งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพูดเพื่องานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพูดเพื่องานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพูดเพื่องานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
บทที่ ๘ การพูดเพื่องานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

2 ความหมายของการพูด การพูดคือกระบวนการสื่อสารความคิดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง โดยมีภาษาน้ำเสียงและอากัปกิริยาเป็นสื่อการพูดคือการแสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึกโดยใช้ภาษาและเสียงสื่อ เป็นการสื่อสารที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก

3 ความสำคัญของการพูด มีความต้องการที่จะติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลาเพื่อที่จะให้ผู้อื่นเข้าใจตนเองและให้ตนเองเข้าใจผู้อื่น พยายามที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างกันเพื่อจะได้รับรู้ข่าวสารเรื่องราวต่าง ๆ

4 ความสำคัญของผู้ดำเนินรายการในงานวิทยุและโทรทัศน์
ในการผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ ผู้ดำเนินรายการเป็นส่วนสำคัญ ที่จะทำให้รายการได้รับความนิยม และส่งผลต่อการเลือกรับชม รับฟัง รายการ

5 ความรับผิดชอบของผู้ดำเนินรายการ
๑.ผู้ดำเนินรายการต้องมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ส่งสาร ควรรู้จักผู้รับสารว่าเป็นใคร ชอบหรือไม่ชอบอะไร ต้องมีความเข้าใจในสาร พยายามสื่อสารแนวคิดหลักไปยังผู้ชม-ผู้ฟัง รับผิดชอบสิ่งที่พูด อ่านออกอากาศ

6 ๒.ผู้ดำเนินรายการต้องมีความรับผิดชอบต่อสถานี/หน่วยงาน
ผู้ดำเนินรายการเป็นภาพลักษณ์ของสถานี ควรประพฤติ ตัวให้ไม่มีชื่อเสีย ผู้ดำเนินรายการรับผิดชอบต่อการประกอบธุรกิจ ผู้ดำเนินรายการรับผิดชอบต่ออุปกรณ์ของสถานี

7 ๓.ผู้ดำเนินรายการต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ผู้ดำเนินรายการมีอิทธิพลต่อผู้ชม ผู้ฟัง ดังนั้นจึงควรใช้อิทธิพลไปในทางชี้นำให้เกิดสิ่งที่ดี ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน เช่น เป็นตัวแทนการรณรงค์เพื่อสังคมเข้าร่วมกิจกรรม สาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์

8 คุณสมบัติผู้ดำเนินรายการ
ผู้ดำเนินรายการที่มีคุณภาพ ควรมีคุณสมบัติดังนี้ ๑.ความรู้ (Education) ๒.ลักษณะทางกายภาพ (Physical) ๓.อารมณ์ ๔.ประสบการณ์

9 การพูดทางวิทยุกระจายเสียง
การพูดทางวิทยุกระจายเสียง การประกาศสถานี การดำเนินรายการ รายงานข่าว อ่านข่าว อ่านบทความ ฯลฯ จำเป็นต้องอาศัยทักษะ การแสดงออกทางเสียงที่มีประสิทธิภาพ และความรู้ความสามารถทาง ด้านภาษา จึงจะทำให้การพูดนั้น ประสบความสำเร็จ สามารถสื่อสารได้ อย่างดี มีประสิทธิภาพ

10 หลักการพูดทางวิทยุกระจายเสียงที่ดี
๑.ใช้ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ ๒.แสดงความหมายในแง่เดียว ๓.เป็นภาษาที่สุภาพ ๔.พูดอยู่ในประเด็น อย่างกวน ออกนอกเรื่อง ๕.พูดด้วยอารมณ์แจ่มใส แต่ไม่ใช่พูดตลก พูดเล่น ๖.อย่านำเรื่องส่วนตัวมาพูด หรือพูดโอ้อวดตัว

11 ๗. อย่าใช้คำหยาบ คำคะนอง ๘
๗.อย่าใช้คำหยาบ คำคะนอง ๘.พูดย้ำหรือเน้นคำเพื่อแสดงความชัดเจนของความหมายที่พูด

