งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หัวข้อการเรียน ENL 3701 Week 5

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หัวข้อการเรียน ENL 3701 Week 5"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หัวข้อการเรียน ENL 3701 Week 5
รศ. ดร. อุทัย ภิรมย์รื่น

2 ระบบความหมายกับการอ่าน
๑. สามเหลี่ยมของความหมาย (Semantic triangle) จากแนวคิดของ Ogden & Richard ความหมายเกิดจากองค์ประกอบพื้นฐาน ๓ อย่าง จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ กล่าวคือ ๑.๑ การเรียกชื่อ (Naming) ๑.๒ แนวคิดหรือความคิดรวบยอด (Concepts) ๑.๓ ความสำนึกและการอ้างอิง (Sense and Reference)

3 ชนิดของความหมาย (Kinds of Meaning)
มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับความหมาย จึงทำให้ความหมายมีหลายชนิด สรุปแล้ว มี ๒ อย่างคือ ๑. ความหมายตามตัวหนังสือ (Literal meaning, Denotative meaning) ๒. ความหมายโดยนัย ( Associative meaning, Connotative meaning) ความหมายประการที่ ๒ ไปเกี่ยวโยงกับเรื่องอื่น เป็นความหมายที่เกิดจากตัวผู้ใช้ภาษาซึ่งนำเอาความคิดของตัวเองเข้าไปเปรียบเทียบ ทำให้ตีความไปได้หลายอย่าง

4 ความหมายเกิดจากหลายปัจจัย
๑. ทางความคิด (Ideational meaning) มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความคิดของผู้ใช้ภาษา ๒. ความคิดภายในส่วนบุคคล (Inter-personal meaning) ซึ่งแสดงออกมาทางการพูด การสนทนาในโอกาสต่างๆ ๓. ทางอารมณ์ หรือการประเมินผล (Emotive or Evaluative) ๔. ความสัมพันธ์ทางสังคม (Social relations) ๕. โดยนัย (Implication) การเปรียบเทียบ ใช้ตรรกะหรือเหตุผลอ้างอิง ๖. การมีข้อสันนิษฐานไว้ล่วงหน้า (Presupposition)

5 ความหมายที่เป็นพื้นฐานในการอ่าน
ความรู้เรื่องความหมายช่วยให้เกิดความเข้าใจจากการอ่าน ซึ่งประกอบด้วยบริบท (context) ต่างๆเป็นตัวชี้แนะด้านความหมาย ได้แก่ ๑. บริบททางภาษา (Language context) เช่น บริบทที่ให้ความหมาย เป็นพวกคำต่างๆที่นำมาพูดหรือเขียน การจัดกลุ่มคำ โวหารหรือสำนวนพูด การจัดระเบียบคำกับไวยากรณ์ เป็นต้น ๒. บริบทนอกเหนือจากภาษา (Non-linguistic context) เช่น การตัดขาดจากบริบท สถานการณ์ต่างๆ พฤติกรรมที่แสดงออกมา และสัมพันธภาพทางภาษา เป็นต้น

6 ความหมายของคำและประโยค
คำเป็นหน่วยของความหมาย เมื่อนำมาประกอบกันเข้ามีความหมายสมบูรณ์ขึ้น จึงเป็นประโยค และมีใจความต่อเนื่องกันไป เป็นเรื่องราวต่างๆ คำมีหลายรูป มีความหมาย ทั้งในตัวของมันเอง และหน้าที่ทางไวยากรณ์ เช่น คำพ้องความหมาย คำตรงกันข้าม คำคู่ คำที่เทียบเคียงกันไม่ได้ คำที่มีหลายรูป เป็นต้น

7 ประโยคและความหมาย ประโยค (Sentence) เกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ การแปลความหมายของประโยค เกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ เช่น ประโยคพื้นฐาน และประโยคที่เปลี่ยนแปลงหรือปริวรรตไปตามกฏที่เขียนขึ้นมาจากลุ่มคำต่าง เพื่อสร้างความหมาย มีทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างประโยคอยู่ ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือทฤษฎีเกี่ยวกับการแปรเปลี่ยนของรูปประโยค ทำให้เกิดความหมายใหม่ขึ้นมา (Transformative grammar or Syntactic Grammar) ความหมายเกิดจากคำที่เป็นการกระทำ แล้วมีความสัมพันธ์กับคำอื่นๆ เกิดเป็นประโยคขึ้นมา (Case Grammar or Semantic-generative Grammar)

8 การวิเคราะห์ประโยค การวิเคราะห์ประโยคเพื่อหาความหมายทำได้หลายวิธี เพื่อการอ่านแบบมีวิจารณญาณ (Critical reading) เช่น ๑. Projection rules การวิเคราะห์ส่วนประชิดของประโยคเพื่อพิจารณาความหมายว่าผิดปกติ (Anomalous)หรือกำกวม (Ambiguous) หรือไม่ ๒.Predicate calculus การวิเคราะห์ส่วนสมบูรณ์ ว่ามีการวางข้อเสนอ (Proposition) อะไรไว้บ้าง ๓. ลักษณะที่เป็นเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ ๔. ระบบความหมายและไวยากรณ์

9 หัวข้อการอภิปรายและตอบคำถาม
๑. ความหมายเกิดขึ้นได้อย่างไร มีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไรบ้าง ๒. การแปลความหมายของคำมีหลักการวิเคราะห์อย่างไรบ้าง ๓. ทำไมคำจึงมีหลายความหมายได้ ยกตัวอย่างประกอบด้วย ๔. การอ่านต้องอาศัยบริบทอะไรบ้างจึงจะช่วยให้เข้าใจความหมายได้อย่างสมบูรณ์ ๕. มีหลักในการวิเคราะห์ความหมายของประโยคในการพูดและการเขียน หรือไม่ และทำได้อย่างไร


ดาวน์โหลด ppt หัวข้อการเรียน ENL 3701 Week 5

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google