งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Information Systems Development

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Information Systems Development"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Information Systems Development
อ.ดร.มหศักดิ์ เกตุฉ่ำ Faculty of Information Technology

2 Course Information Office: ITM ชั้น 3 e-mail: maoquee@Hotmail.com
Facebook: Mao Mahasak

3 Evaluation Final Exam 30% Midterm Exam 20%
คะแนนเก็บตลอดภาคการศึกษา %

4 วัตถุประสงค์รายวิชา เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักการของวงจรพัฒนาระบบธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์วงจรการพัฒนาระบบ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการผลิตและพัฒนาระบบ เพื่อให้นักศึกษาประยุกต์ใช้วิธีคิดอย่างเป็นระบบในการพัฒนาธุรกิจเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

5 Course Outline Introduction to Advanced Systems Development
Software Process Model Development Software Development Methodology Software Requirement System Model & Process Model User Interface & Design Quality Management Capability Maturity Model (CMM) Software Testing Software Project Management

6 แบบจำลองทางธุรกิจ (Business Model)
ปัจจัยบ่งชี้ผลการดำเนินงานขององค์กร ปัจจัยที่ 1 : แบบจำลองทางธุรกิจ ปัจจัยที่ 2 : สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน(Competitive Environment) สภาพแวดล้อมโดยรวม(Macro Environment) ปัจจัยที่ 3 : การเปลี่ยนแปลง

7 แบบจำลองทางธุรกิจ (Business Model)
ความสำคัญของแบบจำลองทางธุรกิจ เป็นกลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการในการจัดการอย่างมีกลยุทธ์เพื่อนำพาองค์กรกรให้ประสบความสำเร็จและมีผลประกอบการที่ดีได้ ความหมายของแบบจำลองทางธุรกิจ (Business Model) หมายถึง วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ

8 องค์ประกอบของแบบจำลองทางธุรกิจ
รูปแบบธุรกิจที่ก่อให้เกิดผลกำไร(Profit Site) คุณค่าที่มอบให้กับลูกค้า(Customer Value) การกำหนดราคา(Price) ขอบเขต(Scope) แหล่งที่มาของรายได้ (Revenue Source) กิจกรรมเชื่อมโยง (Connected) การนำไปใช้ (Implementation) ความสามารถ (Capabilities) ความยั่งยืน (Sustainability) โครงสร้างต้นทุน (Cost Structure)

9 แบบจำลองทางธุรกิจ 1 รูปแบบธุรกิจอีคอมเมิร์ชที่ก่อให้เกิดกำไร (Profit Site) คือธุรกิจรูปแบบใดเมื่อดำเนินการบนอินเทอร์เน็ตแล้วได้เปรียบคู่แข่งขันมากที่สุด เช่น B2B , B2C, C2C

10 แบบจำลองทางธุรกิจ 2 คุณค่าที่จะมอบให้กับลูกค้า(Customer Value)
หมายถึงสิ่งที่องค์กรมอบให้กับลูกค้าโดยจะมีลักษณะเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งขัน เช่น การสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า จุดเด่นของสินค้า สินค้าเรามีอะไรดีกว่าคนอื่น เวลา สินค้าที่เปิดตัวก่อนจะสามารถตีตลาดได้ก่อน สถานที่ ที่สามารถซื้อสินค้าได้กว้างขวางแค่ไหน การบริการ(Service) บริการที่ดีสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้ ชื่อเสียงของตรายี้ห้อ สร้างทัศนคติที่ดีของลูกค้าให้เกิดขึ้นกับตรายี่ห้อสินค้าของต้นเองให้ได้ การลดต้นทุน จะทำให้ขายสินค้าได้ต่ำกว่าคู่แข่ง สร้างความสนใจแก่ลูกค้า

11 แบบจำลองทางธุรกิจ 3 ขอบเขต(Scope) การกำหนดขอบเขตของสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
ลูกค้าเป้าหมาย ส่วนแบ่งตลาดที่ต้องการ พื้นที่ในการกระจายสินค้า ชนิดของสินค้าที่ต้องการขาย

