สิทธินำคดีมาฟ้องระงับ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙ “สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้ (๑) โดยความตายของผู้กระทำผิด (๒) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย (๓) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗ (๔) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง (๕) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้น (๖) เมื่อคดีขาดอายุความ (๗) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ” สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ความเข้าใจเบื้องต้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ หรือเงื่อนไขที่จะระงับคดี หากปรากฎกรณีตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 39 ไม่ว่าในขั้นตอนใด เจ้าพนักงานหรือศาลต้องระงับคดีนั้น ชั้นพนักงานสอบสวน อัยการ ต้องสั่งไม่ฟ้องคดี ชั้นศาล ต้องสั่งจำหน่ายคดี สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๑) โดยความตายของผู้กระทำผิด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๘ “โทษระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด” ข้อพิจารณา ในกรณีที่ยังไม่มีการฟ้องผู้กระทำความผิดต่อศาล หากผู้กระทำความผิดถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นเหตุให้โทษระงับไปด้วยความตายแก่ผู้กระทำความผิด คดีอยู่ในระหว่างการสอบสวน ต้องสั่งไม่ฟ้องคดี ยกเว้นแต่โทษริบทรัพย์สิน ตาม ป.อ. มาตรา ๓๒ “ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่” สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ในกรณีที่มีการฟ้องผู้กระทำผิดต่อศาลแล้ว แต่คดีนั้นยังไม่ถึงที่สุดแยกพิจารณาได้ดังนี้ 2.1 ถ้าคดีนั้นมีการฟ้องเฉพาะคดีส่วนอาญา ย่อมเป็นเหตุให้สิทธิดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดระงับลง ศาลย่อมมีคำสั่งจำหน่ายคดี คำพิพากษาฎีกาที่ 2199/2525 จำเลยตายระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันระงับไปโดยความตายของผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(1) ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ 2.2 ถ้ามีการฟ้องคดีส่วนอาญาและส่วนแพ่งมาด้วยกัน คดีส่วนอาญา โจทก์ตาย ป.วิ.อ. มาตรา 29 ให้มีการรับมรดกความได้ จำเลยตาย ป.อ. มาตรา 38 โทษระงับ คำพิพากษาฎีกาที่ 2199/2525 คดีส่วนแพ่ง โจทก์จำเลยตาย ป.วิ.พ. มาตรา 42 ให้มีการรับมรดกความได้ คำพิพากษาฎีกาที่1238/2493 ดังนั้นถ้าจำเลยตายระหว่างการพิจารณาการดำเนินคดีส่วนอาญาจึงระงับด้วยความตายของผู้กระทำผิด ศาลต้องสั่งจำหน่ายคดีส่วนอาญา คดีส่วนแพ่งศาลสามารถสั่งให้มีการรับมรดกความแทนจำเลยที่ตายได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 ถ้าการพิจารณาคดีส่วนแพ่งที่เหลือศาลยังคงมีอำนาจพิจารณา หรือโจทก์ยังมีอำนาจฟ้อง ถ้าศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งต่อไป หรือโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลต้องจำหน่ายคดี เช่น ศาลที่รับฟ้องเป็นศาลอาญา หรือผู้ฟ้องเป็นพนักงานอัยการ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ คำพิพากษาฎีกาที่ 2199/2525จำเลยตายระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันระงับไปโดยความตายของผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(1) ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ คำพิพากษาฎีกาที่1238/2493 ในคดีอาญาสินไหมซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกทรัพย์และให้ใช้ราคาทรัพย์ด้วยนั้น เมื่อจำเลยตายในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ๆ ย่อมสั่งให้คดีส่วนอาญาของโจทก์เป็นอันระงับไปตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 77 ส่วนคดีส่วนแพ่งให้เลื่อนไปตามมาตรา 42 แห่ง ป.ม.วิ.แพ่ง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ป.วิ.