การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่องโมเมนต์ สำหรับนักศึกษาชั้น ปวส.1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม โดยวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ผู้วิจัย... นางสาวยุพารัตน์ โชคทวีกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตรดิตถ์
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่องโมเมนต์ สำหรับนักศึกษาชั้น ปวส.1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม โดยวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น การจัดการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง โมเมนต์ สำหรับนักศึกษาชั้น ปวส.1 ประเภทวิชา อุตสาหกรรมโดยวิธีการสอน แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง โมเมนต์ สำหรับนักศึกษา ชั้น ปวส.1 ประเภทวิชา อุตสาหกรรม
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 122 คน กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1/21 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชา เครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 32 คน ได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม
สถิติที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1. ศึกษาคุณภาพของแบบทดสอบโดยการวิเคราะห์ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่นด้วยเทคนิค 27 เปอร์เซ็นต์ ของ จุง เตห์ ฟาน ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อสอบ EVANA 2. วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่องโมเมนต์ สำหรับนักศึกษาชั้น ปวส.1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม โดยวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งใช้สถิติทดสอบที (t – test) แบบกลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตาราง แสดงผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่องโมเมนต์ สำหรับนักศึกษาชั้น ปวส.1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม โดยวิธีการสอน แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 t (.05, df = 31) = 1.70
สรุปผลการวิจัย จากการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่องโมเมนต์ สำหรับนักศึกษาชั้น ปวส.1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม โดยวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน พบว่า คะแนนทดสอบก่อนเรียนโดยวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 3.12 ส่วนคะแนนทดสอบหลังเรียนโดยวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีค่าเฉลี่ย 13.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า 2.56
สรุปผลการวิจัย และเมื่อทดสอบความแตกต่างของคะแนนการทำแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่องโมเมนต์ สำหรับนักศึกษาชั้น ปวส.1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม โดยวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย ค่า ที่คำนวณได้มีค่า 20.88 มากกว่าค่า ที่ได้จากการเปิดตารางซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.70 ( คำนวณ > ตาราง)
สรุปผลการวิจัย แสดงว่าภายหลังการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่องโมเมนต์ สำหรับนักศึกษาชั้น ปวส.1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม โดยวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนแล้ว นักศึกษาสามารถทำคะแนนทดสอบสูงขึ้นกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนด้วยวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่องโมเมนต์ โดยวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะ 1. ครูควรนำวิธีการพัฒนานี้ไปใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนในบทเรียนอื่น 2. ควรสร้างและศึกษาวิธีการพัฒนารูปแบบการจัด การเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ ให้ทันยุคทันสมัยมากขึ้น
ขอบคุณค่ะ