12 แบบจำลองทางธุรกิจ 4. การกำหนดราคา (Pricing)
คือการกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมและยุติธรรมเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งทางการค้าได้ด้วย องค์กรต้องหากลยุทธ์ของการกำหนดราคาขายสินค้าที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น การครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุดในช่วงต้นของการเปิดตัวสินค้า ควรกำหนดราคาสินค้าเผื่อการต่อรองราคาเพื่อสร้างความพอใจให้กับลูกค้า

13 แบบจำลองทางธุรกิจ 5 แหล่งที่มาของรายได้ (Revenue Source)
หากองค์กรทำธุรกิจบนอนเทอร์เน็ตจะมีรายได้และผลกำไรทางใดได้บ้าง เช่น รายได้จากการขายสินค้า รายได้จากการโฆษณา รายได้จากการฝากลิงค์ เป็นต้น

14 แบบจำลองทางธุรกิจ 6 กิจกรรมเชื่อมโยง (Connected Activities)
เป็นการเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยการ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการที่จะมอบให้แก่ลูกค้า สำหรับการเพิ่มคุณค่าให้แก่สินค้าและบริการโดยการนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งอาจจะเป็นการขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถตอบปัญหาและให้บริการอื่นได้ผ่านเว็บไซต์ กิจกรรมที่ต้องดำเนินการคือ การพัฒนาระบบขายสินค้าบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทีมงานต้องกำหนดแผนงานของโครงการด้วยการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้แต่ละคน เลือกวิธีดำเนินการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาระบบงาน เก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดกิจกรรมขั้นตอนของการพัฒนาระบบงาน ระยะเวลาและทรัพยากร

15 แบบจำลองทางธุรกิจ 7 การนำไปใช้ (Implementation)
การดำเนินกิจกรรมที่กำหนดไว้ มีความสำพันธ์กับโครงสร้างองค์กร ระบบ และบุคลากร อย่างไร เป็นการวางแผนเพื่อดำเนินการตามแบบจำลองทางธุรกิจนั้น โดยการตั้งทีมงานผู้รับผิดชอบ ที่เกี่ยวกับส่วนอื่น ๆ ภายในองค์กร เช่น ฝ่านพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด ฝ่ายการเงิน และฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยทุกฝ่ายจะต้องดำเนินกิจการรต่างๆ เพื่อมุ่งตรงไปที่การเพิ่มคุณค่าในสินค้าและบริการที่จะมอบให้ลูกค้า อันจะส่งผลให้เกิดความได้เปรียบคู่แข่งขันและผลกำไรสูงสูด

16 แบบจำลองทางธุรกิจ 8 ความสามารถ (Capabilities)
ความสามารถขององค์กรที่ต้องมีเพื่อใช้ในการเพิ่มคุณค่าสินค้าและบริการ ซึ่งในทีนี้คือการพัฒนาระบบงานอีคอมเมิร์ชหรือการทำธุรกิจอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ต ความสามารถ(Capabilities) แบ่งได้เป็นด้านดังนี้ ทรัพยากรที่จะนำไปใช้ในการดำเนินงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูล บุคลากร เป็นต้น ความสามารถหลัก : การที่องค์กร มีประสบการณ์ ทรัพยากร กำลังคน และความสามารถที่สะสมมานานจนทำให้มีทักษะและความชำนาญด้านด้านหนึ่งอย่างโดดเด่นแตกต่างจากองค์กรอื่น เช่น สร้างเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย สวยงาม ความได้เปรียบในการแข่งขัน เมื่อมีเว็บไซต์ที่โดดเด่น จะทำให้เกิดคุณค่า ในตัวเว็บไซต์เอง ทำให้ลูกค้าอยากเข้ามาที่เว็บไซต์และสั่งซื้อสินค้าจากเว็บเรา

