้อมูล และแนวคิด (Idea) ใหม่ๆ ระหว่างกันในวงกว้าง เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญใน แต่ละสาขา เข้ามามีบทบาทในการสร้างไอเดียใหม่ๆ
การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร กำหนดแนวคิด Innovation หรือโครงการใหม่ๆ ให้ เป็น “กลยุทธ์หลัก” อย่างต่อเนื่อง ปลูกฝัง DNA แนวคิดเชิงสร้างสรรค์ให้บุคลากรทั้ง องค์กรต้องนำไปปฏิบัติ จนกลายเป็นวัฒนธรรม หรือ เป็นงานประจำส่วนหนึ่งในองค์กร มีการจัดสรรเวลาทำงานส่วนหนึ่งให้กับงานในตำแหน่ง ต่างๆ ในระดับนโยบายขององค์กร เช่น ในโหมดงาน ปกติของพนักงาน อาจจัดสรรเวลา 80% สำหรับงาน ประจำ 20% สำหรับงานที่เป็นโครงการพัฒนาใหม่ๆ
การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร (ต่อ) 2. ผู้บริหารระดับสูงต้องผลักดันและสนับสนุนอย่างจริงจัง สนับสนุนลูกน้องในทุกด้าน ทั้งในเรื่องของเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัย จะทำให้พนักงานได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมถึงการให้ความเป็นอิสระทางความคิด ลองผิดลองถูกกับวิธีการหรือไอเดียใหม่ๆ ที่พนักงาน คิดค้นขึ้นมา สื่อสารอย่างชัดเจนกับพนักงานว่า หากเกิดความผิดพลาด ในการคิดสิ่งใหม่ๆ เหล่านั้น จะไม่เอาผิดหรือลงโทษ แต่จะ นับเป็นการลงทุนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาต่อไป
การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร (ต่อ) 3.นำความคิดสร้างสรรค์ที่ได้พัฒนา มาปฏิบัติอย่างเป็น รูปธรรม โดยเพิ่มแรงจูงใจในการนำไปปฏิบัติ และนำ ผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากแนวคิดดังกล่าวไปเชื่อมโยงกับการ ประเมินผลงานและผลตอบแทนจากการทำงาน เพื่อให้ พนักงานได้ตระหนักถึงผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถรวบรวมความรู้ความคิดเดิม แล้วสร้างเป็น ความความรู้ความคิดของตนเอง สามารถคิดนอกกรอบได้ มี ผลงานการคิด งานสร้างสรรค์ซึ่งมีลักษณะ เป็นสิ่งใหม่ เป็นต้นแบบ แหวกวงล้อม ใช้การได้ สามารถใช้แก้ปัญหาได้ มิใช่จินตนาการเพ้อฝัน มีความเหมาะสม ต้องมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับได้
การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร (ต่อ) 4. ปลูกฝังเรื่องการพัฒนานวัตกรรมให้เป็นค่านิยมและความ เชื่อในการทำงาน ไม่ควรใช้กฎเกณฑ์เข้ามาบังคับ จาก ผลการวิจัยทั่วไประบุว่า การใช้ความเชื่อร่วมและการผลักดัน จากเพื่อนร่วมงานในองค์กรด้วยกัน จะมีประสิทธิผลสูงกว่า การบังคับ โดยใช้กฎระเบียบในการดำเนินงาน
การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร (ต่อ) 5. สร้างค่านิยมในการแข่งขันด้านนวัตกรรมภายในองค์กร หลายองค์กรมุ่งเน้นให้เกิดการแข่งขันระหว่างแผนก เพื่อให้เกิดบรรยากาศของการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งใหม่ ให้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน เช่น บริษัท Sony มีการ แบ่งหน่วยธุรกิจและให้แต่ละหน่วยธุรกิจนั้นแข่งขันกัน คิดค้นและพัฒนาสินค้าใหม่ขึ้นมาตอบสนองความ ต้องการของลูกค้า
การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร (ต่อ) 5. สร้างค่านิยมในการแข่งขันด้านนวัตกรรมภายในองค์กร ควรต้องควบคุมระดับการแข่งขันให้อยู่ในระดับที่ เหมาะสม ไม่ควรแข่งขันกันมาก จนกลายเป็นความขัดแย้งและไม่ ช่วยเหลือกัน หรือเห็นว่าหน่วยงานอื่นในองค์กรเป็นคู่แข่ง ทำให้ไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ เทคโนโลยีซึ่งกัน และกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อน
การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร (ต่อ) 6. เสาะหาและคัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสมเป็น Leader ควรต้องเป็นผู้ที่มีลักษณะไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ และพร้อมที่จะ เปิดรับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ
บทบาทการจัดการนวัตกรรมในองค์กร ผู้บริหาร (Executive) วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ (Vision and Strategic) การปรับแผนก (Alignment and Functional) แผนก (Functional) การปรับหน่วยงาน (Alignment and Department) หน่วยงาน (Department) การปรับผู้นำและทีม(Alignment and Team) หัวหน้าทีม (Team Leader) บทบาทการจัดการนวัตกรรมในองค์กร
ประเภทของนวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) คือผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ปรับปรุงให้ ดีขึ้น หรือ เป็นสิ่งใหม่ ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็น ของใหม่ ต่อโลก ต่อประเทศ องค์กรหรือแม้แต่ตัวเรา เอง
ประเภทของนวัตกรรม (ต่อ) 2. นวัตกรรมในขบวนการผลิตหรือการดำเนินงาน (Process Innovation) เป็นการเปลี่ยนแนวทางหรือวิธีการผลิตสินค้าหรือการ ให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม
ประเภทของนวัตกรรม นวัตกรรมทางธุรกิจ (Business Innovation) ธุรกิจจะประสบความสำเร็จและ ยั่งยืนได้ ธุรกิจต้อง ค้นหา "นวัตกรรมธุรกิจ" ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ต้องเป็น ความคิดใหม่ๆที่สามารถขายได้ หรือ การทำ ให้ความคิดใหม่ๆ มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค และ นำหน้าคู่แข่งในตลาด
การสร้างนวัตกรรมใหม่ของธุรกิจไทย ต้องมีความก้าวหน้าในองค์ความรู้และเทคโนโลยี ใน ลักษณะ "วัฒนธรรมการเรียนแบบรับรู้" ซึ่งใน ต่างประเทศมีการพัฒนาต่อยอดความรู้และเทคโนโลยี ขั้นสูงอย่างต่อเนื่อง จากการสร้างพื้นฐานมาอย่าง ยาวนาน โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาและธุรกิจเอกชนที่ เป็นบริษัทระดับโลก
การสร้างนวัตกรรมใหม่ของธุรกิจไทย (ต่อ) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เป็นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงหรือ ความรู้ใหม่เพื่อผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ออกมาสู่ตลาด นวัตกรรมกระบวนการทางธุรกิจ ที่สามารถใส่หรือสร้าง นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้ธุรกิจมีความแตกต่างเหนือคู่ แข่งขัน
การสร้างนวัตกรรมใหม่ของธุรกิจไทย (ต่อ) 3. นวัตกรรมธุรกิจ-ความรู้ คือการที่ธุรกิจมุ่งสนใจใน นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการมาอย่าง ยาวนาน จึงเกิดความคิดใหม่ที่จะแสวงหานวัตกรรมใหม่ ทางธุรกิจ เช่นนวัตกรรมการตลาด นวัตกรรมการจัดการ เพราะเป็นสิ่งที่ครอบคลุมประเด็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ เกิดขึ้น
แหล่งข้อมูลนวัตกรรม (Resource Innovation) มีการจัดสรรจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนกำลังคนที่เหมาะสม การคัดสรรพนักงานที่มีความสามารถและเหมาะสมกับ งานเข้ามาทำงาน การเพิ่มศักยภาพบุคลากรโดยการฝึกอบรมและพัฒนา องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ
แหล่งข้อมูลนวัตกรรม (Resource Innovation) (ต่อ) คำนึงถึงบุคลากรที่กำลังจะเกษียณ อาจจะมีการให้ บำเหน็จ เงินทดแทน เงินสำรองเลี้ยงชีพหรือผลตอบแทน ประเภทต่างๆ เพื่อจูงใจให้พนักงานมีเป้าหมายในการ ทำงานรวมถึงระดับความก้าวหน้าของสายงาน
นวัตกรรม นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับ กาลสมัย ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการ ทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะ ของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
นวัตกรรม (INNOVATION) 7’S นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม Rethink (คิดใหม่ทำใหม่) Reconfigure (ทบทวนการทำงานใหม่) Reassign (มอบหมายใหม่) Resequence (เรียงลำดับใหม่) Relocate (สถานที่ใหม่) Retool (เครื่องมือใหม่) Reduce (ลดทุกอย่าง)
8 หนทางนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม จะปรับปรุงวิธีการทำงานให้สบายกว่านี้ได้หรือไม่ ทำให้รวดเร็วกว่านี้ได้หรือไม่ ทำให้ราคาถูกกว่านี้ได้หรือไม่ ทำให้ถูกต้องแม่นยำกว่านี้ได้หรือไม่ ทำให้ลูกค้าพอใจมากกว่านี้ได้หรือไม่ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่านี้ได้หรือไม่ ทำให้ปฏิบัติงานง่ายกว่านี้ได้หรือไม่ ทำให้ปลอดภัยกว่านี้ได้หรือไม่
***การนำเอานวัตกรรมไปใช้*** ขั้นที่ 1 ตระหนักถึงความต้องการนวัตกรรม ขั้นที่ 2 จุดประกายการสร้างนวัตกรรม ขั้นที่ 3 สร้างนวัตกรรม ขั้นที่ 4 ประกาศใช้
นวัตกรรม (INNOVATION) กระบวนการสร้างนวัตกรรม กำหนดวิธีการ กำหนดกรอบแนวคิด หรือเรื่องที่ต้องการแก้ไข กำหนดแผน จัดตั้งทีมงาน ผลตอบแทน วิธีการนำไปปฏิบัติ
นวัตกรรม (INNOVATION) (ต่อ) รวบรวมความคิด ดำเนินการตามแผนงาน สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการประสานงานและร่วมมือกัน ระดมสมอง ระดมความคิด (Six Thinking Hats, Mind Map) คัดเลือกความคิด กลั่นกรองความคิดที่หลากหลาย ค้นหาความคิดที่ยอดเยี่ยม ใช้เครื่องช่วยในการวิเคราะห์สนามพลัง
นวัตกรรม (INNOVATION) (ต่อ) นำไปปฏิบัติ จัดตั้งทีมงานเพื่อนำแนวความคิดมาขยายผลในทาง ปฏิบัติ มีคณะกรรมการติดตามประเมินผลในการนำไปปฏิบัติ
Invention + Commercialization = Profit