พ. มาตรา ๔๒ “ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้ จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะโดยมีคำขอเข้ามาเอง หรือโดยที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา เนื่องจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว คำขอเช่นว่านี้จะต้องยื่นภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ ถ้าไม่มีคำขอของบุคคลดังกล่าวมาแล้ว หรือไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเรื่องนั้นเสียจากสารบบความ” สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ถ้ามีการบังคับโทษ หรืออยู่ในระหว่างการบังคับ 3.1 ถ้ามีการบังคับโทษจนสิ้นสุดไปแล้ว ไม่เป็นเหตุให้โทษทางอาญาระงับลง หรือสิ้นสุดลง เช่น โทษปรับ ริบทรัพย์สิน ญาติจะขอคืนค่าปรับ ขอคืนทรัพย์สินโดยอ้างว่าผู้กระทำผิดตายไม่ได้ 3.2 ถ้ายังไม่มีการบังคับโทษ หรือบังคับโทษไปบางส่วนแล้ว โทษที่ยังไม่ได้บังคับย่อมระงับไปเพราะความตายของผู้กระทำผิด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับเฉพาะผู้กระทำความผิดที่ตายเท่านั้น ไม่มีผลถึงผู้กระทำความผิดคนอื่นในคดีนั้น ความตายของผู้กระทำความผิดเป็นเหตุให้สิทธิฟ้องคดีอาญาระงับเท่านั้น ส่วนสิทธิในทางแพ่ง(ถ้ามี)ของผู้เสียหายหาได้ระงับไปไม่ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๒) เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัว ป.วิ.อ. มาตรา 126 บัญญัติว่า “ผู้ร้องทุกข์จะแก้คำร้องทุกข์ระยะใด หรือจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ ในคดีซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การถอนคำร้องทุกข์เช่นนั้นย่อมไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวน หรือพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้น” ข้อพิจารณา การถอนคำร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัวมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ เพราะเท่ากับผู้เสียหายไม่ประสงค์จะให้รัฐดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอีกต่อไป การถอนคำร้องทุกข์ในความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญาฟ้องระงับ เพราะความผิดอาญาแผ่นดิน มีรัฐมีฐานะเป็นผู้เสียหายด้วยนอกเหนือจากราษฎร สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ผลของการถอนคำร้องทุกข์ การถอนคำร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัวนั้น ย่อมมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับลง ถ้ายังไม่มีการฟ้องคดีอาญา การถอนคำร้องทุกข์ย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับ คดีอยู่ในระหว่างการสอบสวน พนักงานสอบสวนต้องสั่งไม่ฟ้องคดีด้วยเหตุผลว่ามีการถอนคำร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ถ้ามีการฟ้องคดีอาญาแล้ว แต่ยังไม่ถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับและคำพิพากษาของศาลล่าง(ถ้ามี)ย่อมระงับตาม คำพิพากษาฎีกาที่ 1374/2509 คดีความผิดต่อส่วนตัว ก่อนคดีถึงที่สุดผู้เสียหายย่อมถอนคำร้องทุกข์ได้และสิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2) คำพิพากษาของศาลล่างย่อมระงับไปในตัวไม่มีผลบังคับต่อไป ไม่จำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างที่ลงโทษจำเลยไว้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ การถอนคำร้องทุกข์ภายหลังที่คดีถึงที่สุดไปแล้ว ไม่มีผลทำให้ โทษทางอาญาระงับ คำพิพากษาฎีกาที่ 1857/2517 ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หลังจากคดีถึงที่สุดไปแล้ว ย่อมไม่มีผลให้คดีระงับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังใช้บังคับอยู่ การถอนคำร้องทุกข์มีผลเฉพาะตัว ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ของผู้เสียหายคนอื่นระงับลง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๒) เมื่อมีการถอนฟ้องในความผิดต่อส่วนตัว ป.วิ.อ.มาตรา 35 วรรค 2 “คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้....” การถอนฟ้องจะต้องเป็นการถอนโดยไม่ติดใจดำเนินคดี ถ้าถอนฟ้องเพราะจะนำคดีไปฟ้องต่อศาลเอง ไม่ถือว่าเป็นการถอนฟ้องอันทำให้คดีอาญาระงับตามมาตรา 39(2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
การถอนฟ้องคดีอาญา ระยะเวลาในการถอนฟ้อง ป.วิ.อ. มาตรา ๓๕ “คำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญาจะยื่นเวลาใดก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตหรือมิอนุญาตให้ถอนก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรประการใดถ้าคำร้องนั้นได้ยื่นในภายหลังเมื่อจำเลยให้การแก้คดีแล้ว ให้ถามจำเลยว่าจะคัดค้านหรือไม่ แล้วให้ศาลจดคำแถลงของจำเลยไว้ ในกรณีที่จำเลยคัดค้านการถอนฟ้อง ให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แต่ถ้าจำเลยคัดค้าน ให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย” ระยะเวลาในการถอนฟ้อง คดีอาญาแผ่นดินนั้น โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอถอนฟ้องก่อนศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดี ความผิดต่อส่วนตัวโจทก์จะขอถอนฟ้องในเวลาใดก็ได้ ก่อนคดีถึงที่สุด ฟ้อง รวม ถอน
หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้ถอนฟ้อง การอนุญาตให้ถอนฟ้อง หรือไม่ เป็นดุลยพินิจศาล โจทก์มีเจตนาไม่สุจริตในการถอนฟ้องหรือไม่ แต่ถ้าจำเลยได้ยื่นคำให้การแก้คดีแล้วศาลต้องถามตัวจำเลยก่อน ว่าจะคัดค้านหรือไม่ หากจำเลยคัดค้านกฎหมายให้สั่งได้ประการเดียว คือ ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ ฟ้อง รวม ถอน
ผลของการถอนฟ้อง ยกเว้นแต่ จะไม่ใช่การถอนฟ้องโดยเด็ดขาด การถอนฟ้องคดีอาญามีผลทำให้โจทก์ผู้ถอนฟ้องจะฟ้องจำเลยคนเดียวกันในความผิดเรื่องเดียวกันเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ป.วิ.อ. มาตรา ๓๖ “คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว จะนำมาฟ้องอีกหาได้ไม่....” ยกเว้นแต่ จะไม่ใช่การถอนฟ้องโดยเด็ดขาด เช่น ถอนฟ้องเพื่อไปเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ หรือผู้เสียหาย ฟ้อง รวม ถอน
นอกจากนี้ยังอาจมีผลดังต่อไปนี้ด้วย ก. ถ้าอัยการถอนฟ้องความผิดอาญาแผ่นดิน การถอนฟ้องนั้นมีผลเฉพาะพนักงานอัยการเท่านั้น ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีนั้นใหม่ตาม ม.36 (1) ป.วิ.อ. มาตรา ๓๖ “คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว จะนำมาฟ้องอีกหาได้ไม่ เว้นแต่จะเข้าอยู่ในข้อยกเว้นต่อไปนี้ (๑) ถ้าพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีอาญาซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวไว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นไป การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่” ฟ้อง รวม ถอน
ข. ถ้าพนักงานอัยการถอนฟ้องในคดีความผิดต่อส่วนตัวโดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย การถอนฟ้องนั้นมีผลเฉพาะพนักงานอัยการ ไม่ตัดสิทธิของผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ตาม ม.36 (2) ป.วิ.อ. มาตรา ๓๖ (๒) “ถ้าพนักงานอัยการถอนคดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวไป โดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย การถอนนั้นไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่” ฟ้อง รวม ถอน
ค. ถ้าผู้เสียหายถอนฟ้องความผิดอาญาแผ่นดิน มีผลเฉพาะผู้เสียหาย ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายคนอื่นที่จะฟ้องคดีนั้นตาม ม.36(3) ป.วิ.อ. มาตรา ๓๖ (๓) “ถ้าผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีอาญาไว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ เว้นแต่คดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว” และก็ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายอื่นที่ไม่ได้ถอนฟ้องด้วยที่จะฟ้องคดีจำเลยนั้น ตาม ม.36(3) ฟ้อง รวม ถอน
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2522 ผู้เสียหายยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุกและกระทำอนาจารเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2522 และรุ่งขึ้นวันที่ 12 มกราคม 2522 พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันนั้นเข้ามาใหม่ ต่อมาวันที่ 15 มกราคม 2522 ผู้เสียหายถอนฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ฟ้องไว้ และในวันนั้นเองผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงาน อัยการยื่นฟ้องจำเลยนั้น ดังนี้ เห็นได้ว่า การถอนฟ้องดังกล่าวก็เพื่อจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการได้ ยื่นฟ้องจำเลยนั่นเอง มิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมาย ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ผู้เสียหายจึงมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ โดยหาจำต้องกล่าวหรือมีข้อแม้ไว้ในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วม เป็นโจทก์ กับพนักงานอัยการด้วยไม่ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๒) เมื่อมีการยอมความในความผิดต่อส่วนตัว ป.วิ.อ.มาตรา 35 วรรค 2 “คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะ........ยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้....” ข้อพิจารณา การยอมความกัน ได้แก่ การที่ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดได้ตกลงระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน มีความหมายเช่นเดียวกับการทำสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ,851 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ การยอมความคดีอาญานั้น ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออันต่างจากการยอมความในทางแพ่งที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 851 คำพิพากษาฎีกาที่ 2479/2517 จำเลยจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าซื้อเป็ดให้โจทก์เป็นเงิน 14,107 บาท แต่เบิกเงินไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ต่อมาจำเลยได้นำเช็คจำนวนเงิน 13,000 บาท มาชำระหนี้ค่าเป็ดให้โจทก์ แต่หนี้ยังค้างอยู่อีก 1,107 บาทนั้น จำเลยยังไม่ได้ชำระ และโจทก์ไม่คืนเช็คฉบับแรกให้จำเลย แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้คดีอาญาระงับ ยังถือไม่ได้ว่าได้มีการยอมความกัน อันจะทำให้สิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาของโจทก์ระงับไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 783/2531 การที่โจทก์ร่วมตกลงคืนเช็คพิพาทที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินให้จำเลย เพื่อแลกกับเช็คอีกสองฉบับซึ่งมีจำนวนเงินในเช็ครวมเท่าเช็คพิพาท และโจทก์ร่วมนำเช็คสองฉบับหลังไปเรียกเก็บเงินแล้ว แม้โจทก์ร่วมจะยังไม่ได้คืนเช็คพิพาทให้จำเลยก็ตาม ก็ถือได้ว่าโจทก์ร่วมตกลงเข้าถือเอาสิทธิตามเช็คสองฉบับดังกล่าว และสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใด ๆ ในเช็คพิพาทอีกต่อไป รวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย จึงเป็นการยอมความแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2523 ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินเพราะไม่มีเงินในบัญชีพอจ่ายตามเช็คที่จำเลยออกใช้ราคาของที่ซื้อจากโจทก์ ต่อมาจำเลยส่งของขายแก่โจทก์ โจทก์รับของหักใช้หนี้ตามเช็คของจำเลยนั้น ตามพฤติการณ์เห็นความมุ่งหมายว่าโจทก์จำเลยตกลงระงับข้อพิพาทไม่ดำเนินคดีอาญาสิทธิฟ้องคดีอาญาระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ การที่ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดได้ตกลงกันชดใช้ค่าเสียหายในส่วนแพ่ง ไม่มีผลเป็นการยอมความกันในส่วนอาญาด้วย เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้โดยชัดแจ้ง หรือมีพฤติการณ์อันแสดงให้เห็นว่ามีผลเป็นการยอมความในส่วนอาญาด้วย คำพิพากษาฎีกาที่ 3903/2532 สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง ไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ การยอมความโดยมีเงื่อนไข สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจะระงับต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นได้สำเร็จลงแล้ว เช่น จะไม่ดำเนินคดีต่อเมื่อได้รับทรัพย์สิน หรือเงินคืน ครบถ้วนแล้วตามข้อตกลง การยอมความกระทำได้เฉพาะคดีความผิดต่อส่วนตัว การยอมความในคดีความผิดอาญาแผ่นดิน กระทำไม่ได้ การยอมควาในความผิดอาญาแผ่นดิน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. ม.150 ในความผิดอาญาแผ่นดิน ฎีกาที่ 1181/2491 ฎีกาที่ 1527/2513, ฎีกาที่ 2624/2516 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2491 เดิมโจทก์ได้ฟ้องจำเลยหาว่า แจ้งความเท็จ ซึ่งต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันว่า จำเลยจะแบ่งมรดกให้โจทก์ และโจทก์จะไม่เอาความกับจำเลย หลังจากนั้นโจทก์ถอนฟ้องจำเลยแต่จำเลยกลับไม่แบ่งมรดกให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้แบ่งมรดกตามข้อตกลง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแบ่งมรดกให้โจทก์ตามข้อตกลง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่าสัญญาเป็นโมฆะ โจทก์ฏีกาคัดค้านว่าการถอนฟ้องของโจทก์จะเรียกว่า มีวัตถุประสงค์ผิดกฎหมายไม่ได้ เพราะพนักงานอัยการยังฟ้องใหม่ได้นั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่พนักงานอัยการมีสิทธิฟ้องใหม่ได้นั้นเอง เป็นข้อแสดงว่ากฎหมายไม่ประสงค์จะให้ผู้เสียหายยอมเลิกความในคดีอาญาแผ่นดิน เพราะเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อย เมื่อโจทก์ไปทำนิติกรรมยอมเลิกความ โดยประสงค์ต่อประโยชน์ตอบแทน จึงเป็นโมฆะ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ฎีกาที่ 1527/2513 จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ซึ่งเป็นบิดาผู้เยาว์มีข้อความว่า จำเลยยินยอมชดใช้เงินให้แก่โจทก์ โดยจะนำเงินมามอบให้ในวันที่ได้กำหนดไว้ หากถึงกำหนดวันนั้น จำเลยไม่ชำระ โจทก์จะดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป แต่ถ้าจำเลยปฏิบัติตามข้อตกลง โจทก์ก็จะถอนคดีด้วยความเต็มใจ การที่จำเลยยินยอมชดใช้เงินให้แก่โจทก์ก็เพราะจำเลยประสงค์ให้โจทก์ถอนคดีในข้อหาพรากผู้เยาว์ที่ได้แจ้งความไว้ แต่ความผิดฐานพรากผู้เยาว์นี้เป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ ฉะนั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ เพราะมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ฎีกาที่ 2624/2516 คู่กรณีในคดีอาญาไม่ว่าจะเป็นความผิดอันยอมความกันได้หรือไม่ก็ตาม อาจตกลงประนีประนอมยอมความเรื่องค่าเสียหายในทางแพ่งอันพึงมีพึงได้ตามสิทธิของตนได้ กฎหมายห้ามเฉพาะการตกลงประนีประนอมยอมความเพื่อระงับหรืองดการฟ้องคดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยบุกรุกขึ้นไปบนเรือนโจทก์ในเวลากลางคืนและกระทำอนาจารโจทก์ มีข้อความว่า จำเลยยอมเสียค่าทำขวัญให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ทำตาม ยอมให้ดำเนินคดีต่อไปนั้น เป็นเรื่องทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดให้แก่โจทก์ในทางแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายที่เรียกร้องเพื่อระงับการฟ้องคดีอาญาซึ่งกฎหมายห้ามไว้แต่อย่างใด จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ การยอมความในความผิดต่อส่วนตัวกระทำได้ และไม่ตัดสิทธิของผู้เสียหายอื่นที่มิได้ตกลงยอมความด้วยในคดีนั้นที่จะฟ้องคดี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2500 ในคดีความผิดต่อส่วนตัวจำเลยทำสัญญายอมจะใช้เงินแก่ผู้เสียหาย แล้วก็ไม่ชำระตามกำหนดนัด ผู้เสียหายย่อมร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีอาญาต่อไปได้ จำเลยบางคนทำสัญญายอมจะใช้เงินทั้งหมดแก่ผู้เสียหายคดีจะระงับหรือไม่ ก็เกี่ยวกับจำเลยเช่นว่านั้นโดยเฉพาะตัวเท่านั้นไม่พลอยไปถึงจำเลยอื่นๆ แม้อยู่ในคดีเดียวกันนั้นด้วย การยอมความต้องกระทำหลังความผิดเกิดขึ้นแล้ว ถ้าคู่กรณีตกลงไว้ล่วงหน้าว่าจะมีการยอมความก่อนมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ดังนี้ จะกระทำมิได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2508 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2508 การยอมความในความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 35 วรรค 2 และ 39(2) นั้น เป็นการกระทำภายหลังที่ความผิดได้เกิดขึ้นแล้ว มิใช่การที่จะกระทำกันไว้ล่วงหน้าก่อนการกระทำความผิด ข้อตกลงล่วงหน้าก่อนมีการกระทำความผิดจะถือเป็นการยอมความตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ บุคคลจะตกลงกันไว้ก่อนว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญา ถ้าหากจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นต่อไปข้างหน้านั้น ข้อตกลงนั้นหามีผลก่อให้เกิดหนี้ที่จะผูกพันคู่กรณีให้จำต้องงดเว้นไม่ฟ้องคดีอาญาเช่นว่านั้นแต่ประการใดไม่ เพราะอำนาจฟ้องคดีอาญาจะมีอยู่หรือไม่นั้น มิได้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายลักษณะหนี้ในทางแพ่งหากอยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาอีกส่วนหนึ่ง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2508 การยอมความในความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง และ39(2) นั้น เป็นการกระทำภายหลังที่ความผิดได้เกิดขึ้นแล้ว มิใช่การที่จะกระทำกันไว้ล่วงหน้าก่อนการกระทำความผิด ข้อตกลงล่วงหน้าก่อนมีการกระทำความผิดจะถือเป็นการยอมความตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ บุคคลจะตกลงกันไว้ก่อนว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญา ถ้าหากจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นต่อไปข้างหน้านั้น ข้อตกลงนั้นหามีผลก่อให้เกิดหนี้ที่จะผูกพันคู่กรณีให้จำต้องงดเว้นไม่ฟ้องคดีอาญาเช่นว่านั้นแต่ประการใดไม่ เพราะอำนาจฟ้องคดีอาญาจะมีอยู่หรือไม่นั้น มิได้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายลักษณะหนี้ในทางแพ่ง หากอยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาอีกส่วนหนึ่ง ข้อตกลงว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญานั้น อาจถือเป็นความยินยอมให้กระทำการที่ตามปกติต้องด้วยบทบัญญัติว่าเป็นความผิดได้มีหลักทั่วไปเป็นเหตุยกเว้นความผิดอาญาตามนัยฎีกาที่616/2482 และ 787/2483 ว่า ความยินยอมอันบริสุทธิ์ของผู้เสียหายให้ผู้ใดกระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้น