ประเภทรายการและรูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียง
ความหมายของรายการวิทยุกระจายเสียง การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง เป็นการนำเอา วัตถุดิบ ได้แก่ เนื้อหา เสียงพูด เสียงดนตรี และ เสียงประกอบมาผ่านกระบวนการผลิตรายการ ซึ่งมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการผลิต ขั้นการผลิต และขั้น หลังการผลิต
องค์ประกอบสาคัญที่ต้องคำนึงถึงในการผลิตรายการวิทยุได้แก่ ๑. วัตถุประสงค์ของรายการ ๒. ผู้ฟัง (Audience) ๓. เนื้อหา (Content) ๔. วิธีการเสนอรายการ (Programme Presentation ๕.เวลาออกอากาศ (Air Time) ๖. การประเมินผล (Evaluation)
ประเภทรายการวิทยุกระจายเสียง ๑. รายการพูดคุย (Talk Programme) คือรายการที่มีลักษณะของการพูด การสนทนาเป็นหลัก แบ่งเป็นประเภทย่อยๆ คือ รายการพูดคุยกับผู้ฟังโดยตรง (The Straight Talk) รายการสัมภาษณ์ (Interview Programme) รายการสนทนา (Conversation Programme) รายการอภิปราย (Discussion Programme)
ประเภทรายการวิทยุกระจายเสียง ๒. รายการสารคดี (Documentary / Feature) รายการที่เสนอเรื่องราวเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียดเจาะลึกตลอดรายการ ด้วยวิธีการเสนอที่หลากหลาย เพื่อมิให้ผู้ฟังเบื่อและสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้ตลอดรายการ เครดิตภาพจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/rt201dpu/2009/07/25/entry-1
ประเภทรายการวิทยุกระจายเสียง ๓.รายการนิตยสารทางอากาศ (Magazine Programme) รายการที่เสนอเนื้อหาที่ประกอบด้วยเรื่องหลาย ๆ เรื่องรวมอยู่ในรายการเดียวกัน มีวิธีการเสนอหลากหลายรูปแบบ มีการเชื่อมโยง (Linking) จากเรื่องหนึ่งไปอีกเรื่องหนึ่งอย่างกลมกลืน ให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในรายการ เครดิตภาพจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/rt201dpu/2009/07/25/entry-1
ประเภทรายการวิทยุกระจายเสียง ๔. รายการข่าว(news programme) การเสนอเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น หรือกำลังเกิดขึ้น เป็นที่น่าสนใจ เครดิตภาพ http://oknation.nationtv.tv/blog/rt201dpu/2009/07/25/entry-1
ประเภทรายการวิทยุกระจายเสียง ๕. รายการละคร (dramatic programme) ละครวิทยุ เสนอเรื่องราวต่าง ๆ โดยการใช้การแสดงด้วยคำพูดไม่ว่าจะเป็นบทเจรจา (Dialogue) หรือบทบรรยาย (Narrator) ดนตรี เสียงประกอบ ทำให้ผู้ฟังซึ่งรับฟังได้เฉพาะ “ หู ” สามารถจินตนาการเหตุการณ์ ความรู้สึก กริยาอาการของตัวละครและการดำเนินเรื่องได้
ประเภทรายการวิทยุกระจายเสียง ๖. รายการถ่ายทอดนอกสถานที่ (outside broadcast programme) รายการที่มุ่งให้ผู้ฟังมองเห็นภาพเหตุการณ์เสมือนได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริง ๆ ความยากของรายการประเภทนี้นอกจากเทคนิคการถ่ายทอดแล้วการบรรยายก็อาจเกิดความยุ่งยากได้เช่นกัน
ประเภทรายการวิทยุกระจายเสียง ๗.รายการแข่งขัน (competition programme) รายการที่เปิดโอกาสให้ผู้ฟังเข้ามามีส่วนร่วมในรายการ ได้แก่ การตอบปัญหา เล่นเกม โดยการเขียนจดหมาย โทรศัพท์เข้ามาในรายการ (Phone-in) รายการการแข่งขันทางวิทยุกระจายเสียงมักเป็นส่วนหนึ่งในรายการมากกว่า เช่น รายการเพลง รายการพูดคุย
ประเภทรายการวิทยุกระจายเสียง ๘. รายการเพลง (music programme) รายการที่มุ่งให้ความบันเทิงเป็นหลัก ประเภทของเพลง ได้แก่ เพลงสากล เพลงไทยสากล เพลงลูกทุ่ง เพลงคลาสสิค เป็นต้น