17 แบบจำลองทางธุรกิจ 9. ความยั่งยืน (Sustainability)
องค์กรสามารถรักษาความได้เปรียบคู่แข่งขันไว้ตลอดไปหรือไม่อย่างไร เช่น จดลิขสิทธ์ทรัพย์สินทางปัญญา เปลี่ยนแปลงแบบจำลองธุรกิจอยู่เสมอเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมีอะไรแปลกใหม่ให้ลูกค้าอยู่เสมอ ร่วมมือกับองค์กรอื่น เช่น การร่วมทุน เป็นต้น

18 แบบจำลองทางธุรกิจ 10. โครงสร้างต้นทุน (Cost Structure)
การดำเนินกิจกรรมที่จะเพิ่มคุณค่าที่ดีให้กับลูกค้าต้องใช้ต้นทุนอะไรบ้างและองค์กรต้องวางแผนโครงสร้างต้นทุนด้วยวิธีใดเพื่อให้ใช้ต้นทุนน้อยที่สุดในประโยชน์สูงสุด ต้นทุน จะขึ้นกับ ขนาดของธุรกิจ เครื่องมืออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยีที่ใช้

19 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ
ระบบ หมายถึง การรวมกลุ่มของส่วนต่างๆ ซึ่งทำงานร่วมกัน เพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน ระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร

20 ความหมายของระบบ ระบบ (System) [จาก Encyclopedia of Software Engineering, Vol 2, 1994] ‘กลุ่มขององค์ประกอบที่มีความเกี่ยวพันกัน (a collection of interrelated components) ทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนด’ ระบบประกอบด้วยองค์ประกอบที่เกี่ยวพันกัน ระบบทุกระบบคือหน่วยประมวลผล (Processor) ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับสภาพแวดล้อมภายนอก

21 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ
ประเภทของระบบ ระบบเชิงกายภาพและระบบเชิงแนวคิด ระบบเชิงกายภาพ (Physical System) ระบบที่ทำงานโดยใช้ทรัพยากรเชิงกายภาพ เป็นระบบที่สามารถมองเห็นได้ ระบบเชิงแนวคิด (Conceptual System) ระบบซึ่งเกี่ยวกับหลักการหรือทฤษฎี ซึ่งระบบนี้จะอยู่ในรูปแบบของคำอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในระบบ ระบบเปิดและระบบปิด ระบบเปิด (Open System) ระบบที่มีความเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม ซึ่งระบบนี้จะมีปฏิกิริยาต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ระบบปิด (Closed System)ระบบที่ไม่เกี่ยวพันกับสภาพแวดล้อม

22 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ
ลักษณะของระบบ ระบบประกอบด้วยองค์ประกอบที่รวมตัวกัน ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน ระบบจะแยกออกจากสภาพแวดล้อมโดยขอบเขตบางอย่าง ระบบจะมีข้อมูลนำเข้าและมีผลลัพธ์ ระบบอาจจะมีระบบย่อย (Sub-System) ระบบจะมีกลไกการควบคุม และการควบคุมจะอาศัยข้อมูลส่วนย้อนกลับ (Feedback) ระบบจะมีตัวเชื่อมประสาน (Interface) ซึ่งจะใช้ในการสื่อสารระหว่างระบบ 2 ระบบ

23 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ
ขอบเขต (Boundary) เส้นแบ่งระหว่างภายในและภายนอกระบบ สภาพแวดล้อม (Environment) สิ่งที่อยู่นอกขอบเขตของระบบ ระบบย่อย (Subsystem) ระบบที่มีความสมบูรณ์ในตัวของมันเองเมื่อพิจารณาแยกเป็นส่วนๆ

24 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ
ปัจจัยนำเข้า (Input) สิ่งที่นำเข้าจากสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้บางสิ่งบางอย่าง ผลลัพธ์ (Output) สิ่งที่สร้างขึ้นจากระบบแล้วส่งต่อไปยังสิ่งแวดล้อม ตัวเชื่อมประสาน (Interface) จุดที่ระบบพบกับสิ่งแวดล้อม หรือจุดประสานระหว่างระบบย่อยด้วยกัน