ถ้าความยินยอมนั้นไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรมอันดีและมีอยู่จนถึงขณะกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้นแล้ว ความยินยอมนั้นเป็นข้อยกเว้นมิให้การกระทำนั้นเป็นความผิดขึ้นได้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย แม้ไม่ผูกพันโจทก์ให้ยินยอมอยู่เช่นนั้นตลอดไป แต่โจทก์ก็ได้ยินยอมให้จำเลยออกเช็คโดยจะไม่ฟ้องเป็นความผิดอาญา เป็นความยินยอมที่มีอยู่จนถึงขณะที่จำเลยออกเช็ค โดยรู้ว่าไม่มีเงินในธนาคาร อันเป็นการกระทำโดยเจตนาที่เป็นองค์ความผิดประการหนึ่งซึ่งจำเลยได้กระทำลงตามความยินยอมของโจทก์ ความผิดกรณีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ถือได้ว่าความยินยอมของผู้เสียหายในการกระทำฐานนี้ไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรม การกระทำที่โจทก์ฟ้องจึงไม่เป็นความผิดในทางอาญา(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2508) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ข้อสังเกต เกี่ยวกับถอนคำร้องทุกข์ ยอมความ กรณีที่เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท การถอนคำร้องทุกข์ ยอมความ จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับหรือไม่ ถ้าบทหนักเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ ยอมความกัน ย่อมเป็นเหตุให้ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งเป็นบทหนักระงับ และความผิดอาญาแผ่นดินซึ่งเป็นบทเบาระงับไปด้วย ถ้าบทหนักเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ย่อมเป็นเหตุให้ความผิดที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวระงับ แต่ความผิดอาญาแผ่นดินซึ่งเป็นบทหนักไม่ระงับไปด้วย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๓) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗ คดีเลิกกัน หรือคดีอาญาเลิกกัน แยกได้ 2 กรณี เมื่อมีการเสียค่าปรับในอัตราขั้นสูงมาตรา ๓๗ (๑) เมื่อมีการเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของเจ้าพนักงาน มาตรา ๓๗ (๒)-(๔) และ มาตรา ๓๘ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ เมื่อมีการเสียค่าปรับในอัตราขั้นสูงมาตรา ๓๗ (๑) มาตรา ๓๗ “คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนศาลพิจารณา” ข้อพิจารณา ความผิดต้องมีโทษปรับสถานเดียว ไม่ว่าจะกรรมเดียวผิดกฎหมายบทเดียว หรือหลายบท เจ้าพนักงานต้องรับชำระค่าปรับตามที่ ผู้ต้องหาชำระ การชำระค่าปรับต้องกระทำก่อนศาลจะเริ่มพิจารณา(เริ่มสืบพยานปากแรก) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ เมื่อมีการเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของเจ้าพนักงาน มาตรา ๓๗ (๒)-(๔) และ มาตรา ๓๘ คดีที่จะเปรียบเทียบได้ ความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือ ความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือ คดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ คดีอื่นๆที่มีกฎหมายพิเศษให้เปรียบเทียบปรับได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ ความผิดที่เกิดขึ้นต่างจังหวัด ได้แก่ พนักงานสอบสวน ความผิดเกิดที่กรุงเทพฯ ได้แก่ นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้ทำการในตำแหน่งนั้น พนักงานผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายพิเศษ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ขั้นตอนการเปรียบเทียบปรับ ความผิดเจ้าพนักงานเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรต้องรับโทษถึงจำคุก ผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอมให้เจ้าพนักงานเปรียบเทียบ เจ้าพนักงานมีอำนาจกะค่าทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย ตามที่คู่กรณีได้ตกลงกัน หรือที่เจ้าพนักงานเห็นสมควร เจ้าพนักงานมีอำนาจกำหนดจำนวนค่าปรับตามจำนวนที่เห็นสมควรโดยกำหนดเวลาให้ชำระค่าปรับภายในเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่เกิน 15 วันนับแต่เปรียบเทียบ ถ้าผู้ต้องหามิได้นำค่าปรับมาชำระแก่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจเปรียบเทียบตามที่เวลาที่กำหนด คดีอาญาไม่เลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ผลของการเปรียบเทียบปรับ คดีอาญาที่เจ้าพนักงานเปรียบเทียบปรับโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว มีผลให้ความผิดเรื่องนั้นเป็นอันเลิกกัน คดีอาญาที่ได้มีการเปรียบเทียบปรับโดยชอบแล้ว หากปรากฏต่อมาในภายหลังว่า ความผิดเรื่องดังกล่าวเจ้าพนักงานไม่มีอำนาจเปรียบเทียบ ไม่ทำให้คดีอาญาเลิกกัน ค่าปรับที่รับมาแล้วต้องคืนให้แก่ผู้ต้องหา เมื่อได้เปรียบเทียบปรับโดยชอบแล้ว แม้ต่อมาผู้ต้องหาจะมิได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ตามที่ตกลงกัน หรือตามที่เจ้าพนักงานกะให้ คดีอาญาก็ยังคงเลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ มาตรา ๓๗ “คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ........ (๒) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว (๓) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งเกิดในกรุงเทพมหานครเมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้ทำการในตำแหน่งนั้นๆ ได้เปรียบเทียบแล้ว (๔) ในคดีซึ่งเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว” สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ มาตรา ๓๘ ความผิดตามอนุมาตรา (๒) (๓) และ (๔) แห่งมาตราก่อน ถ้าเจ้าพนักงานดั่งกล่าวในมาตรานั้นเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจำ คุกให้มีอำนาจเปรียบเทียบดั่งนี้ (๑) ให้กำหนดค่าปรับซึ่งผู้ต้องหาจะพึงชำระ ถ้าผู้ต้องหาและผู้เสียหายยินยอมตามนั้น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่กำหนดให้ภายในเวลาอันสมควรแต่ไม่เกินสิบห้าวันแล้ว คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาด ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้ว ไม่ชำระเงินค่าปรับภายในเวลากำหนดในวรรคก่อน ให้ดำเนินคดีต่อไป (๒) ในคดีมีค่าทดแทน ถ้าผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้เจ้าหน้าที่กะจำนวนตามที่เห็นควรหรือตามที่คู่ความตกลงกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๔) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ฟ้อง มีสุภาษิตในกฎหมายว่า “บุคคลจะไม่เดือนร้อนสองครั้งในเรื่องเดียวกัน” (ne bis in idem) มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ จำเลยในคดีแรกและคดีหลังเป็นคนๆเดียวกัน โดยไม่ต้องพิจาณาว่าโจทก์ในคดีแรกและคดีหลังจะเป็นคนๆเดียวกันหรือไม่ คดีแรกอัยการเป็นโจทก์ คดีหลังผู้เสียหายเป็นโจทก์ คดีแรกผู้เสียหายเป็นโจทก์ คดีหลังอัยการเป็นโจทก์ คดีแรกผู้เสียหายคนหนึ่งเป็นโจทก์ คดีหลังผู้เสียหายอีกคนเป็นโจทก์ คดีแรกผู้เสียหายเป็นโจทก์ คดีหลังผู้เสียหายคนเดิมเป็นโจทก์อีก สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด ในความผิดซึ่งได้ฟ้อง “คำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด” หมายถึง ได้มีคำพิพากษาศาลชั้นต้น “ความผิดที่ได้ฟ้อง” หมายถึง การกระทำของจำเลยครั้งเดียวกัน กรรมเดียวกัน (การกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดนั้น ๆ) โดยไม่ต้องพิจารณาถึงฐานความผิดหรือบทมาตราว่า ในคดีแรกและคดีหลังจะเป็นบทเดียวกันมาตราเดียวกันหรือไม่ คำพิพากษาฎีกาที่ 602/2496 “พนักงานอัยการฟ้องจำเลยฐานทำร้ายร่างกาย ศาลพิพากษาลงโทษคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้เสียหายจะฟ้องจำเลยฐานชิงทรัพย์ในกรรมเดียวกันอีกไม่ได้” สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ศาลได้วินิจฉัยถึงความผิดของจำเลย คำพิพากษาของศาลได้วินิจฉัยถึงเนื้อหาแห่งคดี กล่าวคือ คำพิพากษาของศาลได้วินิจฉัยการกระทำของจำเลยว่า มีความผิดหรือไม่ กรณีที่ถือว่าศาลได้วินิจฉัยถึงการกระทำของจำเลย ศาลยกฟ้องโดยถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ เท่ากับโจทก์พิสูจน์ความผิดของจำเลยไม่ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 776/2490(ญ) คำพิพากษายกฟ้องคดีก่อนโดยวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องนั้น ไม่แน่ชัดว่าจำเลยกระทำผิดในเวลาใด จึงลงโทษไม่ได้ ดังนี้ ฟ้องใหม่ไม่ได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ศาลยกฟ้องเพราะฟ้องขาดองค์ประกอบความผิด ถือว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว คำพิพากษาฎีกาที่ 1864/2500 ฟ้องที่ขาดองค์ความผิด ถือว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะฟ้องมิได้กล่าวถึงเวลาและสถานที่ซึ่งจำเลยกระทำผิด เท่ากับว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิด คำพิพากษาฎีกาที่ 776/2490 (ญ)คำพิพากษายกฟ้องคดีก่อนโดยวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องนั้น ไม่แน่ชัดว่าจำเลยกระทำผิดในเวลาใด จึงลงโทษไม่ได้ ดังนี้ ฟ้องใหม่ไม่ได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ตามมาตรา 