12 การพูดทางวิทยุโทรทัศน์
การพูดทางวิทยุโทรทัศน์ จึงควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ ๑.ผู้พูดควรทำตนให้กระฉับกระเฉง ปรับอารมณ์ ให้เบิกบาน หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ๒.การทรงตัวขณะยืนพูดหรือนั่งพูดต้องอยู่ในลักษณะที่สมดุลเป็นธรรมชาติ ไม่ทิ้งน้ำหนักตัว ให้เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ๓.ผู้พูดจะต้องแสดงออกทางสีหน้าและ แววตาให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ หรือเรื่องราวที่พูด

13 ๔. เปล่งเสียงออกมาอย่างชัดเจนแจ่มใส น้ำเสียงแสดงออกถึงความมั่นใจ ๕
๔.เปล่งเสียงออกมาอย่างชัดเจนแจ่มใส น้ำเสียงแสดงออกถึงความมั่นใจ ๕.อัตราความเร็วในการพูดอยู่ในลักษณะพอดี ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป ๖.มีจังหวะจะโคน หรือมีท่วงทำนองน่าสนใจ รู้จักการทอดจังหวะ รู้จักใช้เสียงเน้นหนักเบา หรือเสียงสูงต่ำให้สอดคล้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระหรือเรื่องราวที่พูด ๗.ภาษาที่สื่อความหมายได้ชัดเจน ฟังแล้วเข้าใจง่าย

14 ประเภทของการพูดทางวิทยุและโทรทัศน์
รายการอภิปราย ๑.กล่าวทักทายผู้ฟัง ๒.แนะนำรายการและผู้ร่วมรายการ ๓.ดำเนินรายการให้ต่อเนื่อง สรุปประเด็นสำคัญ ๔.สรุปรวมแล้วปิดรายการ ขอบคุณผู้ร่วมรายการ

15 พูดบรรยายเหตุการณ์ ๑. พูดแสดงให้เห็นภาพพจน์ ๒
พูดบรรยายเหตุการณ์ ๑.พูดแสดงให้เห็นภาพพจน์ ๒.พูดแสดงออกซึ่งความรู้สึกต่าง ๆ ๓.ใช้ภาษาให้เหมาะกับบุคคลและกาลเทศะ

16 รายการสนทนา ๑. ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับคู่สนทนา ๒
รายการสนทนา ๑.ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับคู่สนทนา ๒.ใช้ภาษาพูดเต็มรูปและเหมาะกับโอกาส ๓.ไม่ใช้คำคะนอง ๔.ต้องอธิบายความหมายทางศัพท์เฉพาะที่นำมาใช้ด้วย ๕.ใช้ภาษาที่ให้เกียรติผู้สนทนา

17 รายการอภิปราย ๑. กล่าวทักทายผู้ฟัง ๒. แนะนำรายการและผู้ร่วมรายการ ๓
รายการอภิปราย ๑.กล่าวทักทายผู้ฟัง ๒.แนะนำรายการและผู้ร่วมรายการ ๓.ดำเนินรายการให้ต่อเนื่อง สรุปประเด็นสำคัญ ๔.สรุปรวมแล้วปิดรายการ ขอบคุณผู้ร่วมรายการ

18 รายการเพลง ใช้ภาษาที่แสดงความเป็นกันเอง รื่นเริงแจ่มใส เรียบง่าย เบาอารมณ์ แต่ อย่าใช้ภาษาที่ทำให้เสียรสเสียอารมณ์ของรายการ เพราะเพลงย่อมมีอารมณ์ ต่างๆ กัน คือ เพลงที่มีอารมณ์เศร้า อารมณ์รัก อารมณ์สนุก จึงต้องใช้ ภาษาที่สอดคล้องกับอารมณ์ของเพลงเป็นสำคัญ

19 การเป็นผู้แสดงทางวิทยุกระจายเสียง
การสื่อสารเพื่อแสดงความรู้สึกและอารมณ์โดยใช้ภาษาเสียง นั้น เสียงและถ้อยคำที่ใช้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ความหมาย ผู้ฟังจะเข้าใจและเกิดรสชาติตามไปด้วย


ดาวน์โหลด ppt การพูดเพื่องานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google