25 ภาพรวมของระบบ Subsystem Terminator BOUNDARY Environment

26 ระบบธุรกิจ ส่วนนำเข้า ส่วนผลลัพธ์ ระบบย่อย
วัตถุดิบ เครื่องจักร เงินทุน ส่วนผลลัพธ์ กำไร ผลิตผลจากการผลิต การตลาด ระบบย่อย ฝ่ายบุคคล ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบริหาร

27 สารสนเทศและระบบสารสนเทศ
ข้อมูล ข้อมูลดิบที่มีความหมายในตัวมันเองโดยยังไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ สารสนเทศ ข้อมูลดิบซึ่งได้ทำการเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ ข้อมูลนำเข้า ประมวลผล สารสนเทศ

28 ระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ ข้อมูลนำเข้า (Input) การประมวลผล (Process)
กลุ่มขององค์ประกอบที่สัมพันธ์กันซึ่งรวบรวมประมวล จัดเก็บและเผยแพร่สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร ข้อมูลนำเข้า (Input) ข้อมูลที่จำเป็น เพื่อนำเข้าสู่ระบบ เพื่อจะทำให้เกิดการประมวลผลขึ้น การประมวลผล (Process) การเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย

29 ระบบสารสนเทศ ผลลัพธ์ (Output) ส่วนย้อนกลับ (Feedback)
สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลไปให้แก่คนหรือกิจกรรมที่จะใช้ ส่วนย้อนกลับ (Feedback) ส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของการประมวลผลเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

30 ระบบสารสนเทศ สภาพแวดล้อม ข้อมูลนำเข้า ประมวลผล สารสนเทศ ข้อมูลย้อนกลับ

31 การตัดสินใจในการบริหาร
กำหนดปัญหา (Intelligence) พัฒนาทางเลือก (Design) เลือกทางเลือก (Choice) การนำทางเลือกไปปฏิบัติ (Implementation)

32 ขั้นตอนของการตัดสินใจ
กำหนดปัญหา พัฒนาทางเลือก เลือกทางเลือก นำทางเลือกไปใช้

33 ระดับการบริหารในองค์กร
ระดับปฏิบัติการ (Operation Management) ควบคุมการดำเนินการขององค์กรให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ ระดับยุทธวิธี (Tactic Management) วางแผนและควบคุมการดำเนินการขององค์กรให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดไว้ ระดับกลยุทธ์ (Strategic Mangement) กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และทิศทางขององค์กร

34 ระดับการบริหารในองค์กร
ไม่กำหนด ระดับกลยุทธ์ ระดับยุทธวิธี ระดับปฏิบัติการ กำหนด

35 ระดับการบริหารในองค์กร
ภายนอก ระดับกลยุทธ์ ระดับยุทธวิธี ระดับปฏิบัติการ ภายใน

36 ระดับการบริหารในองค์กร
สรุป ระดับกลยุทธ์ ระดับยุทธวิธี ระดับปฏิบัติการ รายละเอียด

37 ระดับการบริหารในองค์กร
อนาคต ระดับกลยุทธ์ ระดับยุทธวิธี ระดับปฏิบัติการ อดีต

38 ระดับการบริหารในองค์กร
บ่อย ระดับกลยุทธ์ ระดับยุทธวิธี ระดับปฏิบัติการ ไม่บ่อย

39 ระดับการบริหารในองค์กร
ไม่ต้องละเอียด ระดับกลยุทธ์ ระดับยุทธวิธี ระดับปฏิบัติการ ละเอียดมาก

40 ประเภทของระบบสารสนเทศ
ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System : TPS) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System : MIS) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support System : DSS) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง(Executive Support System : ESS) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)

41 การวิเคราะห์ระบบ เป็นการศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานปัจจุบัน(Current System) เพื่อออกแบบระบบงานใหม่(New System)เป้าหมายในการวิเคราะห์ระบบต้องการปรับปรุงระบบงานเดิมให้ดีขึ้น

42 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst : SA)
ผู้ที่ทำหน้าที่ศึกษาปัญหาและความต้องการขององค์กรในการกำหนดบุคคล (People) ข้อมูล (Data) การประมวลผล (Process) การสื่อสาร (Communication) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ว่าจะจัดการปรับปรุงอย่างไรเพื่อให้สามารถพัฒนาระบบธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้