167 ในคดีที่ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล ถือว่าศาลได้วินิจฉัย เนื้อหาแห่งคดีแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ศาลยกฟ้อง เพราะศาลเห็นว่าคดีขาดอายุความ ฟ้องใหม่ไม่ได้ ศาลยกฟ้อง เพราะมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษถือว่าศาลได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ กรณีต่อไปนี้ถือว่าศาลยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาการกระทำ ศาลยกฟ้องเพราะฟ้องผิดศาล คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2486 ศาลทหารยกฟ้องเพราะคดีไม่อยู่ในอำนาดศาลทหาร โจทยื่นฟ้องต่อศาลพลเมืองใหม่ได้. ศาลยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในฟ้อง คำพิพากษาฎีกาที่ 1301/2503 คดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่ได้ลงชื่อในฟ้องนั้น เป็นกรณีที่ศาลยังไม่ได้พิจารณาเรื่องที่โจทก์ฟ้องเลย จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้พิพากษาในความผิดที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2503) ศาลยกฟ้องเพราะคดีไม่มีการร้องทุกข์ หรือสอบสวน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๕) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังความผิด ยกเลิกความผิดเช่นนั้น ป.อ. มาตรา ๒ “บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง” สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ข้อพิจารณา กฎหมายออกใช้ภายหลังกระทำความผิดเพียงแต่แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด แต่มิได้ถึงขนาดยกเลิกความผิดคดีอาญาไม่ระงับ กฎหมายที่ยกเลิกต้องมีศักดิ์ไม่ต่ำกว่ากฎหมายที่บังคับใช้ขณะนั้น ถ้ามีศักดิ์ต่ำกว่าแม้จะออกมาในลักษณะเป็นการยกเลิกความผิดสิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ กฎหมายที่ออกใช้ภายหลังการกระทำผิดที่ออกมา ยกเลิกความผิดเช่นนั้น แม้จะเป็นกฎหมายคนละชนิดกัน แต่หากมีศักดิ์ของกฎหมายเสมอกัน หรือกฎหมายใหม่มีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายเก่า ก็ต้องถือว่ากฎหมายที่ออกมาใช้ภายหลังได้ยกเลิกความผิดนั้นแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๖) เมื่อคดีขาดอายุความ มาตรา ๙๕ “ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ (๑) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี (๒) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี (๓) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี (๔) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี (๕) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน” มาตรา ๙๖ “ภายใต้บังคับมาตรา ๙๕ ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ” สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ข้อพิจารณา คดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในอายุความ ตาม ป.อ. มาตรา 95 มีผลทำให้สิทธิในการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำความผิดเป็นอันระงับลง ในกรณีความผิดต่อส่วนตัวถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนหรือถ้าไม่ร้องทุกข์ก็ต้องนำคดีมาฟ้องเองต่อศาลภายใน 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องรู้ตัวผู้กระทำผิด มิเช่นนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2546 ความผิดอันยอมความได้ผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิด และนำคดีมาฟ้องเองเกินกำหนดเวลา 3 เดือนแม้จะไม่เกิดอายุความฟ้องร้องตามมาตรา 95 ของประมวลกฎหมายอาญา ก็ถือว่าขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
มาตรา ๓๙ (๗) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ หมายถึง การกระทำนั้นกฎหมายถือว่าเป็นความผิด แต่กฎหมายยกเว้นโทษให้เป็นครั้งคราว หรือบางลักษณะของผู้กระทำ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2510 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 บัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืน ฯลฯ นำไปขอรับอนุญาตหรือนำไปมอบให้นายทะเบียนท้องที่ได้ภายใน 90 วัน โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษซึ่งเมื่อคดียังอยู่ในระหว่างเวลา 90 วัน ก็ต้องถือว่าในระหว่างระยะเวลานี้กฎหมายได้ยกเว้นโทษให้แก่จำเลยแล้ว ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ จบ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