43 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis : SA)
Management User System Analyst Programmer

44 ลักษณะของนักวิเคราะห์ระบบ
วิเคราะห์ระบบเท่านั้น (Information Analysts) วิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Designers / Applications Developers) วิเคราะห์ ออกแบบระบบ และเขียนโปรแกรม (Programmer Analysts)

45 คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ
มีความรู้เกี่ยวกับระบบงานธุรกิจ มีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความสามารถในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน ควรมีความรู้การเขียนโปรแกรม ต้องติดตามเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ ประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์ระบบ

46 วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC)
กำหนดปัญหา (Problem Definition) วิเคราะห์ (Analysis) ออกแบบ (Design) พัฒนา (Development) ทดสอบ (Testing) ติดตั้ง (Implementation) บำรุงรักษา (Maintenance)

47 วงจรการพัฒนาระบบ กำหนดปัญหา รับรู้สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ
สรุปหาสาเหตุของปัญหา ศึกษาความเป็นไปได้ในแง่มุมต่างๆ รวบรวมความต้องการจากผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ สรุปข้อกำหนดต่างๆ ให้ชัดเจน ถูกต้อง

48 วงจรการพัฒนาระบบ : กำหนดปัญหา
Business Process Business Model Requirements Gathering …….. Requirement Specification Business Information Business Rules

49 วงจรการพัฒนาระบบ วิเคราะห์ วิเคราะห์ระบบงานเดิม
กำหนดความต้องการของระบบใหม่ สร้างแบบจำลอง Logical Model ประกอบด้วยDataflow Diagram, Process Description, E-R Diagram สร้างพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)

50 วงจรการพัฒนาระบบ : กำหนดปัญหา
Logical Model …….. Requirement Specification Analysis

51 วงจรการพัฒนาระบบ ออกแบบ การออกแบบรายงาน (Output Design)
การออกแบบจอภาพ (Input Design) การออกแบบข้อมูลนำเข้า และรูปแบบการรับข้อมูล การออกแบบผังระบบ (System Flowchart) การออกแบบฐานข้อมูล (Database Design) การสร้างต้นแบบ (Prototype)

52 วงจรการพัฒนาระบบ : ออกแบบ
Logical Model Physical Model Design

53 วงจรการพัฒนาระบบ พัฒนา พัฒนาโปรแกรมจากที่ได้ทำการวิเคราะห์และออกแบบไว้
เลือกภาษาที่เหมาะสม พัฒนาต่อได้ง่าย สร้างเอกสารโปรแกรม

54 วงจรการพัฒนาระบบ ทดสอบ ทดสอบการใช้งานในระหว่างการพัฒนา
ทดสอบโดยใช้ข้อมูลที่จำลองขึ้นมา ทดสอบในส่วนของ Verification และ Validation จัดฝึกอบรมการใช้ระบบงาน

55 วงจรการพัฒนาระบบ ติดตั้ง
เตรียมอุปกรณ์ร่วมอื่นๆ ให้พร้อม เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และ ระบบเครือข่าย ลงโปรแกรมระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชั่นโปรแกรมให้ครบถ้วน ดำเนินการใช้งานระบบงานใหม่ จัดทำคู่มือการใช้งาน

56 วงจรการพัฒนาระบบ : พัฒนา / ทดสอบ / ติดตั้ง
Physical Model Implement Model Coding/Testing Implement

57 วงจรการพัฒนาระบบ บำรุงรักษา แก้ไขข้อผิดพลาดที่พบในโปรแกรมให้ถูกต้อง
บางครั้งอาจมีการเพิ่มโมดุลหรืออุปกรณ์บางอย่าง การบำรุงรักษาทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

58 วงจรการพัฒนาระบบ SDLC 1. กำหนดปัญหา 2. วิเคราะห์ 7. บำรุงรักษา
3. ออกแบบ 6. ติดตั้ง 4. พัฒนา 5. ทดสอบ


ดาวน์โหลด ppt Information Systems Development

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google